000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > โลกแห่ง Firm Wave (พระเจ้าหรือซาตาน)
วันที่ : 11/06/2016
6,428 views

โลกแห่ง Firm Wave (พระเจ้าหรือซาตาน)

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

นับวันอุปกรณ์หรือผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์จะทำงาน ใช้งานได้อย่างสลับซับซ้อนมากขึ้นๆเพื่อรองรับได้กับทุกสภาพแวดล้อม สถานการณ์ เงื่อนไขและความต้องการของผู้ใช้ องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้มันเป็นไปได้ก็คือ “หน่วยความจำ” ที่มีความจุมากขึ้นๆขณะที่ราคาถูกลงๆ

ในอดีตความจำเป็นในลักษณะที่ต้องคล่องตัวอย่างยิ่งอย่างนี้ เราจะพบได้กับกระบวนการผลิตที่อาศัยเครื่องจักร (หุ่นยนต์) ในการผลิต แต่ละขั้นตอนของสายการผลิตจะกระทำโดยมือกลที่ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่นั้นๆโดยเฉพาะตามที่ถูก “กำหนด” ไว้ล่วงหน้าเมื่อผลิตภัณฑ์ที่จะผลิตเปลี่ยนไปก็ต้องปรับเปลี่ยนรื้อกลไกของมือกลแต่ละจุดใหม่ ซึ่งเสียเวลาและเพิ่มต้นทุนอย่างมาก

ต่อมามีการคิดทำมือแบบ “ครอบจักรวาล”ยืดหยุ่นได้รอบตัวและใช้การควบคุมด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Soft-ware; SW) การลงทุนครั้งแรกจะสูงมากแต่ในระยะยาวจะปรับเปลี่ยนการผลิตได้ง่ายมาก แทบจะชั่วข้ามคืนก็ยังได้ เพียงแค่สลับ เปลี่ยน “โปรแกรม” ซอฟต์แวร์ที่ควบคุมมือกลเหล่านั้นเท่านั้น ขณะที่ในอดีตต้องใช้เวลาเป็นเดือนๆ ทำให้โรงงานสามารถบริหารสต๊อกสินค้าแบบ “Zero Stock” ได้ง่ายขึ้น ลดต้นทุนได้มหาศาล อีกทั้งง่ายที่จะเปลี่ยนกลยุทธ์การตลาด

จากแนวความคิดนั้น ได้กระจายแพร่หลายมาสู่ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน (Consumer Product) ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ,ผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ ฯลฯ ที่เห็นชัด เครื่องซักผ้าที่ตั้งโปรแกรมได้ (ทั้งแบบกลไกและแบบอิเล็กทรอนิกส์),ตู้เย็น (ที่เรียกว่า Fuzzy Logic ทั้งหลาย),เตาอบไมโครเวฟ (โปรแกรม),เครื่องปรับอากาศ,หม้อหุงข้าวและอื่นๆอีกมาก ทั้งหมด ทำงานบนโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ แพล็ตฟอร์ม (Soft ware platform) ประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

อย่างไรก็ตามมีผลิตภัณฑ์อื่นที่ทำงานบนคำสั่งของ Software เกือบ 100 เปอร์เซ็นต์ ที่เราคุ้นเคยที่สุดคือ คอมพิวเตอร์ PC ที่ใช้ในบ้าน โน้ตบุ๊ก โทรศัพท์มือถือ เครื่องเล่นดิจิตอลพกพา (PDA,PDV และMP3) เครื่องเล่นเกม Music Server (ตู้เพลง,หนัง) ที่กำลังมาแรง รถยนต์รุ่นใหม่ๆ 20 ปีมานี้ ฯลฯ และนับวันจะมากขึ้น เห็นชัดขึ้น

แม้กระทั้งในแวดวงเครื่องมือแพทย์ อย่างเครื่อง X-RAY ระบบเส้นแรงแม่เหล็ก MRZ (PET Scan หรืออื่นๆ) ปัจจุบันทำงานบนซอฟต์แวร์เต็มตัว จะต้องต่อเชื่อมกับเว็บไซด์ของผู้ผลิตที่ต่างประเทศเพื่อให้เขาส่งโปรแกรมมาลงและเพื่อปรับปรุงโปรแกรม (Update) ทุกๆปี (ต้องจ่ายให้เขาทุกปีด้วย) เชื่อว่าโปรแกรมระดับสเกลใหญ่ๆ (Infrastructure) อื่นๆก็น่าจะทำนองเดียวกัน

ในแวดวงเครื่องเสียงและภาพ สิ่งนี้ได้มาถึงแล้วเมือไม่กี่ปีมานี้เอง ที่เห็นชัดที่สุดคือ เครื่องเล่นแผ่นภาพความละเอียดสูง (HD) ทั้งหลาย ทั้งค่าย HD DVD และค่าย Blu-ray ปัจจุบัน

เพราะการที่ทั้งสองค่ายแข่งกันที่จะเป็นเจ้าตลาดให้ได้ ซึ่งการวางตลาดก่อนทั้งตัวแผ่น (Software) และตัวเครื่อง (Hardware) ย่อมชิงความได้เปรียบ ต่างจึงเร่งผลิตเครื่องและแผ่นออกมาทั้งๆที่อะไรๆยังไม่ลงตัว ทั้งในแง่ของการทำความตกลงทำความเข้าใจกับค่ายหนัง (เรื่องการเพิ่มลูกเล่นของการเล่นแผ่น) ในแง่ของความพร้อมสมบูรณ์ของตัวเครื่องเล่นเอง (ลูกเล่น,การเชื่อมต่อ,การโต้ตอบ (Interactive) ระบบภาพ,เสียง (เสียงจะเป็น HD แค่ไหน)

เมื่อเร่งผลิตเครื่องออกมาผลคือสารพัดปัญหาตามมา ทั้งแง่การอ่านแผ่นที่ใช้เวลามากถึง 3 นาที ความเสถียรของการเล่น (ข้ามฉาก,กรอข้ามและกรอย้อน ฯลฯ) ทำให้ต้องมีการ “ปรับปรุง” การใช้งานกันไม่รู้จบสิ้นเนื่องจากเครื่องเล่นทั้งสองทำงานบน Software เป็นหลักใหญ่ เรียกว่าใกล้จะเป็นคอมพิวเตอร์เข้าไปทุกทีแล้วทำให้ปรับปรุงได้ไม่ยาก (Update Firmware…การปรับปรุงการทำงานของเครื่อง) แต่ก็สร้างความปวดหัวและสับสนให้กับผู้บริโภคมาก

อย่างเครื่อง Blu-ray ปรับปรุงตั้งแต่ปกติ (แรกสุด) เป็นเวอร์ชั่น 1.0 (V 1.0) แล้วเป็น V 1.3 มาเป็น V 1.3a มาเป็น V 2.0 และล่าสุด V 2.3 การ Update Firmware ก็โดยการโอนถ่ายข้อมูลปรับปรุงจากเว็บไซด์ของโรงงานมาลง CD-R ในคอมพิวเตอร์แล้วเอาแผ่น CD-R มาเล่นกับเครื่อง Blu-ray อีกที ไม่ควรต่อสายเชื่อม (Ethernet) จากหลังเครื่องเล่นเข้าสู่เว็บ ไซด์โรงงานโดยตรง มันต่อได้แต่ก็เสี่ยง ถ้าขณะโอนถ่ายข้อมูลมาเกิดการขลุกขลักในการเชื่อมต่อ (เครือข่ายอินเตอร์เน็ต) ทำให้การเชื่อมผิดพลาดหรือไม่สำเร็จ มีโอกาสสูงมากที่จะทำให้ “เครื่องเดี้ยง” ไปเลย ใช้งานไม่ได้ และกรณีนี้ไม่อยู่ในการรับประกันด้วย (มีคนเจอมาแล้ว เครื่องเล่น 3-4 หมื่นบาท กลายเป็นเศษเหล็กในชั่วพริบตา...!)

ก่อนหน้านี้ การปรับปรุงการใช้งานของเครื่องเล่น DVD มักเกิดจากเครื่องเล่นค่ายจีนแผ่นดินใหญ่ ที่ผู้ผลิตและผู้นำเข้าใส่ใจต่อผู้ซื้อของเขา เมื่อพบปัญหาการอ่านแผ่น DVD (เช่น ปัญหาZone, แผ่นก๊อบปี้ และแผ่นที่ไม่สมบูรณ์นัก) ก็จะมีการแจ้งไปยังผู้ผลิตเพื่อทำการวิจัยและแก้ไขแล้วก็จะส่งเป็นแผ่น CD-R ที่ใช้ปรับปรุงคำสั่งการทำงานหรือ Firm ware มาให้ (หรืออาจใช้การดาวน์โหลดจากเว็บไซด์เอา,ต้องยกคำชมเชยให้กับยี่ห้อ Soken ที่เอาใจใส่ต่อลูกค้ามากที่สุด จนวงการถือว่าเป็นมาตรฐาน ถ้า Soken อ่านไม่ได้ใครก็อ่านไม่ได้)

มาดูในวงกว้างว่า การทำงานบน Software มีข้อดีข้อเสียอย่างไร

ข้อดี

  1. ช่วยให้การใช้งานสามารถทำได้หลากหลายทุกแง่ทุกมุมได้มากขึ้นอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน โดยระบบเมนูแสดงบนจอแบบ GUI (Graphic User Interface) ที่เข้าใจง่าย สอดรับกับความรู้สึกและสัญชาตญาณของมนุษย์
  2. ลดเครื่องเครา ปุ่มกดเป็นร้อยปุ่มหรือมากกว่า ให้เหลือไม่กี่ปุ่ม ลดต้นทุนการผลิต ลดโอกาสที่ปุ่มต่างๆจะสร้างปัญหา ลดขนาดเครื่อง เครื่องราคาถูกลง
  3. ลดอุปกรณ์ชิ้นส่วนอะไหล่ภายในเครื่องลงได้มาก
  4. เพิ่มคุณสมบัติการใช้งาน ทำให้การการทำงานมีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นอย่างที่เป็นไปไม่ได้เลยกับการทำงานบนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวๆตามปกติอย่างในอดีต หรือทำได้ก็จะมีต้นทุนสูงลิบลิ่ว (ตัวอย่างเช่นดิจิตอลจูนเนอร์ (DSP) ดิจิตอล EQ (พวกแก้ปัญหาห้อง Room correction) ดิจิตอลอิเล็กทรอนิกส์ครอสโอเวอร์ ดิจิตอล Phase Correction,programmable power supply ฯลฯ)
  5. การลดชิ้นส่วนอุปกรณ์ลง ช่วยเพิ่มความคงทน (Realiability)
  6. ลดการกินไฟได้ในบางลักษณะและบริหารการใช้ไฟได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (วงจร Power Saver)
  7. ช่วยให้การใช้งานมากขึ้น สามารถช่วยลดขั้นตอนการเข้าสู่ฟังก์ชั่นบางอย่าง โดยโปรแกรมของเครื่องจะไล่ตามขั้นตอนให้เอง และสามารถเลือกการใช้งานแบบต่างๆที่ตั้งไว้ล่วงหน้าได้ (User Memory หรือ Pre-Program) ทำให้ผู้ที่ไม่คุ้นเคยกับการใช้งานอย่างสลับซับซ้อน สามารถใช้งานเองได้ง่ายๆ (ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบและเขียนโปรแกรมจะทำให้หลากหลายได้แค่ไหน ตัวอย่างเช่น พวกโปรแกรมของกล้องดิจิตอลถ่ายรูปทั้งหลาย โปรแกรมตั้ง EQ ในเครื่องเสียงรถยนต์)
  8. ช่วยให้สามารถปรับปรุงคุณภาพ ประสิทธิภาพการใช้งานของเครื่องได้ในอนาคต ดังที่กล่าวมาตอนต้น (Update firm wave) ไม่ต้องขายทิ้งหรือซื้อใหม่บ่อยๆ
  9. ช่วยเพิ่มการเชื่อมต่อได้หลากหลายชิ้น เมื่อมีการคิดมาตรฐานการเชื่อมต่อใหม่ๆออกมา
  10. ผู้ผลิตสามารถทำการตรวจสอบคุณภาพการผลิต (Quality Control หรือ QC) ครั้งสุดท้าย (เช่น วงการผลิตเครื่องรับทีวีจอแก้วและจอแบนใช้อยู่)
  11. ผู้ขาย (โรงงาน) สามารถตรวจสอบเข้าถึงปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างเป็นระบบ ละเอียดเมื่อเครื่องมีปัญหา (ดู Status และ Diagnosis ได้ทันทีซึ่งวงการผลิตรถยนต์ใช้มาก่อนเป็นสิบๆปีแล้ว) ไม่ต้องรื้อมั่ว ตรวจสะเปะสะปะ เสียของ เครื่องช้ำโดยไม่จำเป็น
  12. ถ้าผู้บริโภคเก่ง เป็นงาน อาจสามารถเจาะเข้าสู่ Firm wave ของผู้ผลิตเพื่อทำการปรับแต่งคุณภาพบางอย่าง ได้ตามที่ต้องการ (Over Ride หรือ Manipulate) เพราะบ่อยๆที่ผู้ผลิตเลือกการปรับ (Parameter) ที่อิงกับผลการขายมากกว่าความเที่ยงตรง ถูกต้อง
  13. สามารถจำลองสร้างสรรค์คุณสมบัติบางอย่างที่ต้องการได้ เช่น การสร้างบุคลิกเสียงของภาคขยาย (โดยการปรับเปลี่ยน Transfer Function ต่างๆ) ต่อไปเราอาจมีปุ่มเรียกว่าจะเอาเสียงแบบเครื่องทรานซิสเตอร์หรือเครื่องหลอด (แถมเลือกยี่ห้อเครื่องได้ด้วย เหมือนปัจจุบันที่มี Software Program สร้างเสียงเครื่องดนตรีอย่าง เปียโน เลือกยี่ห้อ รุ่นของเปียโนยังได้เลย…!)
  14. ผู้ใช้สามารถปรับปรุงวงจรประมวลผลการทำงานของ Firm wave โดยใช้อะไหล่ชิ้นส่วนที่คุณภาพเกรดสูงขึ้น ทันสมัยขึ้น ซึ่งส่งผลต่อการทำงานโดยรวมของตัวเครื่องอีกทีหนึ่ง

ข้อเสีย

  1. ความเสถียรของการใช้งาน เนื่องจากทำงานบน Software มีโอกาสที่จะถูกรบกวนจากคลื่นรบกวนภายนอก (ทั้งจากอากาศและสายไฟ AC) มันเหมือนกระดานหกหรือคานดีดคานงัด การผิดพลาดนิดหน่อยของคำสั่งอาจมีผลใหญ่หลวงต่อการทำงานของทั้งเครื่องและที่เกิดจากตัวโปรแกรมสร้าง Bugs ขึ้นมาเอง
  2. ผลของการแข่งขันสร้างจุดขายให้ได้มากกว่าคู่แข่งทำให้ผู้ผลิตเครื่องเอาแต่เพิ่มฟังก์ชั่นการใช้งานเข้าไปเพราะทำได้ง่ายแค่เขียนเพิ่มเติมโปรแกรมคำสั่งเข้าไป หลายๆฟังก์ชั่นไม่มีความจำเป็นและกลับสร้างความยุ่งยากสับสนต่อผู้บริโภค
  3. ผู้ผลิตจะเลิกสนใจความเสถียร ความคงทน จะเร่งรีบผลิตวางตลาดก่อนคู่แข่ง โดยใส่ใจลดลงต่อความเสถียรเมื่อใช้ไปนานๆ โดยคิดแต่จะไปแก้เอาภายหลังด้วยการ Update Firm wave ทั้งๆที่มาตรฐานบางอย่างยังไม่เป็นที่ลงตัวด้วยซ้ำ
  4. ผู้ผลิตอาจลดคุณภาพชิ้นส่วนอุปกรณ์ลงเช่น กลไกการเล่นแผ่น (ความเที่ยงตรง) ลดการเผื่อความผิดพลาดของภาคจ่ายไฟ ภาคขยายขาออก โดยใช้เกรดอุปกรณ์ที่ต่ำกว่าที่เคยและใช้โปรแกรมเป็นตัวตรวจสอบและบริหารความเสี่ยงแทน มันอาจมีผลดีในแง่การลดต้นทุน ทำของได้ถูกลง แต่ถ้าโปรแกรมทำงานพลาด (ตามเหตุผลข้อ 1 ข้างต้น) คราวนี้ก็พังกันเป็นแถบๆเลย
  5. มีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตจะเขียนโปรแกรมแอบเอาไว้ให้คอยสำรวจบันทึกเก็บพฤติกรรมการเล่นของผู้ใช้ เพื่อให้เป็นข้อมูลให้ผู้ผลิต (กรณีมีการเชื่อมต่อกับเว็บไซด์ของผู้ผลิตด้วยอย่างพวกเครื่องเล่น Blu-ray และล่าสุดการ พยายามใส่ “การรับวิทยุทางอินเตอร์เน็ต” โดยผ่านโปรแกรม (และ Server) จากเว็บไซด์ของผู้ผลิตเป็นประตูออกสู่ย้อนเข้าอินเตอร์เน็ตอีกที)
  6. จากข้อ 5 ก็มีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตจะ “ป้อนคำสั่ง” ผ่านมาจากอินเตอร์เน็ตให้เครื่อง “เสีย” ในอาการและในระยะเวลาที่ตัวเองต้องการได้หรือถึงไม่เชื่อมต่อกับเว็บไซด์ก็ยังสามารถเขียนคำสั่งตั้งเวลาให้เครื่องเสียได้ (อาจใช้การนับเวลาจากชั่วโมงที่เล่น) เพื่อการขายอะไหล่หรือขายเครื่องใหม่รับเทิร์นเครื่องเก่าเป็นการผูกลูกค้าเอาไว้ไม่ให้หลุดออกไปให้คู่แข่ง ยี่ห้อไหนที่โหมการขายเยอะๆแถมตัดราคา ดูเผินๆว่าถูกกว่าคู่แข่งอื่นๆ (อย่างไม่ค่อยน่าจะเป็นไปได้) พยายามสร้างยอดขายให้เป็นอันดับหนึ่งหรือต้นๆ พวกนี้ให้ระวังอาจจะมาเกมนี้หรือเปล่า (ยิ่งถ้าเป็นพวกขายแบบ MASS อย่างโทรศัพท์มือถือยิ่งน่ากลัว ดูเผินๆถูกดี สวยหรู แต่หมกเม็ดให้พังเร็ว ให้กินแบต ให้แบตเสื่อมเร็ว ระวัง...!)
  7. ดังกล่าวแล้วการ Update Firm wave ต้องระวังมาก ไม่แน่ ต่อไปอาจมีการใส่ไวรัสเข้ามากับการเชื่อมต่อ แล้วก็ต้องจ่ายโปรแกรมป้องกันไวรัส เข้าสู่วัฏจักรโปลิศจับขโมย จ่ายกันไม่รู้จบ (Blutooth โทรศัพท์ก็เจอกันแล้ว นี่จะทำเครื่องเสียงที่เชื่อม Blutooth ได้ เดี๋ยวก็ยุ่งหรอก)
  8. ในอนาคตผู้ผลิต Software เช่นแผ่นหนัง แผ่นเพลง บริการเพลง-หนังทางอินเตอร์เน็ตอาจ “หาเรื่อง” สร้าง “เหตุผลิต” จูงใจว่ามีระบบดีกว่า เหนือกว่าซอฟต์แวร์เดิมแต่ผู้บริโภคต้องจ่ายค่า Update Firm wave อาจคนละ 10 เหรียญยูเอส ซึ่งก็ดูไม่เยอะ แต่อย่าลืมว่าถ้า AV แอมป์ทุกเครื่อง เครื่องเล่น DVD ทุกเครื่อง (ก็คงเป็น Blu-ray หมดแล้วตอนนั้น) นับแสนๆล้านๆเครื่องทั่วโลกมาจ่ายให้ ทั้งผู้ผลิตเครื่องและผู้ผลิตเพลง,หนังจะรับเละแค่ไหน (อาจแกล้ง ใครไม่จ่ายถ้าเอาแผ่นพวกนั้นมาเล่นจะเริ่มมีปัญหา ดาวน์โหลดก็มีปัญหาตะกุกตะกักของมัน “สร้าง” เงื่อนไขกันได้ทั้งนั้น)

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459