นักเล่นเครื่องเสียง(และภาพ)จะรักษ์โลกได้อย่างไร
โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ
ปัจจุบันเป็นที่ตระหนักว่า “โลก” กำลังป่วยหนักด้วยมลภาวะเป็นพิษที่ถาโถมเข้าใส่โลก การใช้พลังงานกันอย่างบ้าคลั่ง ไม่ว่าจากเชื้อเพลิงน้ำมันหรือถ่านหิน ทั้งหมดย่อมส่งผลต่อความเป็นอยู่ของมวลมนุษยชาติถ้วนทั่วทุกคน รวมทั้งสิ่งมีชีวิตบนโลกอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้
ในแง่ของวงการเครื่องเสียงและภาพย่อมหนีไม่พ้นเรื่องของการเพิ่มขยะพิษให้แก่โลก รวมทั้งการบริโภคพลังงาน ที่บางครั้งมีปริมาณที่น่ากลัวเกินคาด
ต่อไปนี้คือ สิ่งที่พวกเรานักเล่นจะพอช่วยโลกได้ไม่มากก็น้อยและอาจมากเกินคาดได้
- ชะลอการซื้อทีวีจอแบนทั้ง LCD และ PLASMA ( PLASMA ส่วนใหญ่โดยเฉลี่ยจะกินไฟกว่า LCD 25-30 เปอร์เซ็นต์) จนกว่าขึ้นปี 2009 ซึ่งจอ LCD และ PLASMA ยุคใหม่จะกินไฟน้อยลงมาก เหลือแค่ 30-50 เปอร์เซ็นต์ของปัจจุบัน ( ระบบ LOCAL DIMMING ของ LCD ) ถ้าจำเป็นต้องดูจอใหญ่ LCD,PLASMA ควรซื้อจอใหญ่กว่า 42 นิ้วขึ้นไป และช่วยกันมาดูจอเดียว แทนที่จะแยกกันดูคนละจอ,คนละห้อง
- หรี่ไฟในห้องดูจอ LCD และ PLASMA เพื่อหรี่ไฟส่องหลังจอ LCD และ PLASMA ลงได้ต่ำสุด และกินไฟลดลง ไฟส่องหลัง ( LCD ) ก็จะมีอายุใช้งานนานขึ้น
- ลดความเย็นในห้องฟังเพลงหรือดูหนังลงไม่ต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ภาคขยายเสียงและลำโพงถ้าเจออากาศเย็นเกินไปอาจทำให้เสียงแย่ลงได้
- บุห้องฟังเพลง (ดูหนัง ) เพื่อเก็บกักความเย็นและลดการก้องเสียง ลดแสงแดดส่องตรงเข้ามา ( ใช้ม่าน ) ทำให้ใช้เครื่องปรับอากาศตัวเล็กได้ ประหยัดไฟและไม่ต้องเร่งพัดลมแรง เสียงรบกวนก็ลดลง
- หลีกเลี่ยงเครื่องขยายเสียงที่ทำงานแบบ class A แท้ๆตลอดเวลา ( ไม่ใช่ class A เฉพาะภาคต้นหรือแบบปรับเป็น AB เมื่อเร่งดัง) เพราะภาคขยาย class A จะมีประสิทธิภาพต่ำแค่ประมาณ 20-25 เปอร์เซ็นต์ เครื่องร้อนจัดมากๆพอๆกับเตาผิงจึงกินไฟมหาศาล กินแอร์มหาศาล ปัจจุบันสามารถทำแอมป์ Class AB ให้มีคุณภาพไม่แพ้ Class A แท้ได้แล้ว
- ถ้าใช้เครื่องฉาย แบบฉายเข้าจอ ( Front Projector ) การหาจอที่มีอัตราการขยายแสงสูง ( Gain ) ตั้งแต่ 2 ขึ้นไป ( ไม่ควรต่ำกว่า 1.8 ) ( โดยสีต้องไม่เพี้ยนด้วย ) หรี่ไฟในห้องหรือปิดไฟห้องมืดสนิท ทำให้สามารถลดแรงไฟของหลอดฉายลงได้ถึง 30-35 เปอร์เซ็นต์ เป็นการประหยัดไฟ ยืดอายุหลอดไฟ ลดเสียงพัดลมกวน ลดการกินแอร์
- การติดตั้งเครื่องเสียงอย่างพิถีพิถันสุดๆ มีการกรองไฟดีๆ จะได้เสียงชัดเจน มิติดี มีตัวตน โฟกัสชัด ทำให้ฟังได้ครบเหมือนดัง จึงไม่ต้องเร่งโวลลุ่มมาก ถ้าเป็นภาคขยาย Class AB เครื่องก็จะกินไฟลดลง
- ใช้สายเสียงและสายลำโพงที่เที่ยงตรง ความถี่คู่ควบอยู่ครบ เสียงจะอิ่มมีพลังแม้ใช้แอมป์กำลังขับไม่สูง หรือใช้ลำโพงกินวัตต์บ้าง ก็จะประหยัดเงิน ประหยัดไฟได้มาก ( มีสายบางยี่ห้อ มีแต่หัวโน้ต เร่งเท่าไรเหมือนไม่ดัง ต้องใช้แอมป์เป็นร้อยๆวัตต์ขับ ) สายไฟ AC ที่เดินจากมิเตอร์มาเข้าห้องเสียง ถ้าเดินย้อนผิดทิศ ( ต้องฟังทดสอบดู ก่อนอย่างเดียว ) เสียงจะจม,แบน เหมือนเร่งไม่ขึ้น ทำให้หลงใช้เพาเวอร์แอมป์วัตต์สูงมาก กินไฟ เปลืองแอร์
- ใช้ลำโพงที่มีความไวสูง กินวัตต์น้อย แต่ต้องมีคุณภาพดีด้วย ราคาอาจสูงหน่อยแต่ระยะยาวจะประหยัดไฟได้ เพราะใช้แอมป์วัตต์ต่ำ ( ราคาถูกกว่าด้วย )
- ถอดปลั๊กไฟ AC ของเครื่องออกเลย อย่าแช่อยู่ในฟังก์ชั่น Stand By ซึ่งกินไฟตลอดเวลา ( รวมทั้งพวกตัวชาร์จ โทรศัพท์มือถือด้วย )
- พยายามฝึกที่จะประมาณการกดใช้รีโมท ไม่ว่าของเครื่องเล่น DVD ,เครื่องรีซีฟเวอร์เซอราวด์ เพื่อลดความจำเป็น ต้องเปิดจอภาพ LCD ,PLASMA หรือ แม้แต่โปรเจ็คเตอร์ เพื่อดูฟังก์ชั่นการใช้งาน เมื่อฟังแค่ CD สองแชลแนล ธรรมดา ถ้าจำเป็นต้องเปิดแล้วปิด อย่าเปิดจอแช่ไว้ ( เสียงจากการฟังเพลงจะแย่ลงด้วย )
- เครื่องไหนในระบบที่ยังไม่ได้ใช้ก็ควรดึงปลีกไฟ AC ออกอย่าให้แช่อยู่ Stand By การดึงออกยังจะทำให้เสียง มิติ และภาพดีขึ้นด้วย
- ลดการใช้เครื่องพกพาต่างๆทั้ง PDA, โทรศัพท์มือถือ,โน้ตบุ๊ก, MP3,เครื่องเล่นเกมและ IPOD ให้ใช้เท่าที่จำเป็น จริงๆเพราะเครื่องพวกนี้จะต้องเปลี่ยนถ่าน ( ทั้งถ่านปกติและถ่านชาร์จได้ ) ถ่านพวกนี้จะเป็นขยะพิษที่ทำลายยาก มาก
- เวลานั่งรถ อย่าเร่งแอร์ ( น้ำยา ) จนอุณหภูมิต่ำกว่า 25 องศาเซลเซียส ให้ใช้การเร่งความเร็วพัดลมแทน จะช่วยลดรอบการทำงานของคอมเพรสเซอร์แอร์ จะช่วยประหยัดน้ำมันได้มาก
- เวลาจะเบิร์นอินสายเสียง ( Interconnect ) หรือสายดิจิตอลจากเครื่องเล่น DVD ,CD ไปแอมป์ ไม่จำเป็นต้องเร่ง โวลลุ่มที่แอมป์ ( แต่ต้องเปิดไว้ ) ให้เสียงออกลำโพง นอกจากจะเบิร์นอินสายลำโพง ( อย่าใช้เสียงซ่าจากแผ่นทดสอบในการเบิร์นอิน จะเกิดบุคลิกตายตัวขึ้นในสายเหมือนตกตะกอน
- ไม่จำเป็นต้องเล่นเสียงระบบรอบทิศ 5.1 แชลนอล เปลืองเงินเปล่าๆถึงแม้เล่นรีซีฟเวอร์ เซอราวด์ รุ่นใหม่ๆ 7.1 แชลนอลก็ให้เล่นแค่ 5.1 แชลนอล ลดการทำงานภาคขยาย ลดการกินไฟ ที่จริงเล่นแค่ 2 แชลนอล ( หรือ 2.1 ) ก็มันส์แล้ว
- หลีกเลี่ยงห้องรับแขกเพดานสูงเพราะเปลืองแอร์ ต้องใช้ตัวใหญ่ แพงและกินไฟมาก
- ถ้าห้องฟังใหญ่หรือห้องดูหนังใหญ่ ไม่จำเป็นต้องวางลำโพงจนชิดฝาหมด เราสามารถย่นขนาดเวทีของการฟังลงแคบๆได้ ทำให้ลำโพงอยู่ไม่ห่างหูมาก ไม่ต้องเร่งเสียงดัง ประหยัดไฟ
- กรณีเสียงเป็น 110 V และใช้หม้อแปลงไฟแปลงจาก 220 V เป็น 110 V อย่าเสียบหม้อแปลงแช่ไว้ตลอด ควรดึงปลั๊กไฟ AC ออกจากกำแพง (กรณีใช้ตัวกรองไฟก้เช่นกัน)
- อย่าขี้เหนียวขนาดสายไฟ AC ในบ้าน,ในห้องเสียง,ห้องดูหนัง ยิ่งขนาดใหญ่จะยิ่งกินไฟน้อย ( ไม่สูญเสียเป็น ความร้อน )
- อย่าใช้เครื่องหรี่ไฟในห้องแบบถูกๆที่ใช้ในการทอนกระแส จะกินไฟโดยเปล่าประโยชน์ ( ระบบตัดยอดคลื่นหรือตัดคลื่นทิ้งสลับ ก็จะส่งสัญญาณรบกวนต่อเครื่องภาพและเสียง ) ดีที่สุดคือ ใช้วิธีเลือกเปิดดวงไฟ เปิดน้อยดวงก็มืด เปิดแถวไฟที่แรงสว่างน้อยก็สลัวลง ( ไม่แน่ใจว่า ถ้าเปลี่ยนเป็นดวงไฟ LED จะรบกวนคุณภาพเสียง และภาพแค่ไหน...? )
ตารางแสดงการเปรียบเทียบว่าเครื่องกินไฟแค่ไหน
ประเภท/ขนาด
|
ขณะใช้งาน
|
ขณะปิด ( Stand By )
|
ทีวีจอแก้ว ( CRT )จอขนาด 28 นิ้ว
|
95 วัตต์
|
1 วัตต์
|
ทีวีจอแก้ว ขนาด 25 นิ้ว(4:3 ปกติ)
|
100 วัตต์
|
2 วัตต์
|
ทีวีโปรเจ็คเตอร์ ฉายหลัง 52 นิ้ว(4:3)
|
145 วัตต์
|
6 วัตต์
|
ทีวีจอแก้ว 14 นิ้ว
|
45 วัตต์
|
2 วัตต์
|
ทีวีจอแบน PLASMA 42 นิ้ว(ยี่ห้อA)
|
200 วัตต์
|
1 วัตต์
|
“...............................” 42 นิ้ว(ยี่ห้อP)
|
298 วัตต์
|
|
“...............................” 50 นิ้ว(ยี่ห้อP)
|
366-417 วัตต์
|
|
“...............................” 80 นิ้ว(ยี่ห้อP)
|
507 วัตต์
|
|
ทีวีจอแบน LCD 50 นิ้ว(ยี่ห้อS)
|
195 วัตต์(รุ่นล่า)
|
1 วัตต์
|
“.......................” 42 นิ้ว(ยี่ห้อS)
|
195 วัตต์
|
1 วัตต์
|
“.......................” 48 นิ้ว(ยี่ห้อS)
|
260 วัตต์
|
Save Mode
|
ทีวีโปรเจ๊คชั่น LCD ฉายหลัง 50 นิ้ว
|
225 วัตต์
|
0.5 วัตต์
|
“.............................”ฉายหลัง 60 นิ้ว
|
290 วัตต์
|
0.5 วัตต์
|
“.............................”ฉายหลัง 70 นิ้ว
|
290 วัตต์
|
0.5 วัตต์
|
ทีวีจอแบน LCD 32 นิ้ว(ยี่ห้อS)
|
140 วัตต์
|
Save Mode
|
“.......................” 26 นิ้ว(ยี่ห้อS)
|
110 วัตต์
|
Save Mode
|
เครื่องรับทีวีและบันทึกลง HDD
|
24-32 วัตต์
|
25 วัตต์
|
โน้ตบุ๊ก
|
25 วัตต์
|
1 วัตต์
|
เครื่องเล่น DVD ราคาถูก
|
10 วัตต์
|
1 วัตต์
|