000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > เครื่องเสียงรถยนต์ > บทความเครื่องเสียงรถยนต์ > คัมภีร์หูทิพย์
วันที่ : 23/11/2016
14,183 views

คัมภีร์ “หูทิพย์”

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ปัญหาใหญ่ที่สุดที่ทำให้การจัดระบบเสียงของร้านค้าให้แก่ลูกค้าต้องล้มเหลว ก็คือร้านเองไม่ทราบว่า “เสียง” ที่ดีเป็นอย่างไร

            มีกี่ร้านกันที่เจ้าของร้านเป็นนักเล่นเครื่องเสียงบ้านชั้นเซียนมาก่อน เครื่องเสียงบ้านที่ใช้ เล่นอะไรอยู่ เข้าขั้นหรือเปล่า จัดเป็นหรือไม่ ไล่กันลงมาถึงตัวช่างเองที่เป็นคนติดตั้ง ตัวผู้จัดชุดหรือหลงจู้มีประสบการณ์การฟังแค่ไหน

                จะมีช่างกี่คนที่มีโอกาสได้คลุกคลีกับเครื่องเสียงบ้านชั้นสุดยอด ด้วยงานอาชีพ และฐานะเป็นตัวกำหนดโอกาสที่ถูกปิดกั้น

            ผมผ่านร้านติดตั้งมามากพอสมควร เรื่องฟังเป็นแทบจะเลิกพูดได้เลยอย่างเก่ง บางร้านฟังเป็นว่าเสียงแฟลท (FLAT) หรือ ราบรื่นเป็นอย่างไร แต่เรื่องการจับมิติสเตอริโอยังแย่มาก ต่อสายลำโพงกลับเฟส บางทียังไม่ทราบเลย

                มันเป็นเรื่องของโอกาส มิใช่เรื่องของการด้อยความสามารถ ผมเองมิได้เก่งกาจมาจากไหน แต่เดิมก็งูๆ ปลา ๆ เหมือนกัน อ่านรายงานการทดสอบของฝรั่งก็ยังงงหลายแห่งว่าเขาหมายถึงอะไรกันแน่ ต่อเมื่อมีโอกาสได้ฟังมามาก ฟังกันแบบเอาเป็นเอาตาย ใช้ความรู้ทางด้านไฟฟัาเข้าไป เป็นเหตุผลรองรับช่วยให้ตีบทแตกได้ทะลุปรุโปร่งขึ้น ทั้งฟังทั้งลองมาเยอะ แก้ปัญหาให้ชาวบ้านก็มากหลาย จนในที่สุดก็พอมีสติปัญญาประสบการณ์ที่พอจะนำมาเล่าสู่กันฟังได้ อาจไม่ใช่ความถูกต้อง 100 เปอร์เซ็นต์เพราะความรู้เรียนไม่จบ ความถูกต้องในวันนี้อาจกลายเป็นความเข้าใจผิดในวันหน้าก็ได้ ก็ขอให้ถือว่าแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันก็แล้วกันนะครับ

            เริ่มที่สุ้มเสียง เสียงที่ตีด้องให้ ค่าเฉลี่ย ของแต่ละความถี่เสียงมีระดับพอ ๆ กัน ไม่ใช่เสียงแหลมโด่ง เสียงกลางจมเบา เสียงทุ้มตก     

            ถ้าเสียงแหลมตกจะเหมือนมีม่านกั้นระหว่างเรากับวงดนตรี เสียงจะแห้ง ๆ ทึบ ไม่เปิดโล่งโปร่ง ไม่มีความกังวาน

            ถ้าเฉพาะปลายแหลม (ความถี่ 10 KHZ ขึ้นไป) ตกจะเหมือนแต่ละโน้ตไม่มี เสียงหายใจของตัวโน้ต หรือการแตกตัวของอากาศรอบจุดกำเนิดเสียงไม่ว่าจะเป็นโน้ตของเครื่องดนตรีใด (ไม่ใช่เฉพาะเสียงแหลม) ถ้าเป็นเสียงร้องก็ไม่มีเสียงลมหายใจ จากคำร้องฟังด้าน ๆ ปลายแหลมไม่พริ้ว เสียงเคาะเสียงเกา เครื่องดนตรีจะขาดความคมชัดไม่รู้สึกถึงการ “กระทบ” ของการกรีด การดีด การตี การเคาะ

            ถ้าเสียงกลางสูงตก (แถว ๆ 2 KHZ- 3 KHZ) เสียงกระแทกจะเหมือนขาดนํ้าหนัก ตีกลองเหมือนเอาผ้าหุ้มหัวตีก่อน เสียงเปียโนเหมือนสายเปียโนหุ้มผ้า เสียงแก้วตกแตกกระจายบนพื้นปูนเหมือนพื้นพรมหนา ประกายของเสียงหายไป เหมือนดูภาพเครื่องโครเมี่ยมแก้ว ที่มืฝุ่นละเอียดเกาะที่ผิวทำให้หมอง เสียงร้องจาก “ก” “ค” ไม่ชัด เสียง ริมฝีปากไม่ได้ยินเหมือนร้องโดยริมฝีปากไม่แตะกัน “พี่เพิ้ล” เป็น “อีเอิ้ล”

             แต่ถ้ากลางสูงมากไป จะกลับตรงข้ามอะไรที่อาจหายไปเมื่อมันตกจะถูกเน้นขึ้นมา เสียงร้องถูกกระแทกชัดเหมือนจีบปากจีบคอร้อง ขาดความฉอเลาะเสียงไวโอลีน, เปียโน แข็งกระด้าง ทั้งหมดเหมือนเสียงอีเล็คโทรนิคส์ เสียงร้องอาจถึงกับจมูกบี้

            ขณะเดียวกันถ้าปลายแหลมมากไป ฟังนาน ๆ จะเจ็บหู ปลายแหลมเหมือนถูกสาด ทิ่มออกมา จนกลบเสียงกลางหมด เสียงปลายแหลมมีอิทธิพลมาก แม้โด่งเกินไปกว่าปกติไม่มาก แต่ก็มากพอที่จะแย่งความสนใจของเสียงช่วงอื่น ๆ ได้หมด ปลายแหลมที่ดีต้องออกมาอย่างผ่อนคลาย ไม่ สะบัด ตัว "s" ตัว “ส” ต้องฟังสะอาดไม่พร่า ถ้ามากไปเสียงตัว “ก” จะเป็น “ก + ง” เช่น “กิน” ก็เป็น “กงิน” อาจฟังเผิน ๆ ไม่กี่นาทีเหมือนมันชัดดี แต่จะชัดเฉพาะปลายแหลม เสียงกลางตํ่าจะไม่ชัด ถ้ามากไปจะกลบหางเสียงก้องที่ตามมา จึงฟังห้วน เสียงกลาง (แถว ๆ 800-1,000 HZ) ถ้ามากไป เสียงนักร้องจะผอมบางขาดนํ้าหนัก เสียงนักร้องชายขาดความเป็นแมนเหมือนเสียง กระเทย เสียงนักร้องหญิงจะตีบ เสียงเครื่องดนตรีแข็งกระด้างขึ้น เสียงตีกลองใบใหญ่กลายเป็นใบเล็กลง เสียงทั้งหมดบางทีเหมือนตะโกนผ่านปากแตรโลหะ (บี้ ๆ)

            แต่ถ้าตกลง เสียงนักร้องจะจม ขาดความชัดถ้อยชัดคำการตอกยํ้าเสียงเหลาะเหละ และจะกลับส่งเสริมให้เหมือนกลางสูงและสูงถูกยกขึ้นกว่าปกติ

                เสียงกลางต่ำ (300-800 HZ) เสียงร้อง ลงท้องไม่มีขาดนํ้าหนัก ขาดการต่อเนื่องจากกลางไปสู่เสียงตํ่าทำให้ไม่ประสานกลมกลืนกันเหมือนดนตรีด่างคนต่างเล่นทรวดทรงชิ้นดนตรีแบนไม่มีส่วนเว้านูนเป็นก้อนสามมิติ เสียงเบสเหมือนถูกปล่อยเกาะ ความฉอเลาะ อ้อยสร้อยละมุน โรแมนติกของเสียงไม่มี เหมือนถูกบังคับให้เล่นดนตรี หรือร้องกันไปอย่างแกน ๆ บางทีเหมือนเบส ถูกตีโด่งทั้ง ๆ ที่ความจริงเบสไม่โด่ง

                เสียงตํ่า (75-150 HZ) เป็นเบสโดยตรง เป็นตัวเดินเบสโดยเฉพาะที่ 125-150 HZ ถ้าขาดไป, เบสจะหาย ทั้งวงเหมือนขาดจังหวะจะโคน เหมือนต้นไม้ที่โอนเอนอยู่บนเลน บ้านที่ไม่มีเสาเข็ม นํ้าหนักเสียงหายหมดทุกชิ้นดนตรีทั้งวงเหมือนเล่นกันเท้าไม่ติดดิน และกลางเหมือนถูกโยนออกมาอย่างแบน ๆ วงแบนไม่มีลำดับตื้น-ลึก ความหวานอบอุ่นหายไป

            ถ้าโด่งขึ้นมาจะฟังมัน จังหวะถูกเน้น ถ้ามากไปอาจกระตุ้นการก้องของตู้ลำโพง และห้อง การก้องจะมีมากถ้าอาการโด่งเป็นมากแถว ๆ 200-250 HZ

            การขาดที่ 75 HZ เบสจะไม่มีฐาน เหมือนเสียงตอกเสาเข็มที่ไม่มีการสั่นกระหึ่มไล่ตามมา เสียงกลองใหญ่จะไม่ใหญ่จริงขาดการกระพือยวบยาบของหนังกลองไล่ตามเสียงกระทบมา ขาดความกระหึ่มเร้าใจ เสียงทั้งหมดฟังดูย่อส่วนลงไม่อลังการ โอ่โถง

            แต่ถ้าที่ 75 HZ มากไปจะเพิ่มความขุ่น การสั่นค้างไม่เกิดความเด็ดขาด เหมือนมีหมอกฟังตลบในวง อาจกระตุ้นการวูบวาบที่เกิดจากเสียงต่ำลึกที่มาถึงหูซ้ายและขวาไม่พร้อมกันหรือคนละจังหวะกันน่าร่าาญและแก้ยาก เบสจะหนักแบบไม่มีเรื่องราว รายละเอียดเพราะขาดหัวโน้ตมีแต่ตัว

                ความถี่ตํ่ากว่า 50 HZ จะให้แต่ “ความรู้สึก” ถึงการไหลออกมาปะทะตัวเราของเสียงเบส การดิ่งลงพื้นของเสียงเบสไม่ฟุ้งกระจาย (แต่จะไหลออกมาหาเรา) ถ้าโด่งมากเบสจะพร่ามัวกลบรายละเอียดหยุมหยิบ ถ้าขาดไปจะไม่ค่อยรู้สึกเท่าไร บางทีอาจฟังเบสกระชับขึ้น

            เครื่องเสียง 2 ชุด ชุดแรกให้ความถี่เสียงได้กว้างมากขนาด 40 HZ ถึง 25 KHZ แต่เสียงไม่ราบรื่นเอาเสียเลย บางช่วงตกมาก บางช่วงโด่งมากขึ้นๆ ลงๆ ตลอดช่วงความถี่ ชุดที่ 2 ให้ความถี่ได้ไม่กว้างนักแค่ 100 HZ ถึง 14 KHZ แต่เสียงตลอดช่วงนี้ราบรื่น แทบไม่มืตกหรือโด่ง

                อย่างนี้หูคนเราจะทนกับชุดที่ 2 ได้ มากกว่า (ชอบกว่า) เมื่อฟังกันไปนาน ๆ เพราะหูไม่ชอบการเปลี่ยนแปลงที่ไม่อยู่ในร่องในรอย และชุดที่ 2 นี้จะให้ “รายละเอียด” ของเสียงได้จะแจ้งกว่า เพราะไม่มีการ “กลบ” กันเองด้วยระดับเสียงที่ต่างกัน แถมฟังกังวานเป็นธรรมชาติกว่า

            ความฉับไวของเสียงมีผลต่อความรู้สึกถึงความราบรื่นหรือไม่ของความถี่เสียง

            เสียงที่ตอบสนองเร็วฉับไวกว่าหูฟัง แล้วสมองจะแปลเหมือนกับมันดังกว่าเสียงที่ตอบสนองช้า เฉื่อยชากว่าทั้ง ๆ ที่เมื่อวัดด้วยเครื่องมือจะมี ระดับเสียง เท่ากัน

            กรณีนี้เห็นชัดเช่น เพาเวอร์แอมป์ ที่ค่า SLEW RATE ตํ่า ๆ เสียงจะเฉื่อยจะรู้สึกว่าเปิดเท่าไรเหมือนไม่ดัง หรือลำโพงเสียงแหลมที่ตอบสนองฉับไวมาก ๆ จะรู้สึกว่าเสียงจัดหรือโด่งทั้ง ๆ ที่กราฟการวัดความถี่เสียงในห้องทดสอบแสดงระดับเสียงมิได้โด่งแต่อย่างไร

            บางท่านเข้าใจผิด มีปัญหาบางความถี่เสียงให้กาารตอบสนองฉับไวมากจนลํ้าหน้าช่วงความถี่อื่นและรู้สึกเหมือนมัน “ดังกว่า” (ทั้งๆ ที่ระดับเสียงจริงๆ พอๆ กัน) จึงพยายามแก้โดยการลด ระดับเสียง ที่ช่วงความถี่นั้นลง ผลคือเสียงกลับอับทึบบางขณะ เหมือนราบรื่นบางขณะเหมือนไม่ราบรื่น ไม่อยู่ในร่องในรอย จึงควรจำไว้ว่า ระดับเสียง กับ ความเร็วเสียง มันคนละเรื่องกัน ทดแทนกันไม่ได้

            นั่นคือการพิจารณาแต่กราฟความถี่ตอบสนอง เช่น ของลำโพงในรายงานทดสอบ มิได้มีสาระอะไรเท่าไรเลย ดีที่สุดคือต้องมีรูปคลื่นการสวิงเสียงจาก 0 ไป + มา — ของลำโพงนั่นเมื่อถูกป้อนด้วยคลื่นสี่เหลี่ยม สวิง 1 ลูกแล้วหยุด มาประกอบการพิจารณาด้วย จึงจะพอคาดการณ์ความถี่เสียงได้

            ความเพี้ยน ก็มีผลต่อความรู้สึกของสุ้มเสียง

            เครื่องหรือลำโพงที่เกิดอาการอิ่มตัวมากไปจนพ้นช่วงการทำงานของมัน เช่นถูกขับเกินกำลังจนยอดคลื่นด้วน (คอขาด) คลื่น ความถี่สูงที่หูไม่ได้ยินรั่วเข้าไปกวนทำให้ภาคขยายนั้นอิ่มตัวไปเองล่วงหน้าก่อนที่คลื่นที่หูได้ยินจะได้รับการขยาย ผลคือคลื่นนั้นมืสภาพเหมือนอิ่มตัวไปด้วยเกิดความเพี้ยนขึ้น

            ความเพี้ยนในลักษณะนี้จะก่อให้เกิด “ขยะ” ส่วนเกินถูกสร้างขึ้นมาและแถมออกมากับสัญญาณที่ได้รับการขยาย ขยะนี้คือ กลุ่มของคลื่นความถี่สูงเป็นกี่เท่า ๆ ของ คลื่นเสียงที่ป้อน ถ้าจำนวนเท่าเป็นเลขคี่ เช่นป้อนคลื่นความถี่ 1 KHZ เข้าไปและเกิดการอิ่มตัวจนล้นขอบ ก็จะได้คลื่น 1 KHZ หลักออกมาที่แรงขึ้น บวกกับคลื่นความถี่ส่วนเกินที่ 3 KHZ, 5 KHZ, 7 KHZ ไล่ไปเรื่อย ๆ พวกส่วนเกินเลขคี่เหล่านี้จะทำให้ความถี่ 1 KHZ ที่ออกมา “ฟัง” แล้วแข็งกระด้าง เหมือนถูกเลื่อนไปมาเป็นความถี่แถว ๆ 2 KHZ หรือสูงกว่านั่นคือ อยู่ไม่สุข ทำให้ ผู้ฟังเข้าใจผิดว่าความถี่แถว ๆ 2 KHZ-3 KHZ โด่งขึ้นมาก็จะพยายามหาทางลด แล้วก็จะพบว่า บางขณะ มันกลับขาดแคลนไม่ใช่มากไป (ในขณะที่สัญญาณ 1 KHZ มีระดับลดลงจนไม่เกิดการอิ่มตัว ขยะที่จะมาเติม 2 KHZ-3 KHZ ก็หายไป แด่เราลดช่วงนี้ไว้ ก็เลยเกิดการโหว่)

            ลำโพงเสียงแหลมถูกตัดแบ่งความถี่ให้ทำงานที่ความถี่ตํ่าเกินไป เช่น ผู้ออกแบบจงใจให้มันรับเสียงตั้งแต่ความถี่ 4 KHZ ขึ้นไป มันจะทนไหว ความเพี้ยนจะตํ่ามาก แต่คนเอาไปใช้กลับขืนใจบังคับให้มันทำงานตั้งแต่ความถี่ 2.5 KHZ ขึ้นไป ซึ่งในบทเพลงความถี่เสียงบริเวณนี้จะดังมากมีพลังงานแช่ตลอดเช่นเสียงร้อง ผลคือลำโพงเสียงแหลมรับกำลังขับไม่ไหวทั้ง ๆ ที่เราเร่งวอลลูมเท่าเดิม เทียบกับกรณีตัดที่ 4 KHZ มันก็จะคาย “ขยะความถี่สูงส่วนเกิน” แถมออกมาฟังแล้วจะเหมือนเสียงแหลมโด่งขึ้นมา (แบบแผดไม่ใช่แบบดังธรรมดา) หูก็จะบอกว่ามัน “จัด” และถ้าถึงขนาดลำโพงควบคุมตัวเองไม่ได้จะสั่นค้างไม่หยุดง่าย ๆ เกิดอาการปลายแหลม “สะบัด” (เหมือนใส่เอคโค่ที่ปลายแหลม ไม่ใช่ความกังวานเพราะความกังวานจะมีการจางลง ๆ เป็นลำดับแต่การ สะบัดจะดังซ้อน 1 หรือ 2 ครั้งแล้วตกวูบหายไป)

            พูดถึงการ “สะบัด” เนื่องจากการควบคุมตัวเองไม่ได้ของลำโพง อาการนี้มักไม่ค่อยเกิดที่เสียงกลาง ส่วนเสียงทุ้มมีโอกาสมากที่สุด ถ้าเพาเวอร์แอมป์มีค่า DAMPING FACTOR ตํ่า (ที่ความถี่ตํ่า) มันจะหยุดการสั่นของกรวยลำโพงได้ไม่เด็ดขาดเกิดการสะบัดกระพือตามด้วยการสั่นค้างอันอาจจะ “หลอก” หูผู้ไม่มีประสบการณ์ให้เช้าใจผิด นึกว่าลำโพงนั้นลงเบสได้ลึก (กว่าที่มันควรจะเป็น) เพราะการสั่นกระพือของลำโพง เสียงทุ้มมักให้ “ขยะ” ในรูปความถี่ส่วนเกินที่ “ต่ำ” กว่าความถี่จริงที่ป้อน แทนที่จะ “สูง” กว่าความถี่จริงอย่างกรณีลำโพงเสียงแหลม วิธีที่จะแยกให้ออกคือ ให้จับหางเสียงของเบสว่าเราสามารถจับจุดจบของหางเบสได้ไหมว่าจบเมื่อไรตรงไหนหรือว่ามันจางลงแล้วฟุ้งหายไป ถ้าเป็นกรณีหาจุดจบไม่พบแสดงว่าเบสที่นึกว่าลึกนั้นคือ “ขยะ” ส่วนเกินนั้นเอง

            จากการ “สะบัด” นำไปสู่การ “ก้อง” แอมป์ที่หยุดลำโพงได้แย่มาก ๆ เอะอะก็ควบคุมลำโพงไม่อยู่ปล่อยให้เกิดคลื่นวิ่งวน ระหว่างลำโพงกับแอมป์ไม่จางหายไปง่าย ๆ (ด้วยการดูดซับของภาคขาออกของแอมป์) ก็จะทำให้เกิดเสียงก้องอู้ขึ้น มักเป็นที่กลางตํ่า ทำให้บางคนเช้าใจผิด พยายามลดระดับ เสียงที่ช่วงความถี่นี้ (ด้วย EQ หรือการตัดแบ่งเสียงที่วงจรแบ่งเสียงของลำโพงหรืออีเล็คโทรนิคส์ครอสโอเวอร์) ผลคือ ความไม่อยู่ในร่องในรอย บางครั้งเหมือนเสียงอิ่ม มีเนี้อ บางทีเสียงเหมือนเจือจาง แห้ง หลายคนหลงไปถึงกับนึกว่าเป็นการก้องของห้อง ของตู้ลำโพง (การก้องของตู้ลำโพงก็จะมีอาการเหมือนกัน)

            วิธีแยกให้ออกว่าเป็นการก้องแบบใด คือถ้าก้องจากห้องและตู้ลำโพงการก้องนั้นควรจะกินตํ่าลงมาถึงเบสด้วยมิใช่แค่กลางตํ่าอย่างเดียว

            จากการก้องก็มาสู่การ “แผดจ้า” การที่สายสัญญาณต่างเส้นแตะต้องกัน เช่น ซ้ายสัมผัสกับขวา สายลำโพงสัมผัสกับสายไฟ D/C ที่เข้าเครื่อง (แม้จะสัมผัสนิดเดียว) ผลคือ เสียงแถว ๆ 1 KHZ-2 KHZ จะแผดขึ้น มาเป็นบางขณะและอาจถึงกับพร่าบางครั้ง คือมันเหมือนจ้าขึ้นมาคล้าย ๆ มีใครเอาสปอร์ตไลท์สาดเข้าตาเราบางครั้งสังเกตได้ว่ายิ่งเสียงดังอาการนี้ยิ่งเด่นชัด ถ้าเป็นอย่างนี้ก็มาจากสาเหตุนี้ ไม่ใช่ว่าความถี่เสียงโด่งในช่วงนั้น จุดสังเกตอีกอย่างคือ ที่ว่าแผดจ้านั้นต่างจากดังโด่ง แผดจ้าคือดังโพล่งขึ้นมาและอิ่มตัวติดที่ระดับเสียงอันหนึ่งเหมือนใครสักคนยื่นหน้ามาหาเราแล้วมาชนกับกระจกใสที่กั้นระหว่างเรากับเขา จมูก, ริมฝีปากที่ปกติสูงตํ่ากว่ากันก็กลับแบนราบในระนาบเดียวกันคือระนาบของกระจกใสนั้นแต่ถ้าดังแบบโด่ง จะดังโพล่งโดยมีระดับ ต่างกัน (จมูกกับริมฝีปากพุ่งมาหาเราโดยรักษาระยะสูงตํ่าต่อกันและกันเหมือนเดิมเหมือนไม่มีกระจกมากั้น)

            กรณีที่ไฟตก เช่นตามชนบท, ต่างจังหวัด, ชานเมือง หรือบริเวณที่มีการใช้ไฟมาก ๆ แบตเสื่อม ไดชาร์จเสื่อม ระบบไฟมีการรั่วไหลไฟตก

            เสียงที่ออกมาจะเน้นไปทางเสียงกลางโดยกินบริเวณเป็นช่วงกว้างตั้งแต่ 500 HZ ถึง 6 KHZ คือเหมือนความถี่กลางสูงขึ้นไป ความถี่กลางตํ่าลงมามีระดับตกลงมา บางท่านไม่เข้าใจก็หา EQ มาช่วยยกเสียง หรือยกทุ้ม, แหลม ที่เครื่อง ถึงแม้อาจทำให้ แหลม, ทุ้มมีระดับสูงขึ้น แต่ทุ้มก็จะออกมาแบบด้าน ๆ แบน ๆ แหลมออกมาอย่างทึบ ๆ ด้านไม่ใสไม่มีประกายพริ้ว

            จะทราบว่าเกิดจากปัญหาระบบไฟ มิใช่ปัญหาของความถี่เสียงก็โดยการพิจารณา จากการแยกมิติเสียงว่าวงมีความตื้นลึกไหม ดนตรีแต่ละชิ้นในวงเป็นอย่างไร ถ้าวงแบนเป็นจอภาพยนตร์ไม่มีลำดับตื้นลึก ชิ้นดนตรีวอกแวกไม่อยู่นิ่ง ฟุ้งเลอะ ไม่มี ทรวดทรงนูนเป็น 3 มิติไม่มีการยิงเสียงยื่น เข้า-ออก ก็แสดงว่าเกิดจากระบบไฟไม่พอนั่นเอง

            อีกกรณีหนึ่ง ที่ให้ผลคล้ายกันคือ เสียงแบนมีระดับเสียงราบรื่นตลอดเหมือนกราฟขีดด้วยไม้บรรทัดตั้งแต่ตํ่าถึงสูง (ตํ่าจากกรณีที่แล้วที่ตํ่ากับสูงจะตก) ใครอาจหลงเข้าใจผิดชมเชยว่า เสียงราบรื่นดีแท้ แต่จริง ๆแล้วมันราบรื่นเพราะทุกความถี่ เสียงถูกกดการสวิงระดับเสียงไว้ไม่ให้ใครโดดเด่นกว่าใคร กระหึ่มไม่ขึ้นดูเสมอกัน หมด ที่สำคัญคือวงทั้งหมดแบน “ติดจอ” อาการนี้เกิดจากการใช้สายสัญญาณลูกผสม เช่นจากวิทยุ-เทปไป EQ ใช้สายยี่ห้อ A จาก EQ ไปเพาเวอร์แอมป์ใช้สายสัญญาณ ยี่ห้อ B บางทีสาย A แพงกว่า B 5 เท่าพอเป็นลูกผสมกลับสู้ B + Bไม่ได้ มีเหมือนกันที่การใช้สายลูกผสม 2 ชุด 2 บุคคลิกแทนที่จะเป็นบุคลิกที่ 3 กลับเป็นบุคคลิกผลุบ โผล่ บางขณะเป็นบุคลิกของสาย A บางขณะเป็นสาย B บ่อย ๆ ที่ออกมา 2 บุคลิก พร้อม ๆ กัน ความถี่เสียงจะออกมาแบบภาพเชิงซ้อน แก้ไขอะไรไม่ได้เลยนอกจากเลิกการเป็นลูกผสมต้องรุ่นเดียวกันด้วย

            สุดท้าย เสียงแบน ความถี่ตอบสนองเรียบแบบนี้อาจเกิดจากการย้อนศรในเรื่องทิศทางของการเดินสายสัญญาณ สายลำโพง เช่นสายลำโพงยี่ห้อ MONITOR PC ต้องเรียงยี่ห้อสายไล่จากแอมป์ไปลำโพง คือตัว M อยู่ด้านแอมป์ (ทั้งซ้ายและขวา) แต่ถ้าเรียงย้อนเอาตัว M ไปอยู่ด้านลำโพง เสียงทั้งหมดก็จะแบนหมด ใครไม่เข้าใจจะหลงไปยกเสียงแหลมเสียงทุ้มยกใหญ่ เสียงจะออกมาแบบแกน ๆ ไร้วิญญาณ      

            อย่างไรก็ตาม สายบางยี่ห้อก็อาจต้องเรียงตรงข้ามกัน ต้องทดลองดูเอาเอง  

            เสียงกลวงเสียงโบ๋ มี 2 อาการ 2 สาเหตุ

            ข้อแรก เบสโบ๋กลวง เจือจาง ยิ่งเร่ง เบสยิ่งแย่ ไม่มีผลอะไร กลางและแหลม กังวานเด่น เกิดจากสายลำโพงซ้ายกับขวา ต่อกลับเฟสกันคือ ขั้วบวกของแอมป์ซีกซ้าย ไปเข้าขั้วบวกของลำโพงซ้าย แต่ขั้วบวกของแอมป๋ซีกขวากลับไปเข้าขั้วลบของลำโพงซีกขวา กรวยลำโพงเบสซ้ายกับขวาจึงขยับสวนทิศกัน แรงอัดอากาศหักล้างกันเองโดยเฉพาะที่เบส

            ปัญหานี้พิสูจน์ได้โดยป้อนด้วยเสียงโมโน (FM โมโน) เร่งเบสสักหน่อยสังเกตว่า เสียงจะดังเด่นอยู่ด้านหนึ่ง อีกด้านมัวทั้ง ๆ ที่บาลานฑ์ซ้าย, ขวาอยู่ตรงกลาง (พยายาม บาลานซ์แก้ก็แก้ไม่ได้) ครั้นปัอนด้วยเสียงสเตอริโอก็ปรากฎว่าอะไรก็ตามที่อยู่ตำแหน่งกลางระหว่างลำโพงซ้ายกับขวาจะพร่ามัวไปหมด นักร้องฟังหาขอบเขตไม่ได้ ถ้าเกิดเหตุการณ์อย่างนี้ก็ทราบได้เลยว่าเป็นเรื่องของเฟสกลับกันไม่ใช่เสียงเบสไม่ดี

            เรื่องผลของการกลับเฟสไม่ใช่เกิดเฉพาะระหว่างซ้ายกับขวา มีสิทธิ์ที่จะเกิดระหว่างตัวลำโพงเสียงทุ้มตัวลำโพงเสียงกลาง, ตัวลำโพงเสียงแหลมตัวหนึ่งขยับดันอากาศสวนทิศกับตัวอื่น เช่นลำโพงแยกชิ้น 2 ทางยี่ห้อหนึ่งถ้าต่อตามคำแนะนำของบริษัทคือ แต้มแดงที่ขั้วต่อสายลำโพงถ้าเหมาว่าเป็นบวกเหมือนกันทั้งตัวเสียงแหลมและตัวกลาง/ทุ้ม เอาแต้มแดงของแหลมเข้าบวกแอมป์ เอาแต้มแดงของทุ้ม/กลางเข้าบวกแอมป์ จะพบว่าเสียงกลางสูงโด่งแจ๋น จะหลงไปแก้โดยการลดที่ EQ ซึ่งไม่ได้ผล เพราะการแจ๋นนั้นเกิดจากการที่บริษัทแต้มสีแดงที่ตัวเสียงทุ้ม/กลางผิดมา (กลับกัน) เกิดการกลับเฟสครั้นกลับ+,— ที่ตัวกลาง/ทุ้ม (หรือตัวแหลมเลือกเอาอย่างหนึ่งแต่ซ้าย,ขวา ต้องทำเหมือนกัน) ปรากฏว่าอาการแจ๋นหายไป กลับฟังกลมกล่อมขึ้นจะพิสูจน์ว่า เราคิดถูกหรือไม่ โดยสังเกตว่าพอกลับแล้วถ้าชิ้นดนตรีมีทรวดทรงเป็นกลุ่มก้อน 3 มิติขึ้นมีการยิงเข้า-ออกของเสียง การแผดจ้าหายไปก็แสดงว่าเราคิดถูก ลำโพงบ้านเองยี่ห้อดัง ๆ ก็เคยพบว่าต่อผิด มีอยู่ยี่ห้อหนึ่งลำโพง 1 คู่ บรรจุอยู่ในกล่องเดียวกัน 1 ใบ ปรากฏว่าเวลาใช้งานทางโรงงานต่อตัวเสียงทุ้มซ้าย-ขวากลับเฟสกัน นั่นขนาดของอเมริกายี่ห้อเก่าแก่ แม้แต่ ลำโพงรถยนต์ 6x9 2 ทางก็เคยพบว่าตัว 6x9 กับตัวแหลมตรงกลางต่อกลับเฟสกัน

            สาเหตุกลางตํ่าหายข้อ 2 คือสายไม่ได้รับการหุ้มป้องกันที่ดีพอ ในรถเมื่อเราหุ้มสายต่าง ๆ (หุ้มแยกซ้าย-ขวา) สายแบต สายลำโพงด้วยผ้าห่มกันร้อน เราพบว่าความแจ๋น กระด้างลดลง เสียงอิ่มผ่อนคลายราบรื่นขึ้น เป็นตัวตนดีขึ้น มีลำดับขั้นตื้น-ลึกเป็นลำดับ ในกรณีของเครื่องบ้านเมื่อเราจัดสายไฟ AC ของแต่ละเครื่องให้อยู่เป็นที่ เป็นทางไม่แตะต้องกัน (ถ้าจำต้องใกล้กันก็ให้เดินตัดตั้งฉากกันอย่าขนานกัน) ยิ่งห่างกันมากเท่าไหร่ยิ่งดี ไม่ใช่เดินระเกะระกะ เป็นตาข่าย, แห ถ้าจัดระเบียบได้ เสียงกลางตํ่าจะมีเนื้อหนัง มีนํ้าหนักรูปทรงขึ้นทันที

            สิ่งแวดล้อม ถ้ามีเสียงเครื่องยนต์, เสียงลม, เสียงยางล้อบดถนน เสียงลมแอร์กวนเข้ามาจะทำให้เสียงทั้งหมดคลุมเครือขึ้น กลางสูงขึ้นไปเหมือนตกลงมา เบสไม่เป็นตัวตนจนเหมือนเจือจางหายไป ความกังวาน และประกายถูกบดบัง รายละเอียดหยุมหยิมหาย ดังนั้นจะเห็นว่าจอดรถอยู่กับที่ ดับเครื่องยนต์, แอร์, ความถี่ตอบสนองก็จะเป็นอย่างหนึ่ง เวลาสตาร์ทเปิดแอร์ เวลาวิ่งจริง ๆ ก็จะเป็นอีกอย่างหนึ่ง ยิ่งชุดเครื่องเสียงที่ปกติเสียงอับทึบ, เฉื่อย, คราง อาการนี้จะเลวร้ายลงมากจนต้องมีการแต่งเสียง, เร่งเสียงช่วย แต่พอรถวิ่งช้าลงหรือจอดจะดังเกินไป และจัดจ้านจนต้องหรี่ลง ผู้ที่ตีทะลุปัญหานี้แตกจึงมักหาเครื่อง, ลำโพง, แอมป์, สายสัญญาณ, สายลำโพงที่เสียงกังวานพริ้วให้มากที่สุดไว้ก่อน และตอบสนองฉับไวมีประกายระยิบระยับ เก็บเบสได้กระชับเร็ว การแยกมิติดีมาก ๆ ไว้ก่อนเพื่อชดเชยการมัวขึ้นเมื่อออกรถ และถ้าจะให้ดีก็หาทาง ลดเสียงกวนต่าง ๆ ลงด้วย เช่นใช้วัสดุเก็บเสียงบุที่ห้องเครื่อง ฟองนํ้าเก็บเสียง SONEX บุภายในรถ บุเพดานบ้องกันความร้อนจะได้ไม่ต้องเร่งแอร์มาก (เสียงดัง) พรมปูพื้นรถ 2 ชั้นกันเสียง

            เสียงทึบหนืด ๆ ไม่ปราดเปรียวเข้ม ข้นเท่าที่ควร การลดอัตราการขยายหรือระดับสัญญาณขาเข้าของเพาเวอร์แอมป์เอาไว้มากเกินไป (ตํ่ากว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ของการเร่งสุด) ทำให้ต้องเร่งที่วิทยุ-เทป หรือตัวแบ่งเสียงอีเล็คโทรนิคส์มากเกินปกติ จะทำให้เสียงออกมาขุ่น, หนา บวม ๆ ไม่โปร่งใส ประกายไม่มีเบสอ้วนแบบฉุ ๆ ความตื้น-ลึกของวงเสียเสียงไม่ค่อยฉีดลอย แผ่ออกมา ร้านติดตั้งที่มือไม่ถึงเวลาพบปัญหาเสียงรบกวนมักแก้ง่าย ๆ โดยทำแบบนี้ บางทีหรี่ที่แอมป์เหลือแค่ครึ่งเดียว กำลังแอมป์ก็ตกลงมาก ต้องเร่งวอลลูมที่วิทยุมาก ๆ เร่งน้อยก็ไม่ไพเราะ ไม่ออก เร่งมากเกินไป ก็อื้ออึงสับสน เมื่อแก้ปัญหาผิด ๆ แล้วก็ถือโอกาสแนะนำให้เพิ่มลำโพงหน้าเพื่อดึงไม่ให้เสียงจม เพื่อเอาแหลม, กลางจ้านๆ ของคู่หน้ามาช่วยความทึบคู่หลง (แต่จะไม่มีวันทำให้เสียงกลมกลืนหน้าหลังเป็นเนื้อเดียวกันได้เลยไม่ว่าจะกลับเฟส, เฟดเดอร์อย่างไร) หรืออาจให้เพิ่ม EQ ยกช่วยไม่ได้หรอก อย่าง 'เก่งได้กลางสูง, สูงที่โฉ่งฉ่างเจี้ยวจ้าวขึ้นเบสตูมขึ้นแต่ทั้งหมดยัง “ทึบ, ด้าน” เหมือนเดิม

            อีกกรณีที่ให้ปัญหาเสียงแบบเดียวกันคือการที่หัวเทปคลาดเคลื่อนร่องหัวไม่ตรงกับร่องผงเทปบนสายเทป จะทำให้ปลายแหลมตก เสียงอับทึบแก้ด้วยการแต่งเสียง ช่วยไม่ได้เช่นกัน

            กรณีสุดท้ายเรื่องแง่คิดการฟัง “สุ้มเสียง” คือเสียงจาก CD ในยุคแรก ๆ เครื่องเล่น CD ให้เสียงที่กัดหู บาดหู ปลายแหลมคมกริบ กลางสูงจัดจ้าน เบสกระด้างห้วน หางเสียงทั้งหมดไม่มี เครื่องเล่น CD ถูก ๆ ในปัจจุบันเช่นพวกวิทยุเทปกระเปัาหิ้วที่มี CD พร้อมเสร็จระดับ 5-7 พันบาท, CD วอล์คแมนระดับ 4-5 พันบาท วิทยุ-CD ติดรถมีแอมป์ (25 Wx2) ในตัวระดับ 7-8 พันบาท (เสียงแย่กว่า FM และเทปเสียอีก) พวกนี้ยังวนอยู่กับเสียงแบบนี้

            ใครฟังแล้วอาจคิดว่าจะแก้ได้โดยการใช้ EQ ช่วยแต่งเสียงสาเหตุที่เรา รู้สึก ว่า เสียงเป็นอย่างนั้นไม่ใช่เป็นเพราะความถี่ เสียงมันไม่ราบรื่น เข้าห้องทดสอบวัดกี่ทีมันก็ราบรื่นตลอดอย่างน้อย 50 HZ ถึง 20 KHZ แต่หูกับฟังเหมือนกลางสูง, สูงปลาย ๆ โด่งขึ้นมาได้! เป็นเพราะมีคลื่นความถี่สูงเกินกว่าหูได้ยินรั่วออกมาจากระบบกรองดิจิตอลที่กรองไม่หมดเชื่อกันว่า คลื่นนี้จะไปทำให้ภาคขยายเสียงต่อ ๆ มาเกิดการอิ่มตัวแบบถูกขับเกินกำลังและภาคขยายส่ง “ขยะ” ความถี่สูงแถมออกมา (เหมือนกรณีตอนต้น ๆ ที่กล่าวแล้ว) ให้มีอาการระคายหูดังกล่าว             บางยี่ห้อที่เป็น CD ถูก ๆ แก้โดยการลดโทนเสียงลงคือชะลอความเร็วของ “เสียง” ลง (เสียงยานขึ้น) เล็กน้อยทำให้ความถี่เสียงทั้งหมดเลื่อนกินตํ่าลงมาเล็กน้อย และอาการระคายหูลดลง แต่เสียงทั้งหมดก็เฉื่อย, ขึ้เกียจ ขาดไคลแมกซ์ฟังนาน ๆ อึดอัด เสียงเพลงดิสโก้เหมือนเล่นกันใต้นํ้า หนืดไปหมด นักร้องเสียงยานแบบเพิ่งตื่นนอน ผู้ขายพยายามหาเพลงที่เสียงเจี้ยวจ้าวหน่อยมาเปิดกลบเกลื่อนแต่คนฟังเป็นจะฟังออก ระวังกันไว้บ้างก็แล้วกัน

            ที่พูดมาทั้งหมดคือเทคนิคการฟัง “สุ้มเสียง” อย่างเดียว ยังไม่ได้พูดถึงการจับ “มิติ” ของเสียงซึ่งการฟังที่ถูกต้องจะต้องคำนึงถึงทั้ง 2 แง่นี้เมื่อได้ครบจะช่วยเพิ่มรสชาดการฟังให้คุณได้เข้าถึงจิตวิญญาณของผู้เล่น, ผู้ร้อง, ผู้ประพันธ์ ได้อย่างทะลุปรุโปร่งที่สุด

            กรณีที่เป็นเครื่องเล่น CD โดยเฉพาะ CD ในรถ ระบบกันสะเทือนของตัว CD เองจะมีผลต่อ “สุ้มเสียง” การสั่นสะเทือนจะทำลายความเป็นตัวตนของเสียงกลางตํ่าลง มาหาทุ้มทำให้ฟังมัวลงขณะที่อาการมัวลงของเสียงกลางสูงไล่ไปถึงสูงจะมีผลน้อยกว่า หูจึงรู้สึกเหมือนเสียงบางลง กลางสูงและสูงโดดออกมาเหมือนโต่งขึ้นแล้วเราก็หลงมัวสาระวนกับการยกกลางต่ำและเบสกันใหญ่ ยกมาก ๆ แรงอัดเบสยิ่งไปเขย่ากล่อง CD ปัญหานี้ก็ยิ่งหนักหนาขึ้นไปอีก พอชะลอความเร็วลงหรือหยุดรถ กลางต่ำและเบสก็เป็นตัวคนขึ้นที่ยกเผึ่อเอาไว้ก็เลยมากไป เสียงก็ออกมาหนาเป็นก้อนฟังแล้วน่ารำคาญ

            ทางแก้คือพยายามอย่าอัดเบสมากนัก อย่าโหลดเตี้ยให้รถมันสะเทือนเกินไป หาสายสัญญาณ, สายลำโพง, ลำโพง, แอมป์, เครื่องที่เสียงที่ฉับไวกระจ่างจะได้ฟังชัด โดยไม่ต้องเร่งดัง ๆ เพื่อหนีเสียงกวนหรือให้เสียงวิ่งมาทิ่มหูมาก ๆ

            ปัจจุบันยอมรับกันแล้วว่าการสร้างมิติเสียงเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการสร้างผลงานด้านเพลงนอกไปจากสุ้มเสียงและตัวเพลงเอง สามารถใช้มันถ่ายทอด นำเสนอเรื่องราวได้เช่นกัน

            การแยกมิติเสียงหมายถึงเราต้องสามารถฟังแล้วจับได้ว่าดนตรีแต่ละชิ้นอยู่ ตรงไหนบ้างในวง อยู่ซ้ายสุด ซ้าย ซ้ายมาทางกลาง กลาง ขวามาทางกลาง ขวา และ ขวาสุด ไม่ใช่มีซ้าย มีขวา แต่ไม่มีกลาง หรือมี 3 จุด ซ้ายกลางและขวา ระหว่างซ้ายกับกลางมัว ระหว่างขวากับกลางมัว ขณะเดียวกันแต่ละตำแหน่งนั้นก็ต้องมีระยะห่างไกลใกล้จากตัวเรา มีลึกเข้าไป หลังวงมากบ้าง น้อยบ้าง บ้างชิ้นลอยมาอยู่หน้าเรา บ้างชิ้นอยู่ลึกสุดหลังวงไม่ใช่ทุกชิ้นเรียงเป็นแถวหน้ากระดานเรียงหนึ่งแถวเดียว จากซ้ายไปขวา หรือมี 2 แถว หน้าสุดแถวหนึ่ง หลังวงอีกแถว อย่างนี้ใช่ไม่ได้ ต้องเกลี่ยตำแหน่งตรงโน้นตรงนี้ไปทั่ว ๆ วง และต้องมีช่องว่างระหว่างแต่ละตำแหน่งไม่ใช่

เกลี่ยทั่งวงจริงแต่ดนตรีแต่ละชิ้นบวมฟังเป็นเงาบาง ๆ เกยกันเหมือนหยดสีลงไปบนกระดาษเปียกชิ้นนั่นแหละ

เครื่องเสียงดี ๆ จะให้การแยกหรือความกว้างของวงโค้งโอบมาถึงซีกซ้ายซีกขวาของเราได้ในบางขณะ เหมือนกับเรานั่งลํ้าเข้าไปในวง ขณะที่ชุดที่ด้อยกว่าจะให้ได้แค่ซ้ายไปขวาเลยหน้าเราออกไปไม่มีการโอบ เหมือนนั่งอยู่แค่แถวที่ 3 หน้าวง

            นอกจากตำแหน่งชิ้นดนตรีในแนวราบแล้ว กับเพลงบางประเภทเครื่องเสียงดี ๆ จะให้ความรู้สึกว่าเสียงมีการลอยสูง-ตํ่าได้บางขณะเช่นเสียงฟ้าร้องปรากฏอยู่เหนือเพดานห้อง เสียงฝนตกปรากฏอยู่ที่พื้นห้อง เดี๋ยวนี้บันทึกเก่งกันถึงขนาดทำให้เสียงวิ่งจากไกลลิบด้านหน้าเราวิ่งตรงมาหาเราผ่านตัวเราไปออกด้านหลังของเราหรือให้เสียงปรากฏเหมือนมาจากด้านหลังเรา ชุดดี ๆ จะให้ปรากฏการณ์นี้ได้ แต่ชุดพื้น ๆ จะให้การแยกแค่ด้านหน้าและในแนวราบอย่างเดียว

           

ความสูง-ตํ่าต้องหมายถึง “บางขณะ” ไม่ใช่ทั้งวง สูงลอยเท้าไม่ติดดินหรือทั่งวงเหมือนคุกเข่าเล่น, ร้อง

            การแยก

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459