|
หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน >
ไดนามิคเรนจ์ ขาดไปก็เสียงเหี่ยว ( ตอน 2,จบ)
วันที่ : 12/10/2020
" ไดนามิคเรนจ์ ขาดไปก็เสียงเหี่ยว ( ตอน 2,จบ)" โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ จากตอน 1 จะเห็นว่า การสวิงเสียงได้กว้างจากค่อยสุดไปดังสุด หรือ Dynamic range เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญ ของเสียงที่สมจริง ดุจการแสดงสด 1. จัดให้ห้องฟังปลอดจากเสียงก้อง เสียงรบกวนใดๆทุกกรณี เพื่อเราไม่ต้องเร่งดังมาก จะได้ไม่เกินกำลังขับแอมป์มากไป และลำโพงรับไหว ความเพี้ยนทั้งคู่จะได้ต่ำที่สุด 2. หาลำโพงที่กินวัตต์ต่ำ คือ มีความไวสูง 90 dB/w/m. ที่ 8 โอห์ม ขี้นไป ยิ่งได้ถีง 95 dB/w/m ยิ่งแจ๋ว เร่งนิดเดียวดังลั่น(แต่ก็ต้องระวัง ลำโพงความไวสูง เสียงทุ้มมักอ่อนลงไม่ลึก) 3. ใช้ดอกลำโพงที่ความไวสูง ซึ่งแม่เหล็กมีความแรงสูงมาก บางดอกสั่งชาร์จแม่เหล็กมาแรงพิเศษสุดกว่าปกติถึง500เท่า ! ( ราคาไม่ต้องพูดถึง) แถมระบตู้แบบปากแตร( horn) ช่วยควบแน่นมวลอากาศหน้าดอกขึ้นไปอีก ยิ่งทำให้เสียงดังขึ้นมาก ลำโพงระบบปากแตร อาจให้ความดังได้ถึง 110 dB ถ้าเจอดอกพิเศษดังกล่าว รวมๆ อาจให้ความไวถึง 120-130 dB ระดับงานคอนเสริทได้เลย ( ดูพาชมชุดฟ้าสนั่น แผ่นดินสะเทือน ในเวบนี้) 4. ลดขนาดห้องฟังลง นั่งฟังใกล้ขึ้น จะช่วยเพิ่มความดังได้มาก ทำให้ไม่ต้องเร่งดังมาก 5. จูนชุด ด้วยวิธีการต่างๆ(ดู รายงานทดสอบ แผงดูดคลื่น Perfect Power RT-1 ทั้ง 3 ตอนในเวบนี้ ) เพื่อให้เสียงฟังคมชัด เป็นตัวตนดีที่สุด เสียงหลุดตู้100% มิติเปะ ลำโพงล่องหนหายไป เสียงฉับไว ทุ้ม /กลาง/แหลม หลอมเป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน จะฟังแล้ว เหมือนเสียงดังขี้นอีกพอควร โดยไม่ต้องเร่งดังมากๆ เลย ข้อ 1, 2, 4, 5 นี้ ไม่เหลือบ่ากว่าแรง นักเล่นทั่วไปที่กระเป๋าไม่หนัก ปฏืบัติได้ทุกท่าน หลังจากจัดการเรื่อง dynamic range ได้สมบูรณ์ รับประกันได้ว่าโลกแห่งการฟังเพลง ดูหนัง ของคุณจะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ! www.maitreeav.com |