000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > เหลือเชื่อ....เครื่องเสียง
วันที่ : 25/01/2016
8,797 views

เหลือเชื่อ....เครื่องเสียง

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ในวงการเครื่องเสียง มีปรากฏการณ์พิสดารบางอย่างที่มีผลต่อการฟังเสียงอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งขอยกตัวอย่างคร่าวๆได้แก่

        ฟังด้วยสายตา จากการวิจัยล่าสุดของศาสตราจารย์ชาวญี่ปุ่นพบว่า ความถี่เสียงที่สูงกว่าที่หูได้ยิน(ประมาณ 30 kHz ขึ้นไป) ร่างกายจะใช้ลูกตาเป็นตัวรับเสียง ไม่ใช่หู ซึ่งผมเองได้ลองพิสูจน์แล้ว โดยลองฟังเพลงที่มีความถี่สูงครบๆ ลำโพงเองก็น่าจะไปได้ถึง 28 kHz ปรากฏว่า ลืมตาให้มิติเสียง, ทรวดทรง 3 มิติ กว่าหลับตาฟัง ดังนั้น การทำหูฟังให้ตอบสนองความถี่สูงได้เกิน 25 kHz ก็ไม่จำเป็น

       ฟังด้วยร่าง จากการวิจัยพบว่า เสียงที่ความถี่ต่ำกว่า 25 Hz เรารับรู้ได้ด้วยโครงกระดูกของร่างกาย         ที่พูดว่า ห่อหุ้มสัมผัสผิว และจะรู้สึกเหมือนกำแพงห้องขยับโป่งเข้าโป่งออกได้(ในอดีต เคยมีระบบส่งเสียงความถี่ต่ำมากๆ ด้วยการส่งผ่านร่างกายไปเสริมกับเสียงที่ได้ยินด้วยหู ที่เรียกว่า BODY SONIC)

       ต่างคนต่างเสียง เครื่องเสียงชุดเดียวกัน เร่งดังเท่ากันทุกอย่าง แต่เสียงที่ออกมาต่างกันได้อย่างไม่น่าเชื่อ!เหตุผลคือ แต่ละคนมีประจุไฟฟ้าสถิตต่างกัน(หรือพูดอีกอย่าง มีคลื่น AURA ต่างกัน) ประจุไฟฟ้าสถิตที่เท้ากับที่ศีรษะจะต่างกันถึง 350 V. ถ้าถอดรองเท้าเหยียบพื้นดิน ที่เท้ากับศีรษะจะเท่ากันคือ 0 V.

       กลิ่นทำให้เสียงเปลี่ยน ผมเคยลองทาจมูกด้วยยาดม มิติเสียงเปลี่ยน อาจเกิดจากการขยายตัวของโพรงจมูกที่ต่อถึงท่ออากาศไปที่รูหู

       อาบน้ำก่อนฟังเพลง เสียงดีกว่า ผมประสบประจำ เป็นไปได้ว่า เป็นการระบายประจุไฟฟ้าสถิตของร่างเราลงดินตามสายน้ำ(ใช้ฝักบัว)ดังกล่าวแล้ว

       กลางคืนฟังเพลง เสียงน่าฟังกว่า นอกจากกลางคืนดึกๆ เสียงรบกวนรอบข้างน้อยกว่าแล้ว การดาวน์-โหลดข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต การใช้โทรศัพท์มือถือรอบๆบ้านเรา มีปริมาณลดลง การเล่น PC น้อยลง ระบบไฟ AC จึงสะอาดกว่า นิ่งกว่า คลื่นวิทยุ(RF) กวนก็น้อยกว่ามาก (พวก WIFI) เครื่องเสียงทำงานได้เที่ยงตรง แม่นยำยิ่งขึ้น ลำโพงถูกคลื่น RF กวนลดลง

       ลำโพงเกิน 1 คู่ในห้อง นักเล่นบางท่านมีลำโพงที่ไม่ได้ต่อใช้วางทิ้งไว้ในห้องเสียง ลำโพงที่ไม่ได้ใช้เหล่านี้จะเป็นตัวป่วนคุณภาพองเสียง โดยเฉพาะรายละเอียดและมิติเสียง ทรวดทรงชิ้นดนตรี ความนิ่ง     เวทีเสียง เนื่องจากพลังเสียงจากลำโพงที่เปิดเล่นอยู่ละไปกระแทกกรวย(โดม) ของลำโพงที่ไม่ได้ต่อใช้     ให้ขยับเข้า-ออก กระพือสั่นไม่หยุด รบกวนเสียงจริงที่ออกมาจากลำโพงที่กำลังฟังอยู่ ทางแก้คือต้องทำการช๊อตขั้วลำโพงบวก-ลบของตู้ลำโพงที่ไม่ใช้เหล่านั้น(ดีที่สุดคือ ช๊อตบวก-ลบที่ตัวดอกลำโพงของตู้นั้นๆเลย) เพื่อเพิ่มการหยุดขยับของกรวย(โดม) ให้กระชับ, เร็วขึ้น ไม่สั่นค้าง

       ในการฟังเสียง 2 CH (สเตอริโอ) ลำโพงคู่เดียว ด้วยชุดเครื่องเสียงเซอราวด์(ลำโพงหลัง 1 คู่ , เซนเตอร์ 1 ตู้) แม้กดเลือกมา 2 CH แต่ดอกลำโพงจากตู้ที่ไม่ใช้ทั้ง 3 ตู้นั้น(หลัง 2,เซนเตอร์ 1) จะสั่นกระพือ ส่งแรงดันไฟฟ้าย้อนกลับไปป่วนคุณภาพเสียงได้ (BACK EMF) ดีที่สุดคือต้องถอดสายลำโพงออกจากภาคขยาย(ตู้ที่ไม่เปิดเสียงนั้น) จากนั้นจัดการช๊อตบวก-ลบที่สายเสียงที่ตู้เซอราวด์และเซนเตอร์

       ว่าไปแล้ว แม้ฟังอย่างเซอราวด์ แรงอัดอากาศจากลำโพงแต่ละตู้ในระบบที่กำลังส่งเสียงอยู่ ก็ยังส่งลมอัดไปรบกวนกันเอง(เกิด BACK EMF) อยู่ดี การฟังสเตอริโอ 2 CH ตู้ลำโพงซ้าย,ขวา ก็ก่อเกิด BACK EMF กวนกันอยู่ดีเช่นกัน การกวนจะมีผลมากขึ้นถ้าภาคขยายลดการสั่นค้างของดอกลำโพงได้ไม่ดี (เรียกว่า DF หรือ DAMPING FACTOR ต่ำ) การต่อภาคขยายแบบ ไบ-แอมป์ ไม่ผ่านวงจรแข่งความถี่เสียงของระบบลำโพง(PASSIVE CROSSOVER NETWORK) จะทำให้ค่า DF ดีขึ้นมา การป่วนกวนกันเองจะมีผลลดลง เสียงจะสด ,เร็ว ,กระจ่างยิ่งขึ้น

       ฟัง FM โมโนเสียงสบายหูกว่า ลองฟังวิทยุ FM ด้วยหูฟัง จะพบว่าถ้ากดการรับจาก FM สเตอริโอ (MULTIPLEX) ไปเป็น FM โมโน(จากสถานีที่ส่งแบบสเตอริโอ MULTIPLEX) จะพบว่าฟังสงบ สงัด โปร่งโล่ง หมดจด กว่าตอนฟังเป็นสเตอริโอ เหมือนกับว่าอะไรบางอย่างที่รบกวนจิตใจได้หายไป นั่นคือ ความวูบวาบของการสวิชส์สลับให้เราฟังซ้ายที,ขวาที เพื่อส่งสัญญาณ 2 ชุด (ซ้าย,ขวา) มาให้เราฟังเป็นซ้ายพร้อมกับขวาได้ด้วย เครื่องส่ง FM ความถี่เดียว (เรียก ระบบ MULTIPLEX) อาการสลับนั้นหายไป

       ก็เหมือนการดูย้อนกลับไปดูหนังจากวิดิโอเทปไฮ-ไฟ, จากแผ่นเลเซอร์ดิสท์ (CD) ซึ่งบันทึกสัญญานภาพแบบครบทุกเม็ดภาพลงไปในแต่ละกรอบภาพที่ให้เราดู ต่างจากดุจากแผ่น VCD ,DVD ,Bluray ที่เรารู้สึกว่า เหมือนมี “อะไร”บางอย่าง รบกวนจิตใจตลอดเวลา (ในระดับจิตใต้สำนึกหรือ subconscious) เนื่องจากแผ่นภาพพวกนี้ใช้การ “ปะผุ” ปะติดปะต่อเม็ดภาพในแต่ละกรอบภาพที่เราเรียกว่า ระบบ MPEG ทั้งหลายเป็นการตัดเติม ตัดแต่ง เพื่อลดปริมาณข้อมูลในแต่ละกรอบภาพให้เหลือเท่าที่จำเป็นจริงๆ

        สายภาพทำให้เสียงเปลี่ยน ไม่ว่าคุณจะใช้สายภาพระบบไหน (composite หัวเหลือง ,สาย component ,สาย S-VIDEO ,สาย HDMI) ล้วนมีผลต่อคุณภาพเสียง เมื่อคุณเปลี่ยนสายนั้นๆให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือแย่ลง หรือแม้แต่ลองเสียบย้อนทิศดู ขนาดว่ากำลังฟัง CD ไม่ได้ดูหนัง สายภาพนั้นก็ยังมีผลเช่นกัน(ไม่มีสัญญาณภาพออกด้วย) เนื่องจากคลื่นวิทยุความถี่สูงที่แทรกเข้าไปในสายทั้งจากอากาศหรือจากเครื่องเล่น(Interference) มันมองเห็นทิซทางของผลึกโมเลกุลของสายที่ต่างกัน เมื่อเดินตามหรือย้อนทิศสาย หรือตามคุณภาพสายซึ่งสัญญาณรบกวนนี้ จะเปลี่ยนไปตามสายภาพ และสัญญาณกวนนี้จะย้อนไปรบกวนเครื่องเล่น แผ่น(วงจรเสียง ,วงจรภาคจ่ายไฟ), จอภาพ(ที่รับสัญญาณภาพ) คุณภาพ,ทิศทางสายภาพ มีผลว่าจะส่งทอดสัญญาณภาพไปยังวงจรจอภาพได้หมดจดแค่ไหน มีตีกลับมาป่วนเครื่องเล่นมากน้อยแค่ไหน(จึงมีผลต่อเสียงแบบกรณีคลื่นรบกวน RF)

       ทำไมจึงมี “เสียงญี่ปุ่น” , “เสียงอังกฤษ” เป็นที่สงสัยข้องใจกันมานานว่า ทำไมเครื่องเสียงญี่ปุ่นจึงมักมีบุคลิกจำเพาะอันหนึ่งเสมอ แม้ต่างยี่ห้อ หรือ เครื่องเสียงอังกฤษ หรือ เยอรมัน ก็จะมีบุคลิกเฉพาะของแต่ละประเทศ แม้จะต่างยี่ห้อกันแต่มาจากประเทศเดียวกัน

       จากการนำประชากรประเทศญี่ปุ่นมาตรวจสอบการได้ยินในแง่ “ความถี่ตอบสนอง (Frequency Response)” พบว่า เฉลี่ยคนญี่ปุ่นจะมีกราฟการได้ยินต่างจากประเทศอื่นๆ ซึ่งกรณีนี้น่าจะเกิดกับคนเยอรมัน,อังกฤษเช่นกัน พวกเขาจึงจูนเสียงเพื่อ “หู” ของพวกเขา ในประเทศของเขา

       การตอบสนองที่ต่างกัน อาจจะเกิดจากตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของแต่ละประเทศ ต่างๆกันไป ยังมีผลให้สรีระการได้ยิน, จิตประสาททางสมองแตกต่างกันไปได้

       เครื่องเสียงญี่ปุ่นบางรุ่นถึงกับจ้างคนยุโรปมาจูนเสียงเพื่อส่งขายในยุโรป และก็ขายได้ดีด้วย

        ถ่านรีโมททำให้เสียง,ภาพ เปลี่ยน แม้ว่ารีโมทจะแค่ส่งสัญญาณ(PULSE) รูปสี่เหลี่ยมไปควบคุมยการใช้งานของเครื่อง แต่เอาเข้าจริง คลื่นรูปสี่เหลี่ยมที่ส่งไปมันเกิดการบิดเบี้ยว ไม่ใช่เป็นรูปสี่เหลี่ยมเป๊ะ จะบิดเบี้ยวมากน้อยขึ้นอยู่กับคุณภาพคีย์กดของรีโมท(กดแล้วเด้งซ้ำหรือไม่...bouncing) ,คุณภาพของถ่านรีโมทที่ใช้ ,แนวยิงสัญญาณรีโมท ว่าตรง ,ตั้งฉากเป๊ะกับรูรับสัญญาณหน้าเครื่อง หรือยิงเฉียงๆ ยิงไปสะท้อนโน่นนี่ก่อนเข้ารูรับ สัญญาณที่บิดเบี้ยวจะกลายเป็นสัญญาณรบกวน(NOISE) แถมเข้าสู่ตัวเครื่อง ไปป่วนทุกๆภาคในเครื่อง ทั้งวงจรภาพ ,วงจรเสียง ,วงจรภาคจ่ายไฟ แม้วงจรรับสัญญาณรีโมทจะมีความสามารถอ่านคำสั่งจากคลื่นที่ส่งมาได้ (แม้จะบิดเบี้ยวไปแล้ว) ก็ตาม

       คลื่นวิทยุความถี่สูงรอบตัวเรามีผลเช่นกัน ปัจจุบัน ในยุคแห่งการสื่อสารไร้สายด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงมากๆ จะมีคลื่นเหล่านี้(HIGH FREQUENCY) ตลบอบอวลอยู่รอบๆตัวเราตลอดเวลา ทั้งจากระบบโทรศัพท์มือถือ(จาก Cell site เครือข่ายและจากมือถือของเราเอง) ,จากระบบ WIFI เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต    ไร้สาย(แม้แต่แบบสาย LAN ก็กระจายคลื่นออกมาด้วย) ,WIFI ตามที่สาธารณะ ,ตามสถานศึกษา ,โรงแรม(ตามห้องพักด้วย) ,สถานที่ราชการ ,สถานที่ทำงาน ,ร้านอาหาร ,จากจุดแพร่ริมถนน(HOT SPOT) ,จากในบ้านของเราเองและจากภายนอก(HOT SPOT และ เพื่อนบ้านข้างเคียง ทะลุผ่านตึกแถว 3 คูหาได้สบายๆ)     ,จากจอ LED ,จอ PLASMA ,จากรีโมท(แม้ไม่กดใช้งาน) ,จากนาฬิกาควอตซ์ข้อมือ หรือภายในห้อง ,จากคอมพ์ PC ,จาก Labtob เช่น iPad ,จากระบบกันขโมยไร้สาย ,จากระบบหรี่ไฟ ,รีโมทประตูรั้ว(โรงรถ), ฯลฯ

       สัญญาณคลื่นความถี่สูงเหล่านี้ล้วนป่วนคุณภาพของเสียงและภาพ ทั้งผ่านทางอากาศและผ่านระบบไฟ AC บ้าน

       ทำให้คุณภาพเสียง(ภาพ) ผีเข้าผีออก เดี๋ยวหลุดลอย เป็นตัวตน เดี๋ยวถอย จม ฟุ้ง แกว่ง ไม่นิ่ง เดี๋ยวคลุมเครือ เดี๋ยวคมชัดมีรายละเอียด(ผิวสัมผัส)

       นับวัน ปัญหานี้จะสาหัสขึ้นเรื่อยๆอย่างน่ากังวลยิ่ง ป้องกันและแก้ได้ยากมากๆ

       ฝนตกเสียงแย่

        ถ้าท่านมีเครื่องตรวจสอบความเพี้ยนในกระแสไฟ AC จะพบว่า เวลาฝนตก(ในหน้าร้อน) ยิ่งถ้ามีฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ตัวเลขความเพี้ยนนั้นจะพุ่งสูงอย่างน่าตกใจจาก 0.1% เป็น 3% (30 เท่า!) ซึ่งฟังออกว่า เสียงจะกร้าว ,เกร็ง ,เครียดขึ้น ไม่ผ่อนคลาย ขาดความกลมกล่อม แต่ถ้าหน้าหนาว อาการเพี้ยนนี้จะน้อยกว่า แม้ตัวเลขความเพี้ยนจะสูสีกับหน้าร้อน

        เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องตัวดี

       เชื่อหรือไม่ เครื่องใช้ไฟฟ้าที่เสียบปลั๊กไฟ AC แช่ไว้ แม้จะไม่ได้เปิดใช้(ปิดอยู่...OFF) แต่ล้วนจะมีผลต่อคุณภาพเสียงทั้งสิ้น เนื่องจากคลื่นความถี่สูงขยะ (RF) รอบๆตัวเราที่แทรกเข้าไปในสายไฟ AC ของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้น สามารถกระโดดข้ามสวิชส์ปิด-เปิดของเครื่องเหล่านั้นได้ วงจรของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้นๆจึงยังคงร่วมอยู่ในระบบไฟ AC บ้านที่เครื่องเสียง(ภาพ)ของเรา เสียบใช้อยู่เช่นกัน ที่ฟังค่อนข้างชัดคือ มิติเสียงแย่ลง ทางแก้คือ ต้องดึงสายไฟ AC ของเครื่องใช้ไฟฟ้าเหล่านั้นออกเลย

       สรุปท้าย

       ในเรื่องของเครื่องเสียง เป็นสิ่งที่ละเอียดอ่อนอย่างยิ่งยวด และมนุษย์ใช้ได้ถึง 2 ตัวรับ(2 หู ซ้าย,ขวา) ในการจับเสียง รวมทั้งผิวสัมผัสตลอดร่างหรือแม้แต่ต่อคลื่นสมอง(อันส่งผลทางอ้อมถึงคุณภาพเสียง) จริงๆแล้ว ยังน่าจะมีอีกหลายองค์ประกอบที่มีผลต่อการฟังเพลงซึ่งบางอย่างก็เหลือเชื่อและคงต้องค้นคว้ากันต่อไป

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459