000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > เสียงเป๋...หายนะชัดๆ
วันที่ : 27/04/2017
9,115 views

เสียงเป๋...หายนะชัดๆ

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ในการออกแบบลำโพงบ้าน วิศวกรสู้ทุ่มการวิจัยทำดอกลำโพงให้ดีที่สุด (อย่างน้อยก็ในวงเงิน งบประมาณ ราคาขายนั้นๆ) ใช้ทั้งด้าน วัสดุศาสตร์ ด้านพลศาสตร์ ด้านแม่เหล็กไฟฟ้า มีการวัด ทดสอบ ด้วยลำแสงเลเซอร์และคอมพิวเตอร์ ทำการจำลองสภาวะการใช้งาน(ทำงาน) กว่าจะผลิตดอกแต่ละรุ่นออกมา ใช้เวลานับแรมปี (เก่งสุด 6 เดือน)

                ต้องออกแบบวงจรแบ่งเสียง (Passive Crossover Network) ต้องคำนวณอย่างเพื่อให้เข้ากับแต่ละดอกลำโพงที่ใช้ในระบบ ต้องคัดเลือกเกรด ยี่ห้อ ชนิด ของแต่ละอุปกรณ์ที่ใช้บนแผงวงจร รวมทั้งการลงตู้จริงและจูนละเอียดด้วย “หู” ฟังแล้วฟังอีก นับสิบนับร้อยๆ ชั่วโมง กว่าจะลงตัว

                ตัวตู้ก็ต้องเลือกวัสดุ (ไม้...ไม้อะไรอีก พลาสติกชนิดไหน ตู้โลหะ หรือแม้กระทั่งกระดาษลูกฟูกซ้อนทับหลายชั้น) รูปร่างตัวตู้ สรีระ ขนาด(สัดส่วน) การเสริมความแกร่ง(ดามภายใน) การจัดวางดอกลำโพงบนตู้ การเลือกว่าตู้แบบปิดหรือเปิด (เปิดแบบไหน) แม้แต่ตำแหน่งของรูระบายอากาศ (กรณีตู้เปิด) ขนาดรู(ขนาดท่อส่งอากาศ)/ความยาว เส้นผ่านศูนย์กลาง ปากรู(แบบแตร, แบบช่องแคบยาว) แบบยิงลมออกหน้าหรือหลังหรือลงพื้น

                จะเห็นว่า ระบบลำโพง อาจดูง่าย เหมือนไม่มีอะไรมากมาย แต่จริงๆ แล้ว อะไรที่ดูง่ายมักทำได้ยากที่สุด ตัวแปรเยอะที่สุด

                นี่คือเหตุผลที่ทำไม ในตลาดเครื่องเสียง จึงมียี่ห้อลำโพง, รุ่นนับร้อยๆ มากมายกว่าตลาดเครื่องเล่น, เครื่องภาคขยายเสียงมาก และราคาลำโพงก็หลากหยายอย่างที่สุด ช่วงกว้างที่สุด ตั้งแต่หลักพัน ถึงหลักสิบล้านบาท สารพัดบุคลิกเสียงให้เลือกที่ชอบ

                เป็นเรื่องน่าเศร้าของลำโพงที่มีขายในท้องตลาด ไม่ว่าจะมีราคาถูกถึงแพงที่สุด ยี่ห้อไร้ชื่อถึงยี่ห้อดังระดับโลก กว่า 90% จะใช้หัวเสียบตัวยู บีบติดไว้กับปลายสายลำโพงภายใน ไม่ว่าจากขั้วตัวเมียรับสายลำโพงภายนอก (Terminal) หรือ Binding Post มายังแผงวงจรแบ่งความถี่เสียง บางยี่ห้อจะบัดกรีที่ขั้วรับสายนี้ แต่ปลายสายจะใช้ตัวยูเสียบเข้าที่แผงวงจร

                จากแผงวงจรแบ่งเสียงไปยังดอกลำโพงแต่ละดอก ทั้งหัวสาย (ด้านแผงวงจร) และปลายสาย (ที่เสียบเข้าขั้วดอกลำโพง) จะใช้การเสียบกับขั้วด้วยตัวยู (98%)

                เหตุแห่งความเศร้า คือ ผลของเสียงที่พิการอย่างที่มีน้อยคนมากที่จะนึกถึง

                คุณเชื่อไหม หัวเสียบตัวยูแต่ละหัวที่คุณเสียบแต่ละขั้ว การเสียบคว่ำกับหงาย จะให้สุ้มเสียง มิติเสียงต่างกัน (เรียนตรงๆ ว่าผมยังหาเหตุผลมาอธิบายไม่ได้ อย่าสับสนนะครับ เราพูดแค่แต่ละขั้วเดียวไม่ใช่ขั้วบวก, ลบ)

                ถ้าเสียบผิดทิศ (บอกไม่ได้ว่า ขั้วนั้นๆ ต้องเสียบคว่ำหรือหงาย ต้องลองเสียบ ไล่ฟังไปทีละขั้วเสียบ พูดง่ายๆ ว่าดอกลำโพง 1 ดอก ต้องฟังเสียงการเสียบ 2+2=4 ครั้ง ต่อ ขั้วบวก 1, ขั้วลบ 1)

                ลำโพงบางคู่ ขนาดว่าคู่หนึ่ง 7-8 แสนบาท ยังเสียบตัวยู คว่ำ/หงาย มั่วไปหมด ตู้ซ้าย, ขวาก็ไม่เหมือนกัน ส่วนใหญ่ จะเสียบคว่ำทั้งขั้วบวกขั้วลบ (เหมือนกัน) หรือหงายเหมือนกันทั้ง 2 ขั้ว (ก็จะมีถูกแค่ขั้วเดียว)

                วิธีฟังคือ สลับสายลำโพงบวก, ลบ หลังตู้ลำโพง (ตู้นั้น เช่น ตู้ซ้าย, ส่วนตู้ขวา ให้เงียบเสียง) ให้เสียงหลุดลอยออกมาก่อน เป็นอันว่า กรวยลำโพงของดอกลำโพงนั้น (คือเราไล่ฟังทีละดอกลำโพงให้เสร็จเป็นดอกๆ ไป) ขยับดันอากาศมาหาเราถูกต้อง

                จากนั้นไล่สลับเริ่มขั้วบวก, ขั้วลบ ตัวยูคว่ำทั้งคู่ ฟัง 1

                ฟัง 2                        ขั้วบวก ตัวยูคว่ำ, ขั้วลบ หงาย
                                                ถ้าเสียงเป็นตัวตนขึ้น (มีทรวดทรงหลุดลอยออกมา เป็นกลุ่มก้อนขึ้น)
                                                แสดงว่าขั้วลบตัวยูต้องหงาย

                ฟัง 3                        ขั้วบวก ตัวยูหงาย, ขั้วลบหงาย (จากการสลับ)
                                                ถ้าเสียงยิ่งเป็นตัวตนขึ้น หลุดลอยออกมายิ่งขึ้น
                                                แสดงว่า ทั้งขั้วบวก ขั้วลบ ตัวยูต้องหงายทั้งคู่

                เสร็จแล้วจำไว้ ไปทำกับดอกอื่นในตู้เดียวกัน เช่นกัน

                เมื่อทำตู้ซ้ายเสร็จ ก็ไปทำตู้ขวาเสียบหัวตัวยู ตามตู้ซ้ายได้เลย

                หลังจากทิศทางหัวเสียบตัวยู ถูกต้องทุกจุดแล้ว คุณจะพบว่า

                เสียงจากดอกแหลม จากดอกกลาง จากดอกทุ้ม กลมกลืนเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน ดังเสมอใกล้เคียงกัน ไม่ผีเข้าผีออก หรือเสียงแต่ละดอกแตกแถวกัน ดนตรีในวงเหมือนแย่งกันเล่น ยิ่งช่วงโหมหลายชิ้น ยิ่งมั่ว สับสนไปหมด เจี๊ยวจ๊าว ฟังไม่ได้ศัพท์ ไม่รู้อะไรเป็นอะไร

                ยิ่งถ้าลำโพงตู้ซ้ายกับขวา การเสียบตัวยู มั่ว ต่างกัน อาการเลวร้ายนั้นยิ่งสาหัส ฟังนานๆ น่าเบื่อ น่ารำคาญ ขาดเสน่ห์ บรรยากาศ เวทีเสียง ไม่นิ่ง ผลุบโผล่ ทรวดทรงชิ้นดนตรีแบน (ไม่ 3D) เวทีแบน ไม่โอ่อ่า โอบซ้ายขวา ไม่หลุดลอยออกมา ด้านลึกไม่มีวงเป็นหน้ากระดานเรียงหนึ่ง เสียงไม่หลุดตู้ ยังเหมือนวิ่งมาจากหน้าตู้ ทุ้ม, กลางต่ำ ขาดน้ำหนัก ตู้ลำโพงเหมือนทำด้วยกล่องกระดาษที่เสียงกลวงๆ ไม่มีมวลทึบ (ไม่ Solid)

                คนที่ฟังเก่งจริงๆ จะพอฟังออกว่า ลำโพงคู่นี้มีแววดี แต่มีอะไรบางอย่างที่ทะแม่งๆ

                อะไรนั้นก็คือ สาเหตุและอาการที่ว่า

                คำถามคือ ถ้าตัวยูสร้างปัญหาขนาดนี้ ทำไมเขาไม่บัดกรีมาเลย

                คำตอบคือ เขาเผื่อการถอดซ่อมที่ง่าย สะดวกกว่า

                แต่ในความเป็นจริง ถ้าแมอป์คุณไม่มีปัญหากระแสไฟตรงรั่วหรือ (DC Offset) ลำโพงไม่กินวัตต์มโหฬาร (ความไวมากกว่า 87 dB SPL) และภาคขยายกำลังขับไม่ต่ำเกินไปจนเกิดการอิ่มตัว จนยอดคลื่นหัวขาดและส่งความเพี้ยนไปเผาวอยซ์คอยล์แช่ไปเรื่อยๆ จนวอยซ์หมดสภาพ หรือคุณไม่ได้เร่งดังจนหูแทบแตก โอกาสที่ลำโพงจะเสียมีน้อยมากๆ การซ่อมจึงแทบลืมได้เลย

                สาเหตุต่อไปคือ วอยซ์คอยล์ของดอกแหลมมักเล็ก เส้นลวดเล็กมาก ยิ่งดอกเล็กจิ๋วแค่ไหน ยิ่งเปราะมาก การแช่หัวแร้งบัดกรี ถ้าทำไม่เป็น มีสิทธิ์วอยซ์คอยล์ขาดได้เลย ต้องคนบัดกรีเป็นและมีความชำนาญมากพอ (Don’t do it at home)

                ขบวนการผลิตที่เอาเร็วเข้าว่า ใช้แรงงานทักษะต่ำ ค่าแรงถูกๆ คงไม่ต้องคาดหวังว่า พวกเขาจะมามัวพิถีพิถัน บัดกรีระดับเทพ การใช้ตัวยูเสียบจึงง่ายที่สุด ปลอดภัยที่สุด

                เราจึงต้องให้ผู้ที่รับดัดแปลง ระดับมืออาชีพจริงๆ ทำให้ นอกจากปัญหาตัวยูคว่ำ/หงาย ในตู้ลำโพงแล้ว ยังมีตัวยูในเครื่องปรี, เครื่องเพาเวอร์แอมป์ เครื่องเล่น ฯลฯ ด้วย ที่เห็นชัดๆ ก็ขั้วออกสายลำโพงภายนอก (Speaker Terminal) ขั้วสายต่างๆ ในภาคจ่ายไฟ ที่ตรงเต้ารับสายไฟตัวเมียหลัง (ภายใน) เครื่อง รู้ไหม ระเบียบมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ สมอก. บังคับว่า พวกภาคจ่ายไฟต้องใช้หัวเสียบตัวยู บางยี่ห้อเมืองนอก เขาบัดกรีมาอย่างดี ผู้นำเข้าต้องไปขอร้องให้เขาเปลี่ยนเป็นหัวเสียบตัวยู พอๆ กับข้อบังคับว่า สายไฟ AC เครื่อง ต้องใช้ทองแดงขนาดเท่านั้นเท่านี้ อนิจจา ช่างไม่รู้เลยหรือว่า การใช้ทองแดงเกรดสูงๆ เช่น 5 N, 6 N หรือพวก PCOCC มันสามารถนำกระแสได้สูงมากโดยไม่จำเป็นต้องมีขนาดใหญ่เลย นี่แหละข้าราชการบ้านเรา

                สรุป ลำโพง เครื่องเล่น เครื่องขยาย ไม่ว่าทีมออกแบบจะทุ่มเท ค้นคว้า ผลิตอย่างเลอเลิศขนาดไหน แพงขนาดไหน มีสิทธิ์ตกม้าตายจากสวรรค์ลงนรกได้ง่ายๆ ก็แค่ หัวเสียบตัวยู ถูกๆ ไม่กี่ตัว

                (นี่ยังไม่พูดถึง คุณภาพของหัวเสียบตัวยู ทิศทางสายในตู้ลำโพง)

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459