000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > เครื่องเสียงรถยนต์ > บทความเครื่องเสียงรถยนต์ > ใช้ EQ ยกทุ้มลึกแทนซับได้ไหม
วันที่ : 11/06/2016
9,772 views

ใช้ EQ ยกทุ้มลึกแทนซับได้ไหม

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

มีคนถามว่าถ้าต้องการทุ้มลึก ทำไมเราไม่ใช้การยกด้วย EQ (Equalizer) ไม่ว่าจากตัววิทยุ (ฟร้อนท์) หรือจากปรี EQ ภายนอกหรือจากตัวยกที่มากับเพาเวอร์แอมป์มันก็น่าจะให้ทุ้มลึกได้อย่างจุใจ ซึ่งน่าจะทดแทนซับวูฟเฟอร์ได้?

เกิดอะไรขึ้นเมื่อคุณยกทุ้มลึกมากๆ

  1. ภาคขยายต้องทำงานหนัก เริ่มจากภาคปรีของวิทยุ (กรณีที่คุณใช้ปรี EQ ในตัววิทยุเอง) การจะได้ทุ้มลึกเช่น 60 Hz (โดยมากจะตั้งไว้ที่ 80 Hz ) จนสุดผลคือภาค EQ ปรีต้องทำงานหนักมากทุกครั้งที่ความถี่เสียงดนตรีวิ่งมาที่ 60-80 Hz ลงมา ยอดคลื่นมักหัวขาด (นอกจากวิทยุรุ่นสูงๆที่ระบุว่าสเปคสัญญาณออกได้สูงๆเช่น 4-5 V ขึ้นไป) หัวขาดคือยอดคลื่นราบเรียบ (CLIP) เสียงทุ้มลึกจะออกมาแบบแบนๆไม้หน้าสาม ไม่มีทรวดทรง ไม่มีโค้งเว้าเหมือน เสียง วิ่งมาชนกับกระจกแล้วบานแผ่ออก ไม่น่าฟัง ขณะที่ความเพี้ยนรวม (THD) จะพุ่งสูง เสียงกระด้างแข็ง เสียงความถี่อื่นๆพลอยถูกรบกวนจะแบนฟุ้งมั่วไปด้วย อั้นไปด้วย ยิ่งถ้ากดปุ่ม LOUDNESS ยกทุ้มลึกช่วยอีกแรง อาการนี้ยิ่งสาหัสขึ้นไปอีก
  2. ถ้ายกทุ้มลึกที่ปรี EQ ภายนอก ปัญหาก็จะเคลื่อนไปเกิดที่ปรีแทน ผลเสียก็เหมือนๆกัน ถ้าเป็นปรี EQ ถูกๆ (ต่ำกว่า 7,000 บาทขึ้นไป) ถ้าโชคดีใช้ปรี EQ ดีๆ (แพงๆ) ที่ระบุสเปคว่าให้สัญญาณขาออกได้ 6-8 V RMS การ CLIP ก็อาจไม่มากจนน่ากังวล (แต่ที่วิทยุก็มักต้องกดปุ่ม LOUDNESS ช่วยอยู่ดี ไม่อย่างนั้นยกไม่ขึ้นเพราะความถี่ต่ำกว่า 60 Hz มักเป็นจุดอ่อนของลำโพงกลางทุ้มปกติที่มักลงทุ้มได้ไม่ลึกต้องยกช่วยมากๆจึงจะพอมี)
  3. กรณียกทุ้มที่เพาเวอร์แอมป์ (ปกติจะระบุมาให้ยกได้ 60-120 Hz) ที่วิทยุกับปรีก็รอดตัวไป ไม่ต้องยกทุ้มจนสุดลิ่มอาการยอดคลื่นหัวขาด (CLIP) ก็แทบไม่ต้องกังวล อย่างไรก็ตามก็ควรยกที่วิทยุและปรีช่วยบ้าง จะได้ไม่ต้องยกที่เพาเวอร์แอมป์จนภาคปรีของมันเอง CLIP แทน เท่าที่ประสบการณ์พบว่าการยกที่ เพาเวอร์แอมป์มักจะเห็นผลชัดกว่าที่วิทยุและอาการ CLIP จะนุ่มนวลกว่า
  4. ไม่ว่าจะมีการยกทุ้มลึกช่วยที่ช่วงไหน ตัวภาคขยายขาออกของวิทยุหรือขาออกของปรีหรือภาคขยายของเพาเวอร์แอมป์ก็ต้องทำงานหนักขึ้น ส่วนใหญ่ถ้ากำลังขับต่ำกว่า 40 W RMS/CH ที่ 4 โอห์มยอดคลื่นมัก CLIP อยู่ดี

พูดง่ายๆโดยสรุปก็คือ การที่เราต้องยกเสียงอย่างมากเพื่อชดเชยการตกลงของเสียงจากดอกลำโพงกลางทุ้มที่ความถี่ต่ำกว่า 60 Hz คือสาเหตุที่ทำให้เกิดการ CLIP นั่นเองไม่ว่าจากช่วงไหน,จุดไหน

ในแง่ของลำโพงกลางทุ้ม

การที่เราต้องยกเสียงทุ้มลึก (ต่ำกว่า 60 Hz) มากๆซึ่งการตอบสนองของหูจะลดลง ไม่ต้องสงสัยว่าตัวดอกลำโพงเองจะ ต้องทำงานหนักหนาสาหัสขนาดไหน กรวยของมันต้องขยับชักเข้า-ออกเป็นช่วงลึกพอๆกับซับทีเดียว (จึงจะผลักดันปริมาณอากาศมาถึงหูเราได้เทียบเคียงกับซับ) ดอกกลางทุ้มหรือแม้แต่ดอกทุ้ม (แต่ไม่ขนาดดอกซับ) ไม่ได้ถูกออกแบบมาให้รับกับงานสุดโหดขนาดนี้ย่อมมีโอกาสที่จะวอยซ์เบียดได้ง่ายๆเพราะถ้ามันถูกออกแบบให้รับกับการสวิงแรงๆลึกๆได้มันย่อมต้องตึงตัวมาก การตึงตัวไม่คล่องตัวมากๆจะทำให้มันออกเสียงกลาง,กลางสูงได้แย่ลงมาก เสียงจะยับทึบหรืออู้ก้องไปเลยและจะกินวัตต์มาก เป็นอันว่าทุ้มลึกไหวแต่กลางๆสูงเสีย

นอกจากนั้นกรณีที่ขับด้วยวิทยุไฮเพาเวอร์การจัดทุ้มมากๆโอกาสวอยซ์เบียดจะมากเพราะภาคขยายวิทยุมีค่า DF ต่ำอยู่แล้ว ไม่สามารถหยุดการสั่นค้างของกรวยลำโพงได้กระชับฉับไวพอ จังหวะที่รถตกหลุมหรือสะดุดสะเทือนอันเป็นการโยนกรวยลำโพงให้กระโชกมากขึ้นก็จะทำให้วอยซ์หลุดโผล่จากช่องสอดแม่เหล็กมากเกินไปจนคืนกลับมาจุดสมดุลดังเดิมไม่ได้ วอยซ์ก็เบียดค้างตายคาช่องอยู่อย่างนั้น

แม้ใช้เพาเวอร์แอมป์แยกก็ตาม การอัดหนักๆวอยซ์ก็จะยิ่งขยับเข้า-ออกลึกกว่าถูกอัดด้วยวิทยุไฮเพาเวอร์โอกาสจะหลุดพ้นเลยจากช่องสอดแม่เหล็กก็ยิ่งมีมากขึ้นเป็นเงาตามตัวแม้ว่าเพาเวอร์แอมป์จะหยุดการสั่นค้างของกรวยได้สูงกว่ามาก (DF ประมาณ 80-100) มีเพาเวอร์แอมป์ไม่ถึง 10 % ในท้องตลาดที่มีค่า DF ตั้งแต่ 250 ขึ้นไป ซึ่งพอกระชับกรวยลำโพงได้ดี (มี 5 % ที่ค่า DF มากกว่า 1,000 ขึ้นไป) แต่แอมป์พวกค่า DF สูงๆมักราคาสูงมากตามไปด้วย

จำไว้ว่าการยกทุ้มลึกระดับ 60 Hz ลงมาให้เห็นน้ำเห็นเนื้อ เราต้องการกำลังขับอาจถึง 10 เท่าที่ความถี่ 1 KHz

ในลักษณะการฟังปกติไม่ค่อยมาก ไม่ดังมากจนรถโป่งกับลำโพงความไว 89 dB SPL/W/M ขึ้นไป เรามักต้องการกำลังขับประมาณ 3W/CH (ที่ 4 โอห์ม) แต่ถ้าจะยกทุ้มตั้งแต่ 60 Hz ลงมาให้ “ได้ยิน” เราต้องการกำลังขับไม่ต่ำกว่า 30 W ขึ้นไปอาจถึง 100 W ในบางขณะด้วยซ้ำ (ในช่วงที่เพลงนั้นสวิงทุ้มขึ้นไป)

ลำโพงซับ จะถูกออกแบบมาให้รับกำลังขับได้สูงกว่าดอกกลางแหลมมากแต่ก็มักกินวัตต์มากกว่า จึงต้องการภาคขยายแยกขับต่างหาก เพื่อให้ทั้งคู่รับงานแค่การออกเสียงต่ำโดยเฉพาะเท่านั้น จึงไม่เป็นการไปเพิ่มภาระให้แก่ภาคขยายที่ขับแต่กลางแหลม (มีทุ้มต้นบ้าง) รวมทั้งดอกลำโพงกลางทุ้มและดอกแหลม

จากที่กล่าวมานี่จึงคงเข้าใจแล้วว่าการยกทุ้มหรือ EQ หรือ LOUDNESS จะช่วยเรื่องทุ้ม )ทุ้มลึก) ได้ในระดับจำกัดหนึ่งเท่านั้นและไม่อาจทดแทนการเล่นไบแอมป์แยกแอมป์ขับดอกวับต่างหากได้เลย

เทคนิคพิเศษ  เมื่อพูดถึงความพยายามที่จะเค้นทุ้มลึกโดยไม่ใช้ซับจริงๆก็สมควรจะพูดถึงเทคนิคพิเศษบางอย่างที่ช่วยให้ได้ทุ้มลึกโดยไม่ใช้ซับจริงๆได้แก่

  • การสังเคราะห์ทุ้มลึก (SUB HARMONIC SYNTHESIZER) หลักการคือวงจรพิเศษจะคอยจับความถี่ต่ำเช่น 200 Hz ถ้ามีปรากฏมากับเพลงมันจะกรองเอาเฉพาะความถี่นั้นมาผ่านวงจร “หารสอง”เป็น 100 Hz และอาจมีวงจรคอยจับความถี่ 100 Hz เช่นกันเมื่อพบก็จะนำมา “หารสอง”เช่นกันเป็นครึ่งหนึ่งคือ 50 Hz และก็อาจมีวงจรจับ ความถี่ 50 Hz แล้วนำมาหารสองเป็น 25 Hz ความถี่ที่ได้จากการหารเหล่านี้จะถูกป้อนกลับไปเติมให้แก่สัญญาณ เสียงปกติ ด้วยขนาดที่ต่ำลงเพื่อ “จำลอง” เสียงดุจได้จากซับวูฟเฟอร์ ทำให้เราได้ยินเสียงต่ำถึง 25 Hz ได้ทั้งๆที่ เพลงนั้นจริงๆบันทึกมาต่ำสุดแค่ 200 Hz โดยไม่จำเป็นต้องยกความถี่ต่ำที่ 200 Hz มากๆเพื่อให้พอได้ ยิน ความถี่ที่ 25-100 Hz จนแอมป์หรือลำโพงทนไม่ไหวเป็นการ “เติม” ส่วนขาดไม่ได้ยกเพื่อเติม วิธีนี้ dbx ใช้กับ เครื่องเสียงบ้านก่อนใครมาเป็นสิบๆปีแล้ว อย่างไรก็ตาม ลำโพงเองก็ต้องทนไหวที่จะต้องทำงานลงต่ำถึง 25-50 Hz ด้วย และก็มักหนีไม่พ้นทำให้เสียงกลางกับแหลมขุ่นขึ้น
  • การสังเคราะห์อีกแบบ คล้ายการทำย้อนกลับกับแบบแรก โดยการตรวจจับความถี่ต่ำลึกเช่น 50 Hz ลงมาที่มากับ เพลง (คือต้องมีอยู่จริงๆ) จากนั้นผ่านวงจรทดความถี่เป็น 2 เท่า (MULTIPLY) เช่นพบ 50 Hz ก็คูณ 2 เท่าเป็น 100 Hz เพิ่มระดับให้สูงแล้วเติมกลับเข้าไปดุจ 100 Hz นี้เป็นความถี่คู่ควบด้านสูงของ 50 Hz จากนั้นอาจกรอง 50 Hz (และที่ต่ำกว่า) ทิ้งไปจะได้ไม่เป็นภาระแก่แอมป์และลำโพง หูก็จะได้ยินเพลงนั้นพร้อมความถี่คู่ควบด้านสูง 100 Hz (ของ 50 Hz ที่หายไป) มันก็จะเข้าใจว่ายังมีความถี่ 50 Hz อยู่และมีความดังสูงไม่ค่อยนิดเดียวอย่าง 50 Hz ปกติ เป็นการใช้ฮาร์โมนิกด้านสูงหลอกหูว่ามีความถี่หลัก (FUNDAMENTAL) อยู่ (ทั้งๆที่ไม่มีอยู่แล้วตอนนั้น) ลำโพงก็จะทำงานเบาขึ้นมากจึงใช้ลำโพงขนาดเล็กได้ เช่น แค่ 4 นิ้ว เพื่อให้ได้เสียงเหมือนลงได้ถึง 50 Hz (ซึ่งจริงๆไม่มีทาง) วิธีนี้มีอยู่ 2-3 ยี่ห้อทำอยู่เป็นกล่องดำหรือใส่ร่วมกับ EQ อย่างไรก็ตามเท่าที่เคยลองฟังในงาน CES แทบไม่เห็นผลอะไรเลย

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459