|
การฟังเพลงจากYouTube ให้ได้เสียงดีที่สุด โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ 1. เลือกหูฟัง in ear ที่เสียงดีที่สุด (ไม่จำเป็นต้องแพงระยับ) 9. หากล่องดูดคลื่นขยะ PerfectPower RT-1 สัก 2 กล่องมาดักคลื่นขยะอื่นๆไม่ให้มากวนมือถือเราและสมองเรา ( ดูรายละเอียดในรายงานทดสอบRT-1 ทั้ง 3 ตอนในเวบ maitreeav.com) 21.? การวางก้อนผลึกอะมิทิสไว้ใกล้ๆและปรับมุมเอียงให้ดีๆ จะได้เสียงดีขี้น โฟกัสขี้น ถ่ายทอดอากัปกิริยากิริยาของเสียงร้อง นักดนตรีได้ชีดเจนขึ้น การสวิงเสียงจากค่อยสุดไปดังสุดได้กว้างขึ้น? น้ำหนักเสียงดีขี้น 22. การใช้ปลักเสียบกรองไฟของ PHD 2 ช่วยเรื่องสุ้มเสียง มิติเสียงบรรยากาศ ได้ดีเกินคาด(หัวเสียบสีดำที่เห็น....ดูคอลัมน์ สัมภาษณ์ อจ. ดร. อดืศักดิ์ ในส่วน Made in Thailand ประกอบด้วย) 23.? ถ้าเป็นหูฟังแบบแยงรูหู หรือ in ear ต้องหมุนให้ปลายด้านเสียงออก ให้กระชับแน่นพอ มิเช่นนั้นทุ้มจะหาย เสียงจะบาง และหันหัวปลายให้เอียงยิงเสียงตรงเข้าสู่ช่องหู มิเช่นนั้นเสียงจะอู้ก้อง แหลมตก? มิติเสีย 24. ถ้าโทรมือถือของคุณ ปรับระดับเสียงของข้อมูลที่รับเข้ามาได้ (ดูรูป ตัวอย่างหน้าจอ) ให้หรี่เสียงที่มือถือขาออกหูฟังลงครึ่งหนึ่งก่อน จากนั้นเร่งเสียงของสัญญาณข้อมูลไว้ประมาณ 95% แล้วย้อนกลับไปปรับระดับเสียงออกหูฟังที่มือถือ ขึ้น ลง จนได้ ทรวดทรงเสียง นักร้องตรงกลางวง เป็น 3 Dดีที่สุด โฟกัสที่สุด นี่เรียกว่า การปรับ level matching มีผลมากพอควรทีเดียว ทั้งสุ้มเสีบง มิติเสียง เวทีเสียง ( สูง-ต่ำ, ตื้น-ลึก, กว้าง-แคบ) 25. ถ้าไม่จำเป็นต้องเร่งดังมาก ให้ลองหรี่เสียงลง ให้ดังเท่าที่จำเป็น ( พยายามฟังในที่ปลอดเสียงรบกวน ) จะพบว่า เสียง เป็นตัวตนดีขึ้น อาการฟุ้งลดลง ความกังวานชัดเจนขึ้น บรรยากาศ ดีสมจริงขึ้น เพราะ สัญญาณรงกวนระหว่างซีกซ้าย- ขวา ลดลง 25. ให้หรี่แสงหน้าจอมือถือให้ต่ำสุด กรณีฟังแต่เสียง เสียงจะเป็นตัวตนขึ้น เวทีตื้นลึกดีขึ้น ชัดขึ้น ไดนามิคดีขี้น 26. ถ้าใช้แอร์ inverter ให้ลดความแรงลมต่ำสุด หรือหลีกเลี่ยง ลมประทะกายโดยตรง เพราะเป็นลมกระตุก จะทำให้เกิดประจุไฟฟ้าสถิตย์บนร่างกายและมือถือ เสียงจะทึบ แบน เวทีตื้น อั้น ( ดูรายงานทดสอบ ห่วงวสีฟ้ารัดข้อมือสลายประจุไฟฟ้า) 27. เอาบรรดารีโมทไร้สาย รีโมทแอร์ ทีวี นาฬิกาข้อมือทั้งกลไก ,ออโต , i-watch ไว้ห่างจากตัว 28. อย่าฟังโดยเสียบชาร์จไฟไปด้วย วงจรชาร์จสร้างคลื่นรบกวน มิติจะฟุ้ง แบน เสียงแบนตื้อ 29. กดปิดแอ็ปที่ไม่ได้ใช้ Android กดปุ่มสี่เหลี่ยมขวาล่าง และไล่กดปิดแอ็ปที่ค้างอยู่และไม่ได้ใช้งาน เสียงจะมีทรวดทรงขึ้น 30. หา Power Bank มาเสียบจ่ายไฟให้มือถือเสริมพลังเสียงจะอิ่มหนักแน่นขึ้น (แต่ Power Bank อย่ามากเกินไป สัก 7,000 - 13,000 mH ก็พอ มากเกินไปเสียงอาจหนาทึบขึ้น 31. ใส่สายรัดข้อมือสีฟ้าช่วยลดประจุไฟฟ้าสถิตย์ของร่างกาย มิติ เสียงผิว น้ำหนัก จะดีขึ้นพอควรเลย (อ่านทดสอบสายรัดนี้ ประกอบด้วย คลิกที่นี่ ) ต้องให้แถบนูนของสายรัดสีฟ้า อยู่ด้าในและหันแถบขวางนี้เข้าด้านข้าง ใน ของข้อมือนะครับ และ ต้องใช้สายรัดทั้ง ข้อมือซ้าย 1 และข้อมือขวา 1 เสียงซ้าย, ขวา จะได้สมมาตรเหมือนกัน มิติตรงกลางชัด โฟกัส เป็น ตัวตน(3D) ขึ้น 32. เอาแผ่นร้องเตือนการลักขโมยที่ร้านห้อยไว้ แอบไว้ในตัวสินค้า เรียกแผ่น RFID มาปะหลังมือถือ มิติเสียงจะฟุ้งน้อยลง เป็นตัวตนดีขึ้น 33. เอาแผ่นรองแผ่นเสียง ที่ช่วยลดประจุไฟฟ้าสถิตย์(ที่เกิดจากลม เครื่องปรับอากาศ ระบบ Inverter ทั้งหลาย และจาก หลอดไฟ LED ) น่าจะเป็นพวกผ้าสักหราด ใารองใต้เครื่องมือถือ( แผ่นที่ผมซื้อมาทดสอบ ราคา 2 พันบาท ยี่ห้อ ma) ปรากฏว่า เวทีเสียงแผ่กระจายออกไปรอบตัวเราดีขึ้น แทนที่จะ อยู่แค่ตรงหน้า แบนเป็นแถวกระดานเรียงหนึ่ง ทรวดทรงนักร้อง นักดนตรี ก็ดีขึ้นด้วย 34. ฟังจากหูฟัง/ มือถือให้ถอด นาฬิกา(กลไก, quartz, smart watch ) ออกจากมือ. เอา บรรดาบัตรเครดิต , บัตรแม่เหล็ก, ออกจากกระเป๋าเสื้อ. มิติเสียงจะคมชัด โฟกัส ขึ้นพอควรเลย เป็นตัวตน 3 D ขึ้น 35. กรณืมือถือมีฟังชั่นปรับทุ้ม กลาง, แหลม หรือ EQUALIZER, ห้ามใช้ ปิด OFF เลยช้แล้วเสียงแบนหมเ หาความน่าฟังไม่ได้ ไร้ตัวตน ทรวดทรง3D รวมทั้งฟังชั่นกดการสวิงเสียง ก็อย่าใช้ เสียงจะอั้น ตื้อหมด การสวิงเสียงแคบ ฟังแล้วอื้ออึงอึดอัด
36. เวลาฟังเพลงYouTube ให้ลองเปลี่ยนตำแหน่งที่นั่งฟัง เสียง มิติ อาจดีขึ้นได้อย่างน่าคิดทีเดียว รูปนั้นผมไปฟังที่ดอนเมือง ลองนั่งใกล้จอ LED ขนาดยักษ์( เสียงแย่สุด ) เพราะคลื่นจากจอมารบกวนมาก นั่งที่ๆมีคนเยอะก็แย่เช่นกัน แย่งคลื่นมือถือกันเอง กวนกันเอง พยายามหาที่สงบ คนน้อยหน่อย 37. ให้ลองเปลี่ยนก้อนฟองน้ำ/ซิลิโคน/ยาง ที่แยงเข้าไปในรูหู (ของหูฟังแบบ in-ear ) ที่มีให้มาด้วย คุณอาจตกใจกับคุณภาพเสียง มิติเสียง ที่ดีขึ้นมาก (อาจลงทุนซื้อดีๆ มาเปลี่ยน เช่น โฟมยาง เมโมรีโฟม) 38. ให้ลองขยับตัวสอดรูหูนี้ (เรียก tip) อาจถอดออกมาแล้วใส่ใหม่ ไม่ยาก ดึงออกมาได้เลย เสียงที่ฟังทะแม่งๆ ซ้าย/ขวา เสียงต่างกัน การก้องฟุ้ง อาจหายไปได้ 39. เวลานั่งฟังเพลงจากYouTubeด้วยโทร.มือถือ. ให้นั่งไข่วห้าง ขาซ้ายและขวาหนีบชิดกัน จะได้ เสียงชัด มีน้ำหนัก ไดนามิค ทรวดทรง รายละเอียด การสอดใส่อารมณ์ ดีขี้น พร้อมกับ มิติสเตอริโอที่คมชัด โฟกัส ขี้นเยอะ เวทีเสียงเปิดออกรอบ เวทีกว้างขึ้นตื้นลึก สูงต่ำดีขึ้น ทั้งหมดนี้ดีขึ้นถึง 30% เมื่อเทียบกับการนั่งฟังแบบยกขาข้างหนึ่ง มาวางบนขาอีกข้างแนวนอน. หรือดีขึ้น 20 % เมื่อปล่อยขาทั้งสองเหยียบบนพื้นปกติแยกกัน 40. เวลาฟังจากหูฟัง ให้นั่งฟัง มิติเสียง เวทีเสียง จะดีกว่านอนฟัง โดยเฉพาะ ด้านหน้า 43. ถ้านอนฟังYouTube ด้วยหูฟัง บนเตียงนอน ให้เหยียดขาตรง ขาซ้าย/ขวา แนบยาวไปตลอด มิติเสียง จะโฟกัสชัดกว่าวางขาท่าอื่นๆ 44. ถ้าฟังเพลงจากโทร .มือถือ ให้สังเกตว่า ตอนซื้อเครื่องใหม่ๆ ชาร์จแบตที เคยใช้ได้ตั้งแต่เช้า7-8โมง แบตไฟเต็ม100% พอ ถึง5-6 โมงเย็นแบตลดเหลือประมาณ30% โดยการลดลงจะค่อยๆลด ถือว่าแบตยังแข็งแรงสมบูรณ์ดี แต่ถ้า ลดลงค่อนข้างเร็ว เช่นจาก ชาร์จเต็ม 100% พอใช้ไปแค่ 15 นาทีลดเหลือ90 ใช้ฟังเพลงไปแค่ 1 ชม . เหลือ75 อีก 45 นาทีเหลือ 65 คือลดลงเร็วผิดปกติ แค่ บ่าย 2-3 เหลือ 25 จริงๆ แล้ว แบตชาร์จได้ จะมีรอบการ " ชาร์จ/ใช้ " ประมาณ 650 รอบ ถ้าเราชาร์จก่อนนอนทุกวัน อายุแบตเพื่อการใช้งานได้สมบูณ์ ไม่น่าเกิน 2ปีหรือต่ำกว่านั้น ถ้าใช้งานหนักและชาร์จบ่อย รวมทั้งในสภาวะร้อนไป หนาวไป เมื่อแบตเสื่อมลงตามที่บอกไว้ข้างต้น คุณภาพเสียงจะแย่ลง " ทุกกรณี " ถึง 30 % ทั้งสุ้มเสียง มิติ ทรวดทรงเสียง บรรยากาศ รูปวง ความเพี้ยนโดยเฉพาะปลายแหลมสุด ดังนั้น เมื่อใช้มือถือไป ปีครึ่ง ถึง 2 ปี ควรเปลี่ยนแบตใหม่( พันกว่าบาท) 45. ถ้าเราลงโปรแกรม my Location ให้กด ออกชั่วคราว (พอเที่ยงคืน มันจะกลับมาใช้ได้เหมือนเดิม) คือ เราตัดคลื่นจากมือถือ ที่ส่งไปคอยบอกตำแหน่งของเราแก่ระบบเครือข่าย ตัดออกแล้ว มิติเสียงจะดีขึ้นทันที เป็นทรวดทรง3D ขึ้น เวทีเสียงตื้น-ลึก ดีขึ้น ช่วงดนตรีหลายชิ้นจะมั่วน้อยลง
www.maitreeav.com |