000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > เบิร์นอิน... เสียค่าโง่แน่ถ้ามองข้าม
วันที่ : 30/09/2016
18,354 views

เบิร์นอิน... เสียค่าโง่แน่ถ้ามองข้าม

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ซื้อรถใหม่ยังต้องผ่านการใช้งานสักพัก เครื่องเคราทุกอย่างจึงจะลงตัว เข้าที่เข้าทาง เรียกว่า รันอิน (Run-in) สำหรับเครื่องเสียงก็เหมือนกัน ไม่ว่าเป็นอุปกรณ์อะไร จะเป็นเครื่องเสียง, ลำโพง, สาย, (แม้แต่แผ่น CD) ล้วนต้องให้มีการใช้งานสักพักใหญ่ จึงจะได้คุณสมบัติตามที่ผู้ออกแบบต้องการ (เรียกเบิร์นอิน)

ทำไมจึงต้องเบิร์นอิน (Burn-in)

            1. โลหะต่างๆ (ทองแดง, เงิน, ทอง, โรเดี่ยม, พาลาเดี่ยม, เหล็กตัวถัง) เมื่อมีการถูกผ่านโดยกระแสไฟ จะเกิดความร้อน, สนามแม่เหล็กไฟฟ้า ที่จะไปปรับสภาพของรูปแบบโมเลกุล (Pattern) คล้ายปรับความเป็นผลึก (Crystaline) ของโมเลกุล ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะเกิดการเสถียร นิ่ง ไม่เปลี่ยนแปลงอีก หรือเปลี่ยนแปลงน้อยมากๆ นอกจากมันถูกกระทำด้วย เงื่อนไขใหม่ที่ต่างออกไป ทั้งในแง่ปริมาณที่มากขึ้นมากหรือรูปแบบกระแสที่เฉพาะเจาะจงใหม่

            ขอให้ข้อสังเกตว่า ไม่เฉพาะพวกเส้นลวดตัวนำ หากแต่ตัวถังเครื่องก็มีผลจาก Eddy Current... กระแสเหนี่ยวนำไหลวนในตัวถังหรือตัวถังของหม้อแปลงต่างๆ, หัวขั้วรูรับ-ส่งสัญญาณ, ขั้วรับสายลำโพง ขาของหัวปลั๊กสายไฟ, ครีบระบายความร้อน, เส้นฟิวส์, ขั้วกระบอกฟิวส์, ขั้วสวิตซ์ต่างๆ (วอลลุ่มด้วย), โครงลำโพง

            2. ของเหลวต่างๆ ที่อยู่ในหม้อแปลงไฟ, ตัวเก็บประจุ, สายสัญญาณ ซึ่งจะปรับสภาพเรื่อยๆ เมื่อมีกระแสผ่าน จนกว่าจะอยู่ตัว, เสถียร

            3. แผ่นฟอยล์ดของตัวเก็บประจุ, ตัวต้านทาน, ส่วนปิดผนึกกันกวนในสายสัญญาณ, สายไฟ

            4. ผงถ่านที่วอลลุ่ม, ตัวต้านทาน มีการปรับตัวตามกระแส จนกว่าจะนิ่ง

            5. กรวยลำโพง, ขอบลำโพง, ส่วนแขวนลอย, โดมลำโพง, แม่เหล็ก (รวมแม่เหล็กเหลวที่ วอยส์คอยล์แช่อยู่) เชื่อกันว่า แม้แต่ตัวตู้ลำโพง(ไม้) ก็ต้องการ การปรับสภาพจนลงตัวเช่นกัน (รวมทั้งห้องแสดงดนตรี, ห้องฟัง)

            6. แม้แต่แผ่น CD เพลง (และควรจะรวมแผ่นภาพ VCD, DVD, Bluray) ก็ต้องเบินอิน (ด้วยลำแสงเลเซอร์)

            7. พวกหลอดสูญญากาศของเครื่องหลอด ก็ต้องเบิร์นไส้เผาร้อน, ขาบวก, ลบ ขนาดว่าหม้อแปลงไฟใหญ่ของหลวง ที่ติดต้ังปากซอย หน้าบ้านเรา ก็ยังต้องเบิร์นอิน ก่อนที่เสียงจะเข้ารูปเข้ารอย

            8. จอภาพ LCD , โปรเจ็คเตอร์ก็เช่นกัน

อาการของการเบิร์นอิน

            1. สายไฟ AC ที่พบได้ (สายที่ไม่มีชีลด์) ใหม่เอี่ยม มีทั้งเสียงจัด, กร้าว เวทีเสียงแบน ทรวดทรงฟุ้ง บางเส้นตรงข้าม ใหม่ๆ เสียงทื่อทึบ ไม่โปร่งพริ้ว เสียงอ้วนหนาเหมือนสวิงไม่ขึ้น ระยะเวลาเบินอินน้อยสุด 50 ชั่วโมง 200 ชม. อยู่ตัว

            2. สายสัญญาณ ใหม่เอี่ยม เสียงจืดๆ ทื่อๆ ไม่มีอะไรในกอไผ่ ไม่มีเสน่ห์ ไม่น่าสนใจ ระยะเวลาเบินอิน ต่ำสุด 2 ชั่วโมง (สายเล็กๆ หัว RCA) ถึง 100 ชั่วโมง (สายใหญ่ บาลานท์) อยู่ตัวเสถียรสุด 300 ชั่วโมง

            3. สายลำโพง คล้ายๆ สายไฟ AC เนื่องจาก ต้องผ่านกระแสสูง คล้ายกัน

            4. ปรี, เพาเวอร์แอมป์, อินทีเกรทแอมป์, DAC เนื่องจากมีชิ้นส่วนเยอะ น่าจะต้องผ่านการเบิร์นอินต่ำสุดๆ 50 ชั่วโมง แต่สมควร 200 ชั่วโมงขึ้นไป ถ้าจะเอาให้แน่ใจ

            5. พวกตัวคุมไฟ, กรองไฟ (ขนาดใหญ่, กลาง) ก็น่าจะเหมือนข้อ 4

            6. ลำโพง ต้อง 25-30 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อยที่สุด ถ้าจะให้เริ่มเสถียรใช้ได้ (ยังไม่สุดๆ) ไม่ควรต่ำกว่า 50 ชั่วโมงขึ้นไป

อาการของการเบิร์นอินไม่ได้ที่ (ขึ้นอยู่กับขนาดเครื่อง, กำลังขับ)

            พวกปรี, เพาเวอร์, อินทีเกรท, DAC, ตัวคุมไฟ/กรองไฟ, เครื่องเล่นแผ่น คือเสียงจะทึบๆ ด้านๆ บางครั้งออกกร้าว แข็ง ขาดการสวิงเสียงค่อย-ดัง คือ ฟังเสมอๆ กันไปหมด ไม่มีเสียงหนัก-เบา/อ่อน-แก่ สวิงไม่ขึ้น เสียงจม ไม่หลุดกระเด็นลอยมาหาเรา ทุ้มลึกหาย, ปลายแหลมไปไม่สุด เวทีเสียงไม่โอบกว้าง พูดง่ายๆรวมๆ ไม่มีเสน่ห์ ขาดความน่าสนใจ ไม่ผ่อนคลาย, โรแมนติก, ไม่ติดหู

            พวกลำโพง ลำโพงดอกเล็ก และกินวัตต์ต่ำ (ความไว 89 dB SPL/w/m ขึ้นไป) จะใช้เวลาเบิร์นอินต่ำกว่า พวกลำโพงใหญ่ และกินวัตต์มากๆ (พวกความไวต่ำกว่า 86 db SPL/w/m)

            ลำโพงวางหิ้ง 2 ทาง ดอกกลาง/ทุ้ม 5-6 นิ้ว ตู้เปิด ความไวประมาณ 87 dB SPL/w/m ระยะเวลาการเบิร์นอินจนค่อนข้างลงตัว 40-45 ชั่วโมง ระยะเวลาเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง 25 ชั่วโมง

            ปกติ ถ้ายังเบิร์นอินไม่ได้ที่ เสียงแหลมมัก เด่น, นำ ขาดมวล หรือความอวบอิ่มของสูงต่ำ เพราะดอกกลางทุ้มยังตึงตัว ขยับไม่ได้เต็มที่ จึงไม่มีต่ำ/กลาง/กลางสูง ไปเติมให้ปลายแหลม เสียงรวมเหมือนค่อย เมื่อเบินได้ที่ เสียงจะราบรื่นขึ้น ครบ มีทรวดทรงดีขึ้น เวทีกว้าง โอบ ลอย ลึก ดีขึ้น ทุ้มลึกดีขึ้น ทำให้เสียงผ่อนคลาย โรแมนติกขึ้น มีเสน่ห์น่าฟังขึ้น

            แต่ก็มีเหมือนกันที่ เมื่อยังเบิร์นไม่ได้ที่ เสียงกลับหนา ทึบ ด้านๆ ขาดความสด โปร่ง ประกาย แต่กรณีนี้จะน้อยมาก สาเหตุของกรณีแรก เป็นเรื่อง “กลไก” การขยับตัวของดอกลำโพง (กรวย)

            สาเหตุหลัง (ที่ทึบ) น่าจะมาจาก อุปกรณ์บนแผงวงจรแบ่งความถี่ ที่ยังเบินไม่ได้ที่ (ตัวเก็บประจุแบบน้ำมัน, สาย)

หลังจากเบิร์นอินได้เต็มที่แล้วฟังไปนานๆ ต่อมาเก็บไว้ ไม่ได้ฟัง ต้องนำมาเบิร์นอินใหม่ไหม

            ขึ้นอยู่กับว่า เก็บไว้นานมากแค่ไหน แต่ระยะเวลาการเบิร์นอินน่าจะสั้นกว่าพอสมควร (ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณี, อุปกรณ์นั้น, การเก็บรักษา)

อะไรทำให้การเบิร์นอินมีผลน้อย หรือไม่ดีเท่าที่ควร

            การติดตั้งชุดถูกต้องแค่ไหน ได้แก่

            1. ทิศทางสาย ต้องเดินย้อนหรือตามทิศ (อย่าเชื่อลูกศรที่เขาสกรีนมา ต้องลองฟังดูเอง ก่อนเริ่มการเบิน) ไม่ว่าสายไฟ AC, สายเสียง, สายลำโพง, สายดิจิตอล, สายภาพ (อย่าเชื่อตามหัวเสียบ เช่นสายบาลานท์)

            2. ขาปลั๊กไฟ AC ต้องสลับขาฟังเฟสไฟให้ถูกต้องก่อน

            3. อย่าให้สายต่างๆ พันขดทับตัวเอง หรือแตะต้องสายอื่น

            4. อย่าวางเครื่องทับซ้อนกัน

            5. ต้องเอียงลำโพง (Toe in) ไม่ใช่วางหน้าตรง (ดูบทความเรื่องทำไมต้อง Toe in ประกอบด้วย) เอาหน้ากากลำโพงออก

            6. แผ่นที่นำมาฟัง ควรมีคุณภาพดีหน่อย ไว้ใจได้

            7. ห้องฟังก้องเกินไป

เบิร์นอินแล้ว ทุกครั้ง ก่อนเล่นยังคงต้องอุ่นเครื่องไหม

            ถ้าทำได้ก็ดี โดยเฉพาะพวกเครื่องหลอด (อย่างน้อย 20-30 นาที) นักเล่นบางท่าน เปิดปรี, เพาเวอร์, อินทีเกรท, เครื่องเล่นแผ่นทิ้งไว้ตลอด แต่ไม่เร่งเสียง ไม่ใส่แผ่น (เคยลองแล้ว ก็ดีจริง แต่ไม่มากมโหฬารอะไร ไปพิถีพิถันจุดอื่นเห็นผลกว่า ประหยัดไฟกว่า)         

ควรเบิร์นอินด้วยวิธีใด

            สมัยก่อน เราเปิดเพลงฟังกันเหมือนฟังปกติเลย (ปรี, เพาเวอร์แอมป์, อินทีเกรทแอมป์, ลำโพง, สายไฟ AC, สายสัญญาณ, สายลำโพง) ยิ่งเปิดดังและหาเพลงโหดๆ ตูมตาม ยิ่งเบิร์นอินได้เร็ว (วิธีนี้ดีที่สุด)

            ต่อมามีการทำแผ่น LP, แผ่น CD ที่บันทึกสัญญาณเสียงซ่าเพื่อใช้เบิร์นอิน ซึ่งไม่ขอแนะนำ ทำให้เสียงเพี้ยนจากตะกอนเสียงที่จำเจนานๆ

            ต่อมามีแผ่น CD ที่บันทึกเสียงสังเคราะห์แบบหลากหลาย ซึ่งดีกว่าแบบว่าอย่างเดียว กระนั้นก็จากตามประสบการณ์ วิธีแรกสุดจะให้เสียงน่าฟังที่สุด

ตกม้าตาย เพราะเรื่องเบิร์นอิน/การกล่าวอ้างแก้ตัว

            เป็นเรื่องเศร้าและน่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่ผู้ขายเองก็พลาดที่จะแนะนำเรื่องต้องใช้ระยะเวลาเบิร์นอินให้แก่ผู้ซื้อ ทำให้หลงประเด็นกันได้ พลาดจากของดี เสียงเที่ยงตรง ถูกต้อง เป็นธรรมชาติ ซึ่งจะอยู่กับผู้ซื้อได้นานๆ

            ต่างจากเครื่องเสียงที่มีบุคลิกส่วนตัวสูง พวกนี้ฟังครั้งแรกก็จะฉายบุคลิกส่วนตัวออกมาเลย กลบความจำเป็นเรื่องการเบิร์นอินได้ (ในระยะแรก) ทำให้ผู้ซื้อหลงเลือก ทั้งๆที่อีกชิ้น ของอย่างเดียวกัน แต่ยังไม่เบิร์นอินได้ที่ เสียงดึงดูดน้อยกว่า (แต่ระยะยาว เบิร์นอินได้ที่ เสียงดีกว่ามาก)

            น่ากังวลที่อาจมีผู้ขายที่ไม่มีจรรยาบรรณ คุณธรรม ยัดเยียดของที่ยังไม่เบิร์นอิน (ใหม่แกะกล่อง) ให้ลูกค้า หวังให้ซื้อไปฟังจะได้ผิดหวัง เอากลับมาขอเปลี่ยน พ่อค้าก็จะขอตัดเงิน เช่น 20% ขึ้นไป อ้างว่าแกะกล่องแล้ว แต่เวลาขาย (อีกครั้ง, คนต่อๆ ไป) ไม่ได้ลดให้ อ้างอย่างอื่นเรื่อยเปื่อยไป ฟันกำไร 2 เด้ง - 3 เด้ง

หรือตรงข้าม เอาของที่ตัวเองเชียร์ (อยากขาย) เบินอินให้ได้ดีที่สุด เทียบกับของที่เอามาเชือด (ฝากขาย) ที่ยังไม่เบิร์นอินหรือเบินอินไม่ได้ที่ (คือ แทบไม่ได้ใช้งานเลย)

            อีกกรณี ขายของไม่ดีให้ แต่อ้างว่ายังเบิร์นอินไม่ได้ที่ ซื้อไปเถอะ เบิร์นสักเดือน 2 เดือนจะดีขึ้นเยอะ (ตอนนั้นกะฟันเป็นของเก่า ลดค่าใช้แล้ว)

สรุป

            จะเห็นว่า แทบไม่มีใครนำประเด็นเรื่อง ความจำเป็น, สำคัญ ของการ “เบิร์นอิน” มาพูดถึงกันเลย ทั้งๆ ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการตัดสินใจ ทั้งซื้อ, ทั้งเปลี่ยน

            แม้แต่นักทดสอบ วิจารณ์เครื่องเสียง (อย่างผมเอง) ก็ต้องตระหนักถึงข้อนี้ด้วย จะละเลยไม่ได้ เท่าๆ กับที่สร้างความหนักใจให้มาก เรื่องค่าไฟค่าแอร์ เวลาที่ต้องเสียไปกับการเบิร์นอินของที่นำมาทดสอบ โดยต้องควักกระเป๋าเองทั้งสิ้น จึงอยากฝากให้ผู้นำเข้า กรุณาช่วยหาที่มันผ่านการเบิร์นมาแล้วในการส่งให้ทดสอบด้วย

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459