|
"เสียงดี เสียงไพเราะ เป็นอย่างไร" โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ นักเล่น แม้ระดับอาจารย์ ชอบพูดว่า เสียงดี ขึ้นอยู่กับว่า หูใคร หูมัน เป็นความชอบที่ต่างกัน เป็นอย่างนั้นจริงหรือ จริงๆ มักเป็นข้ออ้าง ทางออก ของนักวิจารณ์ เพื่อ บัวไม่ช้ำ น้ำไม่ขุ่น ในการสรุปคำวิจารณ์มากกว่า เสียงดี (ไพเราะ ) คือ เสียงที่ฟังแล้ว สมจริง รับรู้ เข้าถึง อารมณ์เพลงนั้น อารมณ์ของนักร้องนั้นๆ นักดนตรีนั้นๆ สามารถดึงความสนให้เราจมดิ่ง ลืมสิ่งอื่นใด มีสมาธิดื่มด่ำแต่เสียงนั้นๆ เสียงดี ไม่หมายถึง เสียงครบ สเปคเนี้ยบ ชัดไปหมด ตื่นเต้นเร้าใจ ชำแหละทุกขุมขน โยนใส่เราไปเสียทุกสิ่งอย่าง เรียกร้องความสนใจไม่หยุดหย่อน จนขาดความผ่อนคลาย ในทางกลับกัน ก็ต้องไม่คลุมเคลือ เบลอขุ่นมัว หลบใน อ้อยอิ่งจนขาดความสด ชีวิตชีวา ฟังแล้วง่วงกิน เสียงที่ดี ต้องหลากหลายไร้บุคคลิกส่วนตัวที่จำเจ ดักดาน แบบ มองผ่านแว่นสี อมสีเดียวทั้งปีหรือ mono tone ไม่ว่า โทนเสียง ความฉับไว ความกังวาน มิติเสียง เวทีเสียง กี่เพลงๆ เพลงแนวไหน ก็ออกมาแนวเดียวกันหมด ฟังนานๆ น่าเบื่อ เซ็ง ตรงข้าม เสียงดี จะไร้บุคคลิคส่วนตัว หลากสีสัน เปลี่ยนไปตามการบันทึก ตามอัลบั้มนั้นๆ ถ่ายทอดความมีชีวิตได้ทุกแนวเพลง ไม่จำเจ ฟังแล้วลืมอุปกรณ์เสริม หรือตัวเครืุ่องเสียง หลักเอง ราคา งบประมาณ และเทคโนโลยี่ มิใช่ตัวกำหนดหรือหลักประกันในเรื่องของคุณภาพ ความไพเราะ ปัญหาคือ ผู้ออกแบบ ผู้ผลิต ผู้ติดตั้งชุด ทราบไหมว่า เสียงดี ถูกต้องเสียงธรรมชาติจริง เป็นอย่างไร มิใช่เพราะมี ดีกรีปริญญาโน่นนี่ หรือเพราะอาชีพนักร้อง นักดนตรี หรือ ความเก่าแก่ในวงการ หรืออ้างว่า เล่นมาเยอะ ฟังมาเยอะ (ซึ่งอาจเข้าใจอะไรๆผิดมาตลอด) เสียงที่ดีจริงไม่ต้องให้นักวิจารณ์ หรือนักเล่นมารับรอง ให้ตาสีตาสาที่ไม่รู้จักเครื่องเสียงเลยมาฟัง พวกเขาก็ยังบอกได้ว่า อะไรน่าฟัง ฟังแล้วสมจริงได้อารมณ์กว่า เช่นเดียวกับ ของอร่อย ไม่จำเป็นต้องบอก ผู้หญิงสวย ไม่จำเป็นต้องชี้แนะ เลิกเสียเถอะกับคำว่า " หูใคร หูมัน" มิเช่นนั้น จะกลายเป็น " โง่ใคร โง่มัน " www.maitreeav.com |