000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > รีซีฟเวอร์ เครื่องเสียงที่มีประวัติ น่าสนุกที่สุดในโลก
วันที่ : 06/11/2023
1,361 views

"รีซีฟเวอร์ เครื่องเสียงที่มีประวัติ น่าสนุกที่สุดในโลก "

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

  เกือบ 60กว่า ปีมาแล้ว ไม่มีเครื่องเสียงอะไรจะสนุกและน่าตื่นเต้นเท่า เครื่องรับวิทยุหรือรีซีฟเวอร์ที่มีภาคขยายในตัวแบบ ตั้งโต๊ะ   มันเริ่มตั้งแต่ยุคเครื่องหลอดโมโน  จนถีงสเตอริโอ  แล้วมาสู่ยุคทรานซิสเตอร์  ในยุคทรานซิสเตอร์นี่แหละที่ความสนุกและความมันส์เริ่มต้นขึ้นและสิ้นสุดลง 
ด้วยการใช่ทรานซิสเตอร์หรือเรียกรวมว่า โซลิดสเทต  ทำให้เพิ่มกำลังขับได้มากขึ้นมาก ขณะที่ราคาเครื่องก็ถูกลงมาก อยู่ในระดับที่ชาวบ้านพอซื้อได้ ( แต่ผมว่า เสียงสู้เครื่องหลอดไม่ได้  มีแต่เปิดได้ดังกว่ามาก)

เครื่องรีซีฟเวอร์ จะใส่ลูกเล่นการปรับแต่งเสียงมามากกว่าเครื่องปรีแอมป์แยกชิ้นโดยเฉพาะปรีแพงๆ ลูกเล่นจะสู้รีซีฟเวอร์ไม่ได้เลย  ยกตัวอย่าง(ซึ่งเป็นสิ่งที่รีซีฟเวอร์98%ต้องมี)
1. ปุ่มปรับเสียง ทุ้ม แหลม แยกจากกัน 
2. สวิสช์โยกตัดวงจรปรับ ทุัมแหลมออก( FLAT)
3. ปุ่มกดยกทุ้มลึก ( LOUDNES ) 
4. ปุ่มกด ตัดความถี่ต่ำลึก และปุ่มกดตัดความถี่ปลายสูง บางทีเลือกความถี่ที่ ตัด ได้ด้วย ทั้งหมดไว้ใช้ตัดเสียงหึ่ง(RUMBLEมอเตอร์ และเสียงกร็อกแกร๊ก จากจานเสียง และเสียงซ่า ( NOISE) จากสายเทป ภาครับวิทยุ
5. บางเครื่อง แถมปุ่มยก-ลด เสียงกลางมาด้วย
6. ถ้าเป็นรุ่นสูง แพงหน่อย จะมีชุดปรับแต่งเสียง 5-7 ช่วงความถี่เสียงมาให้( EQUALIZER) เรียกว่า ปรับแต่งเสียงกันเพลินเตลิดเปิดเปิงไปเลย
7. ที่เหนือชั้นขึ้นไปอีก มีวงจรเพิ่มเสียงก้องกังวานมาให้ด้วย รุ่นแรกๆจะเป็นระบบรางปริง เสียงจะก้องแบบร้องในตุ่ม  รุ่นพวกนี้บางทีจะมีช่องเสียบไมโครโฟนมาให้ด้วย  รุ่นหลังสุดนับ10ปีต่อมา ระบบเสียงก้องจะใชั MEMMORY CHIP ที่เรียกว่า BUSKET BRISGET DEVICE , BBD). ปรับเสียงก้อง กังวานได้ เปิดโปร่งสมจริงกว่ามาก แต่มีปัญหาเสียงซ่าเบาๆแถมมาด้วย  เสียง/มิติ ออกมา แปลกๆปลอมๆอยู่ แต่ก็เพิ่มรสชาดไปอีกแบบ ( บางทีมีจอดวงไฟส่องโชว์การปรับด้วย)
8. ที่บ้าไปกว่านั้น คือมี ภาคสร้างจังหวะเสียงดนตรีให้มาด้วย กดเลือกได้ 4-5 จังหวะ  เรียกว่า  RYTHM สมัยนั้น ต้องซื้อแยก  นักเต้นลีลาศเอาไว้ฝึกเต้นรำ ( ที่พบกับตัวเป็นของยี่ห้อ Fisher ญี่ปุ่น SANYOที่มาซื้อกิจการ Fisherฝรั่ง
9.  จนมายุคสุดท้าย ที่เกิดระบบเสียงรอบทิศ หลักการ MATRIX ที่ผู้ผลิตแต่ละค่ายก็มีสูตรของตัวเองแตกต่างกันออกไป เช่น QS ของ Sansuiและ Pioneer, SQ ของ Sony, RM ของ Panasonic. เสียงรอบทิศหลักการคลื่นFM  เรียก CD-4 ของ JVC ทุกระบบ ฟังจากจานเสียงที่บันทึกมาพิเศษ


10.  สมัยนั้น รีซีฟเวอร์ทุกเครื่องจะมีภาคปรีจานเสียง ต่อฟังจากเครื่องเล่นจานเสียงได้ ( แต่หัวเข็มยังมีแต่แบบ MM  ไม่มีMC)
11.   ทั้งหมดจะมีช่องเสียบหูฟังแบบ Phone Jack หัวเสียบใหญ่
12. ทั้งหมดมีภาครับวิทยุ  AM/FM /FM Stereo ยืนพื้น (บางรุ่นอาจมีภาครับวิทยุ SW/LW) แบบเปลี่ยนค่าตัวเก็บประจุ พูดง่ายไปแบบปุ่มหมุน แสดงสถานีรับด้วยเข็มชี้มีไฟส่องสวยงามมาก ต่อมาพัฒนาเป็นภาครับแบบสังเคราะห์คลื่น  และยุคปลายๆเปลี่ยนจากการโชว์เข็มเป็นโชว์ตัวเลข และตั้งสถานีรับล่วงหน้าได้ถึง 21 สถานีไว้ให้กดเลือกได้ทันที ( ยุคแรกไปสุดกดตั้งด้วยการกดเลือกขดลวดแต่ละขดที่จูนไว้ล่วงหน้า แต่ได้แค่ 5-6 สถานี ซึ่งก็หรูหลายแล้วสมัยนั้น)
13. รีซีฟเวอร์ สมัยนั้น ปุ่มกด การปรับแต่งเสียง การเลือกแหล่งรายการ การหมุนหาความถี่วิทยุ จะเป็นแบบกลไกตรงๆ( อนาลอค) ไม่มีวงจรดิจิตอลใดๆให้เสียงแย่ลงอย่างรีซีฟเวอร์สมัยนี้( ทั้งปกติและเซอราวด์ ในปัจจุบัน ) 
14. ไม่มีดวงไฟและจอLED ใดๆที่มาป่วนคุณภาพเสียง เป็นมิเตอร์เข็ม และหลอดไฟจิ๋วส่องมิเตอร์และหน้าปัด มิเตอร์บอกกำลังขับ และ ช่วยการจูนคลื่นวิทยุ   ดูสวยงามมีเสน่ห์และศิลป
ให้ช่องเสียบไฟบ้านมาหลังเครื่องด้วย เผื่อเอาเครื่องเสียงอื่นมาเสียบใช้ไฟได้ด้วย
15.  รีซีฟเวอร์สมัยนั้น 95% จะสรวมอยู่ในกล่องไม้แท้สวยงาม คลาสสิคมาก
16. มีการแข่งกันโฆษณาลดความเพี้ยนTHD. (คู่ชกที่กัดกันไม่ปล่อย คือ MARANTZ กับ PIONEER )    2 ยักษ์ใหญ่นี้ ยังตามล้างตามเช็ดด้วยการแข่งกันเพิ่มกำลังขับกันอยู่เป็นปีๆ จนยกสุดท้าย PIONEER จัดให้ด้วยกำลังขับ 250 Wrms/CH ที่ 8 โอมห์ ตัวเครื่องมหึมา หนักโคตร ความเพี้ยนTHD. ประมาณว่า 0.001%  ครองแชมป์ไป  แต่ห้ามถามถึงสุ้มเสียง แข็งโป๊ก หาความน่าฟังเป็นดนตรีไม่ได้เลย ( คงใช้ภาคขยายแบบ class AB ที่ค่อนมาเกือบเป็น class B ตรงๆเพื่อปั้นกำลังขับสูงสุด แล้วใช้การป้อนกลับแบบลบ negative feedback เยอะๆเพื่อลด " ตัวเลขความเพี้ยนให้ต่ำที่สุด" เสียงจะอุบาทว์ได้ขนาดนั้น พูดง่ายๆ ขายสเปคอย่างเดียว ตามคำบัญชาของฝ่ายการตลาด.

รีซีฟเวอร์เริ่มเสื่อมความนิยม เมื่อคนหันมาฟังเพลงและข่าวสารทางโซเชียลมีเดีย ไม่ฟังทางวิทยุอีกต่อไป นอกจากผู้จัดรายการจะผูกใจแฟนคลับได้ถึงใจจริงๆ อีกอย่างคือ นักเล่นระดับหูทอง ต่างรู้ดีว่า แอมป์ที่มีภาครัฐวิทยุอยู่ภายใน จะบ่อนทำลายคุณภาพเสียงอย่างแรง จึงหันไปเล่นแต่ปรี /เพาเวอร์แอมป์แยกชิ้น หรือ อย่างแย่ที่สุดก็เล่นอินทริเกรทแอมป์(ปรี/เพาเวอร์ อยู่ในกล่องเดียวกัน)   แต่ก็เป็นเรื่องตลก ที่วงการปฏิเสธภาครับวิทยุ(tuner) แต่กลับยอมให้มีการใส่ภาครับสัญญาณคลื่นวิทยุดิจิตอล Blue tooth แถมวงจรดิจิตอลDAC เข้าไปอีก ซึ่งการรบกวนสาหัสกว่ามาก !

ปิดท้ายด้วยเรื่องเศร้า รีซีฟเวอร์ปัจจุบัน เสียง "น่าฟัง" สู้รุ่นเก่าที่ดีๆในอดีต ไม่ได้เลยเพราะใส่เข้าไปทั้งระบบดิจิตอล Blue tooth ระบบเสียงรอบทิศ ระบบภาพ จนเสียงหมดความเป็นผู้เป็นคนไปแล้ว ! 

เอวัง....วงการเครื่องเสียง

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459