000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > รายงานบททดสอบ > เครื่องเสียงบ้าน > MISSION VX-1 : อนาถาไฮเอนด์จิ๋ว
วันที่ : 20/02/2017
14,990 views

MISSION VX-1 : อนาถาไฮเอนด์จิ๋ว
โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ผมมีโอกาสทดสอบลำโพง Mission VX มา 2 รุ่นแล้ว คือ VX-2, VX-3 เรียนตามตรงว่า หลังจากผมจัดอะไรนิดหน่อยให้กับทั้ง VX- 2 และ VX-3 แล้ว พูดได้ว่า ทั้งสองให้เสียงและมิติ ดีแบบเกินคาดมากๆ ยิ่งกับสนนราคาอย่างนั้น ยิ่งสุดเกินคุ้มเหลือหลาย

                ด้วยเหตุนี้ทำให้ผมอยากลองรุ่นเล็กสุดไปเลย คือ VX-1 ว่ามันจะยังดีอยู่ไหม

                ข้อสอง VX-1 โดยพื้นฐานเหมือน VX-2 ทุกอย่าง แต่ดอกลำโพงกลางทุ้มเล็กกว่า จากประมาณ 6 นิ้ว มาเป็น 5 นิ้ว เทียบกัน VX-1 กับ VX-2 จะได้อะไร และเสียอะไร

                VX-1 เป็นลำโพง 2 ทางวางหิ้งตู้เปิด มีรูระบายอากาศกลมอยู่ด้านหลัง ดอกลำโพงเสียงแหลมเป็นโดมผ้าไหมขนาดประมาณ 1 นิ้ว ดอกลำโพงกลางทุ้มกรวยกระดาษเว้าเข้าขอบยาง ขั้วรับสายลำโพงด้านหลังแบบซิงเกิล biding post ดอกลำโพงเสียงแหลมจะอยู่ด้านล่าง สลับกับชาวบ้าน

                ดอกแหลมจะฝังอยู่ในหลุมไม้ ไม่เข้าใจเหตุผลว่าทำไม Mission ต้องทำอะไรให้ยุ่งยากอย่างนั้น ทั้งๆ ที่หลังดอกแหลมเองก็ปิดทึบหมด เป็นไปได้ไหมว่า การมีหลุมไม้มาปิดจะช่วยลด การกวนจากสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กลำโพงกลางทุ้มได้ไม่มากก็น้อยระดับหนึ่ง อาจเป็นเหตุผลที่ลำโพง VX น่าตงทุกรุ่น

                อย่างไรก็ตาม การทำเป็นหลุมไม้แล้วสวมดอกแหลมลงไป มีโอกาสที่ตูดดอกแหลมจะไปสัมผัส กด สายลำโพงที่เข้าดอกแหลมได้ เสียงจะแบน, แห้ง, ด้าน (ผมพบมาแล้วกับ VX-2 และ VX-3) จนต้องแก้ โดยการดึงสายลำโพงที่เข้าดอกแหลมจากภายในตู้ (ล้วงดึงทางช่องใส่ดอกกลางทุ้ม) ดึงจนสายนั้นสั้นที่สุด จนไม่มีโอกาสพับตัวเองและไปแตะต้องตูดแม่เหล็ก ช่องสอดสายเขาอุดด้วย “ยางอุด” (ที่ภาษาข้างเรียก “ขี้หมา” ซึ่งเหนียว ไม่แห้งตัว เราดึงสายผ่านได้)

                นอกจากนั้น ผมพยายามแยกสายลำโพงที่ไปดอกแหลม กับ ที่ไปดอกกลางทุ้ม ไม่ให้แตะต้องกัน หรือหักงอแตะต้องตัวเองและตูดแม่เหล็กดอกกลางทุ้ม

 

สเปคจากโรงงาน

ระบบลำโพง                                        ทางตู้เปิด, วางหิ้ง
กันสนามแม่เหล็กกวนจอ                     ไม่มี
ความไว                                            84 dB/W/m
แนะนำให้ใข้กับภาคขยาย                    15-35 W
รับกำลังขับได้สูงสุด                              40 W
ให้ระดับเสียงสูงสุด                               96 dB
ความต้านทาน                                       6 โอห์ม (ต่ำสุด 4.3 โอห์ม)
ความถี่ตอบสนอง                                      75 Hz-20 kHz (+/- 3 dB)
ทุ้มตํ่าสุด                                                66 kHz (-6 dB)
จุดแบ่งความที่                                       2.2 kHz
ปริมาตรตู้                                               4 ลิตร
ขนาดตู้ (มม.)                                        199 (ก) x 160 (ล) x 252 (ส/รวมขารอง)
นั้าหนักสุทธิ                                           3 กก./ตู้

ผลการทดสอบ

                จากเครื่องเล่นบลู - เรย์ OPPO BDP-105 (ปรับปรุงภาคจ่ายไฟโดย Perfect Power) ออกสายเสียง Madrigal CZ-GEL 2 (บาลานซ์) เข้าช่อง B1 (บาลานซ์ ของอินทีเกรทแอมป์ Mark Levinson No.383 (100 Wrms/ch ที่ 8 โอห์ม/200 WRMS/ch ที่ 4 โอห์ม) ออกสายลำโพง FURUKAWA S-2 (ตามทิศ) หัว  WRT หางปลาด้านแอมป์, บานานาด้านลำโพง VX-1 วางขาทั้ง Target 24 HJ เอาหน้ากากออก เอียง (toe-in) ให้ใต้ทั้งเสียงครบ โฟกัส รูปทรง 3D ที่สุด

                ยกสายลำโพงสูงหนีพื้นห้องด้วยทั้งกระดาษพิมพ์ดีด (ใหม่) สูง 1 คืบ และทับบนสายอีก 1 คืบ

                สายไฟ Nordos รุ่นเล็กสุดเข้า No.383, สายไฟ Chord เข้า จอ LCT TV Toshiba full HD 24 นิ้ว, (สายภาพ Monster HDMI HD 2000/ย้อนทิศ), สายไฟ AC จาก No. 383 ยกมาให้ OPPO 105 สายไฟทั้งหมดต่อผ่านตัวกรองไฟ PHD Power Station (ตรวจเฟสไฟออกให้กับทุกเครื่องที่นำไฟไปใช้) สายไฟ AC ขาเข้า PHD เป็น FURUKAWA CB-10 แยกอิสระ 3 เส้น (ทิศถูกต้องทุกเส้น) แยกๆ กันไป แผงไฟเข้าห้องเสียงอีก 3 หัว (ทิศทางเฟสไฟถูกต้อง)

                บน 0PP0 มีผลึกแร่ต่างๆ ทั้งโครงพีระมิดจากควอตซ์ (ของ เยอรมัน), แผ่นแบนอาเกด, ลูกกลมออบซีเดียน, แท่งออบซีเดียน แท่งควอตซ์ 3 แท่ง พุ่มอะมิทิสขนาด 2 ฝ่ามือ (อีกก้อน 5 ฝ่ามือ วางนอกเครื่องห่างไปทางซ้ายครึ่งเมตรกว่าๆ) ใต้ OPPO มีแท่น รองลด/กันสะเทือน Tombo PSC-01 บวกกับขารองรุ่น Magic Spike มีก้อนทัวมาลีนวางใกล้บรรดาสายไฟ AC ก่อนเข้าเครื่อง 5 ก้อนในห้อง, พื้นอีก 1, ที่เต้าเสียบตัวเมีย (AC) ที่กำแพงอีก 1 เต้าเสียบ Monitor Acoustics รุ่นสีเทา พร้อมฝาปิด รุ่นแพงสุด ที่สายไฟ CB-10 เสียบอยู่ (มาเข้า PHD)

                ไม่มีรีโมทอื่นใดในห้อง (แม้แต่รีโมทแอร์) นอกจากของ OPPO ไม่มี PC/โน้ตบุ๊ก, มือถือ, VDO เกมส์, นาฬิกาไฟพ้า (ข้อมือ), โทรศัพท์ไร้สายบ้าน, WlFl/LAN (รั่วจากภายนอก 6 จุด), ปัดลม แอร์ตกหลังลำโพง (25 องศาเซลเซียส, พัดลม Low), ลำโพงซ้ายขวาห่างกัน 2 เมตร ห้องฟัง 3.85 X 9 X 2.5 เมตร ผนังทั้ง 4 ด้านมีฟองน้ำเก็บเสียง SONEX (สีขาว, จากเยอรมัน) พื้นปูพรม ของเยอะพอควรในห้อง (หนังสือ, แผ่น) นั่งฟังห่างจากลำโพง 3.6 เมตร ถือว่าค่อนข้างโหดสำหรับลำโพงที่ดอกกลางทุ้มแค่ 5 นิ้ว อย่าง VX-1

                        มีตัวอย่างผลึก 12 เม็ดจิ๋วของ Judy Halls (มาพร้อมหนังสือ) วางในห้อง 5 กล่อง (กลางห้อง 1, หลังที่นั่งฟัง 4 กล่อง)

กล่องกรองไฟ PHD Power station มีการทำระบบระบายกระแส Eddy ด้วย

ผลการทดสอบ

                ผมเปิดเพลงเบิร์นอิน VX-1 (แกะกล่องใหม่เอี่ยม) อยู่ประมาณ 30 ชั่วโมง จึงถือว่าน่าจะเพียงพอแล้วสำหรับดอกสำโพงกลางทุ้ม แค่ 5 นิ้ว และไม่มีอาการตึงตัวมากมายนัก และก็ปรากฎว่า เสียงก็น่าจะหลุดลอยออกมาเต็มที่ (ได้แค่นั้น) แล้ว

                        ขอเตือนเลยว่า องศาของการเอียงลำโพงเข้าหาเรา (toe-in) มีผลค่อนข้างมากต่อทั้งโฟกัสเสียง ทุ้มเสียง เวทีเสียง (สูง-ตํ่า) ควรอย่างยิ่งที่จะต้องยอมเสียเวลาค่อยๆ จูนที่ตรงนี้

                        การเปิดดัง-ค่อย มีผลไม่เบา ถ้าเร่งจนเสียงคับห้อง เสียงทั้งหมดจะเริ่มตื้อ, กอดกัน (แต่ก็ต้องเร่งดังจนน่ารำคาญแล้ว)

                        การที่ 0PP0 ปรับดัง-ค่อยได้ที่รีโมท และอินทีเกรท No.383 ก็ปรับโวลลุ่มได้ การปรับโวลลุ่มทั้ง 2 ควรสัมพันธ์บาลานซ์กันให้ดีๆ กับ VX-1 เวลานั่งฟังเพลง (CD) ผมปรับที่ No.383 (47.1), ที่ รีโมท 0PP0 ที่ 73-78 เวลาดูหนังปรับที่ No.383 (52.1), ที่รีโมท 0PP0 (85-98) ฟัง CD ผมใช้แผ่นที่อ้างอิงประจำ ได้แก่

  1. แผ่นระนาดเอก (ไทลำภู)
  2. Rhythm Basket,  A Tasket,  A Tisket,  A Child's ของ Brent Lewis
  3. The Greatest Alto Female Vol. 1 (Top  Music)
  4. Wood ของ Briant Bromberg

                โดยรวมๆ VX-1 ให้เสียงออกไปทางไม่สดมากนัก ไม่ถึงกับมีประกายระยิบระยับ (เพลง 5 แผ่น 3) แต่ปลายแหลมก็มีลมหายใจ ตัว,โน้ตดี (เพลง 5 แผ่น 3) รวมทั้งแผ่น 2 ที่โชว์รายละเอียด ความสะอาดของแหลมและปลายแหลมได้ดีเกินคาดจากลำโพงราคาประหยัดมากขนาดนี้ ไม่แพ้ลำโพงบางคู่ที่แพงกว่าเกือบ 3 เท่า

                ด้านเสียงกลาง จะออกไปทางอุ่นๆ ไม่คมชัด โปร่งทะลุนัก พูดง่ายๆ ว่า เสียงผิวยังไมมีแบบเน้นๆ นานๆ จึงโผล่มาบ้าง แต่ก็ ยังให้เสียงร้องที่จีบปากจีบคอได้ดี ถ่ายทอดอากัปกริยาได้ดีสมกับที่ดอกกลาง/ทุ้มขนาดไม่ใหญ่นัก และน่าจะขยับดอกแหลมได้ทันกัน (ซึ่งดอกกลางทุ้มใหญ่ๆ มักเสียเปรียบประเด็นนี้)

                ด้านเสียงต่ำ นี่ไม่ใช่ลำโพงที่จะให้ทุ้มได้หนักแน่นตูมตาม หากแต่เน้นทุ้มที่สะอาด ลึก (เท่าที่จะเป็นไปได้) มากกว่า กับเพลง 2 (อารีรัง) ของแผ่น 3 จึงได้แค่เค้าลางของกลองใบใหญ่ที่ตึง แน่น ลึกพอควร (สัก 80 Hz) แต่ไม่ขนาดมหึมา สะท้านห้อง ถึงอย่างไรก็น่าจะเพียงพอ ยิ่งมาฟังเพลง 1, 2, 4 ซองแผ่น 4 ซึ่งเป็น เสียงดีดดับเบิลเบส เป็นใครก็ต้องทึ่ง เพราะเสียงที่อิ่ม แน่น เป็นเส้นสาย มีน้ำหนักเกินกว่าจะคิดว่ามาจากลำโพงคู่เล็กๆ อย่างนี้ ได้ มันอาจไม่ให้ดับเบิลเบสที่ตํ่าลึกสะท้านพื้นขากางเกงไหว แต่กับแผ่นนี้ มันก็ให้การทิ้งตัวลงของตํ่าลึกจากดับเบิลเบสที่เติมเต็ม ได้ ไม่รู้สึกห้วนหายไปเลย

                เสียงเปียโน, ของแผ่น 4 ก็ให้ได้อย่างน่าฟัง ได้อารมณ์และบรรยากาศดีทีเดียว และแผ่หลุดลอยออกมาได้อย่างน่ายกย่องกับดอกลำโพงเล็กๆ ขนาดนี้

                ในด้านมิติเสียง น่าจะเป็นจุดอ่อนไม่น้อยของ VX-1 คุณอย่าไปคาดหวังทรวดทรง (3D) จากทุกๆ โน้ต ทุกๆ เครื่องดนตรี มันเดี๋ยวดี เดี๋ยวแบน ถ้าคุณมีเวลาที่จะมานั่งฟังทิศทางซองสายในตู้ (หัว-ท้าย), ทิศทางของอุปกรณ์บนแผงวงจรแบ่งเสียง (L, C, R) ผมเชื่อว่า VX-1 จะให้อะไรๆ แก่คุณได้อีก “เยอะ” มาก ผมฟังทดสอบทิศทางของหัวเสียบตัวยูบนสายที่เข้าดอกกลางทุ้มแล้ว ต้องให้ส่วนหนีบโอบทั้งบวก, ลบหันหาแม่เหล็กลำโพงทั้งคู่

                กับแผ่นที่ 2 คุณจะ “งง” กับเวทีเสียงที่ทั้งกว้าง, ทั้ง'โอบของ VX-1 ด้านลึกก็ดีมาก เป็นลำโพงไม่เกิน 4-5 คู่ที่ผมเคยทดสอบมา จากนับร้อยคู่ ที่ให้นาทีที่ 4 ของเพลง 6 ดุจกำลังฟังเสียงรอบทิศ พร้อมๆ กับเพลง 7 ที่เสียงกลองลอยสูงซึ้นๆ เกือบถึงเพดานห้องได้ เท่านั้นไม่พอ เพลง 10 ยิ่งอัศจรรย์บรรเจิด นอกจากเสียงจะลอยวิ่งไปวิ่งมาบนเพดานห้องได้แล้ว เสียงอื่นๆ ในวงยังเหมือน “กระจายตัว” ลอยสูงอยู่เหนือลำโพง ห้อมล้อมรอบๆ ตัวผมยังกับระบบเสียงรอบทิศ (holographic) อย่างไม่เคยพบมาก่อน ! ยิ่ง เพลง 14 เสียงวิ่งหน้าวิ่งหลัง วน, สูงเกือบถึงเพดานห้องบ่อยๆ มันสุดยอดจริงๆ ฉีกทุกกฎของระบบเสียงเซอราวด์หนังที่คุยว่า ต้องมีลำโพง 5-11 ตัว รอบตัวเราและอยู่เหนือศีรษะ

มาดูหนังกันบ้าง (ที่ OPPO 105 เลือกเสียงออก LT, RT)

                คันๆ เจอ DVD เรื่องแม่นาค (Right Picture. ภาพ 4 : 3) เลือกระบบเสียง stereo

                ดูแล้วจะบ้าตาย เสียงเอฟเฟกต์ต่างๆ และบรรยากาศห่อหุ้ม รอบๆ ห้อง (ไม่ใช่แค่ตัวผม) เหมือนระบบเซอราวด์สุดยอดขนาดใหญ่ไม่เคยได้เสียงสุดยอดขนาดนี้จากแผ่นนี้มาก่อนเลย !

                แผ่นทดสอบ Dolby ATMOS (2014) และ (2015) ที่เป็นวิวป่า (animation) เสียงปรากฎรอบตัว (รอบห้อง) และบนเพดานห้อง ด้วย VX-1 “คู่เดียว” ไร้วงจรถอดเซอราวด์ใดๆ และฟังแค่ 2-ch (กับแผ่นทดสอบ AURO 30 ก็เหมือนกัน)

                ตกลงเราต้องเล่นชุดเซอราวด์ให้เปลืองเงินวุ่นวาย เกะกะห้องอีกหรือนี่

                VX-1 ให้เสียงหนัง (อีก 4-5 เรื่อง), เสียงคอนเสิร์ต (Modern Talking และ Andre Rui อีก 3-4 แผ่น) ที่มันส์มาก (เลือก 2-ch stereo ทั้งหมด) แม้กับคาราโอเกะเพลงไทยอีก 5-6 แผ่นก็น่าประทับใจมาก

สรุป

                VX-1 ไม่อาจบ่งบอกตัวเองว่า เป็นลำโพงระดับ Hi-Resolution หรือ Monitor อะไรได้ มันไม่ได้ถูกออกแบบมาด้วยความหวังสูงลิบอย่างนั้น แต่ที่แน่ๆ มันเป็นลำโพงที่เป็นมิตร น่าฟัง กลมกลืน และเป็นกลางได้ดีระดับหนึ่ง โดยเฉพาะเวทีเสียงที่ “ห่อหุ้ม” ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ขนาดที่ลำโพงระดับแสนบาทหลายๆ คู่ ยังทำไม่ได้ ตัดสินใจซื้อมาโมได้เลยครับ คุณจะทั้งสนุกและเหมือน “ถูกหวย” !

ขอขอบคุณ บริษัท ไฮไฟ ทาวเวอร์ จำกัด

โทร. 0-2881-7273-7 ที่เอื้อเฟื้อลำโพงมาให้ทดสอบในครั้งนี้

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459