000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > มิติเสียงตรงกลาง.....อย่าให้มันหลอกคุณ
วันที่ : 15/01/2016
7,268 views

มิติเสียงตรงกลาง.....อย่าให้มันหลอกคุณ

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ในอดีตเมื่อ 50 ปีที่แล้วเรายังฟังเสียงกันในระบบโมโนอยู่  2 – 3 ปีต่อมาจึงเริ่มเข้าสู่ยุคสเตอริโอ จากการฟังด้วยลำโพงตู้เดียว เสียงมาจากหน้าตู้จุดเดียว ก็กลายมาเป็นเสียงจากตู้ลำโพงซ้ายกับตู้ลำโพงขวา ก่อให้เกิดการแยกแยะตำแหน่งของแต่ละชิ้นดนตรีในวง เกิดเวทีเสียงขึ้น( SOUND STAGE ) สามารถจำแนกได้ว่าอะไรอยู่ตรงไหนในวง ฟังแล้วสามารถจินตนาการดุจไปนั่งฟังวงดนตรีจริงๆมาเล่นอยู่ต่อหน้า

       ในยุคแรกๆของการส่งกระจายเสียงวิทยุในระบบสเตอริโอ ต้องอาศัย 2 คลื่นความถี่ในการออกอากาศ คลื่นหนึ่งออกอากาศสัญญาณซีกซ้ายเพื่อใช้วิทยุเครื่องที่ 1 ฟังเสียงซีกซ้ายที่บ้าน อีกคลื่นหนึ่งออกอากาศสัญญาณซีกขวา ใช้วิทยุเครื่องที่ 2 ฟังเสียงจากซีกขวาที่บ้าน เป็นการสิ้นเปลืองถึง 2 เท่าเมื่อเทียบกับการส่งโมโน วิทยุรับเครื่องเดียว,คลื่นเดียว

       ต่อมามีการคิดค้นระบบ “สลับการส่ง/สลับการฟัง หรือ FM STEREO MULTIPLEX” ที่ใช้คลื่นความถี่เดียวในการออกอากาศ แต่จะมีวงจรพิเศษคอยสลับออกอากาศสัญญาณซีกซ้ายในวินาทีแรกแล้วสลับออกอากาศสัญญาณซีกขวาในวินาทีต่อมา เป็นซ้าย/ขวา  ซ้าย/ขวา..............ที่ด้านรับก็จะมีวงจรพิเศษที่จะสลับสัญญาณให้เราฟังซ้ายที,ขวาที,ซ้าย,ขวา.............อย่างคล้องจองกับการสลับที่สถานีส่ง โดยตอนส่งทางสถานีจะแถมสัญญาณควบคุมการสลับมาด้วย( PILOT SIGNAL )เพื่อให้การสลับด้านส่ง,ด้านรับสอดรับกัน เราก็ได้ยินเสียงจากภาคขยายเสียงสเตอริโอออกลำโพงซีกซ้ายที,ซีกขวาที เนื่องจากมันสลับเร็วมาก จึงเสมือนเสียงซ้ายออกมาจากลำโพงซ้ายตลอดเวลา เสียงขวาออกมาจากลำโพงขวาตลอดเวลา ไม่ขาดๆหายๆ(แต่คนที่หูไว ประสาทไว หูชินกับระบบเสียงโมโน บางคนจะบอกว่าเวลาฟังระบบเสียงFM  STEREO MULTIPLEX รู้สึกเหมือนมีอะไรบางอย่างรบกวนสมาธิหรือจิตใต้สำนึกตลอดเวลา ไม่โปร่งโล่งหมดจดเหมือนฟัง FM โมโนธรรมดา(ผู้เขียนเองก็รู้สึกเช่นนั้น ถ้าได้ฟัง FM โมโนจนชินมากๆแล้วสลับไปฟัง FM STEREO MULTIPLEX ที่สถานีเดียวกัน

       ในกรณีของแหล่งรายการอื่นๆที่เป็นระบบเสียงสเตอริโอ ก็มีเทปม้วนเปิด (OPEN REEL) ต่อมาก็พัฒนาเป็นตลับม้วนเทปปิดผนึก 8 TRACK ที่กะทัดรัดขึ้น จนถึงเทปม้วนเปิดจิ๋วหรือ CASSETT TAPE ที่ฆ่าเทปในรูปแบบอื่นตายหมดและครองตลาดหลายสิบปีก่อนที่จะมาถูกแผ่น CD ตีจนสูญพันธุ์  (จริงๆก็มีการนำเสนอเทปแบบ EL CASSETT TAPE ที่ตลับใหญ่กว่าหน่อยแต่ก็ปลุกกระแสไม่ขึ้น)

       อีกด้านคือฟังจากแผ่นเสียง LP ที่แต่เดิมก็เป็นโมโน เกือบ 50 ปีที่แล้วจึงพัฒนาเป็นระบบเสียงสเตอริโอ                                           แข่งกับ CASSETT TAPE ท้ายสุดก็ถูก CD ตีตายทั้งคู่

       ในยุคสเตอริโอต้นๆจะบันทึกเสียงซ้ายกับขวาแบบแยกกันเด็ดขาดเพื่อโชว์ความแปลกมหัศจรรย์ของ “ระบบสเตอริโอ”อย่างที่ยุคนั้นเรียกกันว่า PING PONG EFFECT คือเสียงโผล่ซ้ายทีขวาที สลับไปมา โยนกันไปมาเหมือนตีลูกปิงปอง แทบไม่ค่อยมีใครสนใจ ตำแหน่งชิ้นดนตรีที่อยู่กลางวง(ระหว่างตู้ลำโพงซ้ายกับตู้ลำโพงขวา)ซึ่งขอเรียกว่า “ตำแหน่งกลางหรือ CENTER (C)

       การบันทึกเสียงสเตอริโอในยุคต้นๆและต่อๆมาอีกนับสิบปี จะพบว่าไม่ค่อยมีใครสนใจที่จะจัดวางตำแหน่งแต่ละชิ้นดนตรีแถวๆตรงกลาง (C) ให้ชัดเป๊ะๆเป็นตัวๆเป็นที่เป็นทางเช่น เสียงร้องจะบวมฟุ้ง                                                            แผ่กระจายไม่โฟกัสเป็นตัวตนอยู่ตรงกลาง ปัจจุบันการบันทึกเพลงไทยเกือบทั้งหมดก็ทำได้แค่นี้ แถมการแยกซ้าย,ขวาก็เบลอๆไม่ชัดด้วย

       ความไม่โฟกัสชัดเป็นตัวตน มีทรวดทรง ยังถูกทำลายด้วยการวางลำโพงอย่างเข้าใจผิดมหันต์คือ วางหน้าตรง ขนานกับผนังห้องหลังลำโพง แทนที่จะวางเอียง (TOE IN) แล้วขยับทีละนิดๆจนได้มิติเสียง ตรงกลางเป็นตัวตน มีทรวดทรงดีที่สุด

       การวางหน้าตรง ผิดทั้งด้านกระจายเสียงของดอกลำโพงและผิดวัตถุประสงค์ของการออกแบบลำโพงด้วย ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าพวกสาวกหน้าตรงจะพาคนเล่นลงเหวออกทะเลกันไปถึงไหน

       อีกสาเหตุที่ทำให้มิติเสียงตรงกลางไม่เป็นตัวตนหรือทรวดทรง บางครั้งออกฟุ้ง แบนไปทางซีกซ้ายหรือซีกขวาด้านใดด้านหนึ่ง ปัญหาคือการจัดวางอุปกรณ์ต่างๆบนแผงวงจร แบ่งเสียงในตู้ลำโพงตู้ซ้ายกับตู้ขวาสลับทิศขาอุปกรณ์เช่น ตัวเก็บประจุตัวที่ค่า 4.7 ไมโครฟารัด แผงซ้ายเรียงอ่าน “4.7” แต่แผงขวาเรียงสลับย้อน เลข 4 อยู่ขวา, เลข 7 อยู่ซ้าย (จะกลับหัวกัน) รวมทั้งทิศทางของสายต่างๆในตู้ลำโพงที่ที่ซ้าย,ขวาย้อนทิศกัน โดยส่วนใหญ่สายอื่นๆตัวอื่นๆซ้าย,ขวาเรียงทิศเดียวกัน (อาจจะผิดทั้งคู่หรือถูกทั้งคู่ก็ว่ากันอีกที)

       อีกกรณีคือหัวเสียบตัวยู (U) ที่ปลายสาย เสียบหงาย,เสียบคว่ำต่างกันของตู้ซ้ายกับตู้ขวา(ดีที่สุดคือควรบัดกรีเลย ไม่ใช้หัวเสียบ)

       ในกรณีที่ตัวชุดเองมีปัญหาเรื่อง เสียงตัวกลาง (C)  มันฟุ้งเบลออยู่ เป็นไปได้ที่จะมีสาเหตุผิดพลาดอื่นๆ                                      ที่ทำให้ เกิดอาการหลอกหู เหมือนเสียงตรงกลางยังโฟกัสเป็นตัวตนอยู่แต่ก็จะออกมาอย่างแน่นอนไม่ได้ ไม่นิ่ง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายหรือเป็นอาการที่เรียกว่า “จำเจ” เพลงไหน,แผ่นไหนก็ได้เสียงตรงกลางทำนองเดียวกันไปหมด แน่นอนมันจึงไม่ใช่ “ของจริง”    สาเหตุเหล่านั้นได้แก่

  1. แถวๆบริเวณตรงกลางระหว่างลำโพงซ้าย,ขวา มีอะไรก็ตามที่มีลักษณะเป็นโพรง,เป็นช่อง, กล่อง  (CAVITY) ที่จะเกิดการก้องเสียงในโพรงนั้นได้เช่น ตรงกลางมีแผงระแนงไม้ฟุ้งเสียง  (DIFFUSOR) ที่ทำเป็นร่องลึกยาวแนวตั้งตรงกลาง มีชั้นวางเครื่อง,วางทีวี,ตู้โชว์,กล่อง

เสียงที่ก้องในโพรงจะกระจายกลับออกมาหลอกหูว่าเป็นจุดกำเนิดเสียงอีกจุด สังเกตว่าแทนที่จะเป็น “เวที” แต่จะกลับเป็นแค่จุดกำเนิดเสียง 3 จุดคือ ซ้าย, กลาง, ขวาระหว่างซ้ายกับกลาง,ขวากับกลางจะยังคงพร่ามัวอยู่( 3 POINT STEREO )

  1. การที่ “ทั้งลำโพงตู้ซ้ายกับตู้ขวา”มีปัญหาผิดพลาดเรื่องทิศทางอุปกรณ์บนแผงวงจร,เรื่องทิศทางสาย(ย้อน-ตาม),สายแตะต้องกัน,การแผ่สนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากขดลวดบนแผงวงจรไปรบกวน( INTERFERENCE ) กับชิ้นส่วนอุปกรณ์อื่นๆ,การมัดสายด้วยกัน(สายเข้าดอกแหลม,เข้าดอกกลางทุ้ม,เข้าดอกทุ้ม สายไบไวร์จากหลังตู้มาแผงวงจร 2 ชุดมัดด้วยกัน,หัวเสียบตัวยูที่สายมั่วเหมือนๆกัน,ติดสติ๊กเกอร์ปะที่ตูดแม่เหล็กลำโพงเหมือนๆกัน,ตัวตู้,ตัวดอกลำโพงสั่นกราวเหมือนๆกัน

พูดง่ายๆว่าทั้งตู้ซ้ายและตู้ขวาก่อให้เกิด “ความผิดเพี้ยน บิดเบี้ยว” ในทำนองเฉลี่ยๆเหมือนๆกันก็จะส่งผลให้เหมือนเสริมให้มิติเสียงตรงกลางดีขึ้น,ชัดขึ้น แต่ก็จะเป็น “เสียงลวง”ที่เอาแน่นอนไม่ได้ดังกล่าวไว้ในข้อ 1

       ความผิดพลาดทั้งจากข้อ 1 และ 2 อาจทำให้ฝ่ายที่นิยมวางลำโพงหน้าตรงเข้าใจผิดว่า มิติตรงกลางก็ยังมีอยู่(แต่จริงๆแล้วเป็นการมีอยู่ที่มีความฟุ้งเบลอ มั่วเป็นฉากหลัง)

       วิธีแก้

  1. บางท่านคิดจะทำวงจรอิเล็คโทรนิกส์ที่นำสัญญาณซีกซ้ายกับขวามาผสมรวมกันแล้วขยายออกลำโพงตู้กลางเพิ่มเข้ามา กลายเป็นระบบ 3 CH ( ซ้าย , ซ้าย+กลาง( C ), ขวา ) ดูเผินๆมิติตรงกลางชัดเจ๋งแน่

แต่ฟังจริงๆก็จะทำนองเดียวกับการมีโพรงอยู่ตรงกลาง(ตามข้อ 1 ของปัญหาที่กล่าวแล้ว)นอกจากนั้นเวทีเสียงก็จะ “หุบ”เข้ามา ไม่แผ่กระจายกว้างโอ่โถงออก กลายเป็นโมโนฟุ้งๆอยู่แถวๆกลางเวที ที่แน่ๆทรวดทรงชิ้นดนตรีเละหมด บรรยากาศ ความกังวานไปหมด

มีข้อควรระวังมิให้หลงประเด็นคือ เกิดว่าเพลงนั้น แผ่นนั้น ซ้าย,ขวาเดิม ABSOLUTE PHASE กลับคือกรวยดอกลำโพงขยับถอยเข้าในตู้แทนที่จะขยับออก ยิงอากาศมาหาเรา เสียงจึงถอยจมแบนไปหลังเวที แต่การเพิ่มตู้กลาง( C )ดังกล่าวแล้ว บังเอิญ ABSOLUTE PHASE ถูกคือ กรวยดอกลำโพงขยับออกดันอากาศมาหาเราถูกต้อง อย่างนี้ก็จะเข้าใจผิดว่าการเพิ่ม CH เซ็นเตอร์    ( C ) ช่วยให้มิติตรงกลางชัดขึ้น แบบคนละเรื่องเลย(แต่จะพบว่า ต้องเร่งเสียง CH กลางมากผิดปกติ เพื่อเอาชนะการกลับเฟสของเสียงตรงกลางตามธรรมชาติที่เกิดจากตู้ซ้าย,ตู้ขวาตามปกติแต่แรงผลักอากาศสวนทิศกันกับCH กลาง

  1. ทางแก้ที่ถูกต้องคือจัดการแก้ความผิดพลาดทุกประเด็นอันพึงจะมีในตู้ลำโพงให้หมด ฟังทดสอบทิศทางอุปกรณ์ทุกชิ้น,ทุกสาย,ขันน๊อตที่ดอกลำโพงยึดกับตู้ให้แน่นเหมือนกันทั้งตู้ซ้ายและขวา สายลำโพงซ้าย,ขวายกหนีลอยจากพื้นห้องและหาตั้งหนังสือมาทับมันให้นิ่งที่สุด( ซ้ายกับขวาต้องปฏิบัติให้ “เหมือนกันเป๊ะ”) จัดการเอียงตู้ลำโพงเข้ามา ค่อยๆขยับจูนทีละนิดจนได้เสียงตรงกลางมีทรวดทรงดีที่สุด ขณะที่สุ่มเสียงครบถูกต้อง,จัดการสภาพแวดล้อมที่ตู้ลำโพงซีกซ้าย,ขวาวางอยู่ให้เหมือนกันมากที่สุด(สมมาตร) ฟังตรวจสอบทิศทางสายลำโพงจากแอมป์ไปตู้ลำโพง(ซ้าย,ขวา)เหมือนกันและทิศถูกต้อง(อย่าเชื่อลูกศรที่เค้าระบุมา)ไม่แตะกัน รวมทั้งสายเสียงจาก CD ไปแอมป์ด้วย(อย่าแตะกัน),ฟังทดสอบทิศทางขาหัวเสียบของปลั๊กไฟAC ทุกเครื่อง(มีผลต่อมิติตรงกลางชัดหรือฟุ้ง)

       สรุป การจะฟังเพลงให้ไพเราะ สมจริง ได้บรรยากาศจำต้องพิถีพิถันทุกๆแง่มุม รวมถึงบางแง่มุมที่ดูเผินๆเหมือนไม่สลักสำคัญอะไรด้วยเช่นมิติตรงกลางนี้เป็นต้น

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459