000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > ข้อควรระวังในการใช้หูฟัง
วันที่ : 31/10/2015
17,514 views

ข้อควรระวังในการใช้หูฟัง

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ปัจจุบันหูฟัง ( HEAD PHONE ) กำลังได้รับความนิยมมากขึ้นๆทุกที สอดรับกับความนนิยมฟังจากเครื่องเสียงพกพา ไม่ว่าจากเครื่องเล่นพกพา หรือ จากโทรศัพท์มือถือจึงเป็นความจำเป็นที่จะต้องรู้ว่า การฟังด้วยหูฟังมีข้อควรระวังอะไรบ้าง

  1. หลีกเลี่ยงการฟังในที่ๆหนวกหู มีเสียงรบกวนมาก เนื่องจากทำให้ต้องเร่งเสียงดังมากๆเพื่อหนีเสียงรบกวนภายนอก จนน่าจะเป็นอันตรายต่อหู
  2. จากข้อ1 ถ้าจำเป็น ให้หาหูฟังที่ปิดผนึกกันเสียงรบกวนจากภายนอกได้ดี เช่น แบบแยงรูหู ( IN EAR )? แบบครอบใบหูสนิท (ปิดผนึก )? หลีกเลี่ยงแบบแปะหู (ON EAR) ?แม้เป็นแบบแยงรูหูก็ต้องเลือกแบบที่ปิดผนึกกระชับแน่น
  3. จากข้อ 1 ถ้ามีงบประมาณพอก็หาหูฟังที่มีระบบลดเสียงรบกวนแบบป้อนย้อนกลับ (ACTIVE NOISE CANCELLATION หรือ ANC) ซึ่งต้องใส่แบตด้วย ระบบนี้จะใช้การฆ่าเสียงรบกวน มักแพงกว่าระบบปกติที่ไม่มี ANC ประมาณ 2-3 เท่า และต้องคอยเปลี่ยนแบต อีกทั้งจะลดทอนคุณภาพเสียงไม่มากก็น้อย (10 % เป็นอย่างน้อย)

??? หูฟัง IN EAR ดีๆรุ่น 2 พันกว่าบาทขึ้นไป มักให้ชุดยางผนึกหูมาให้เลือกหลายๆขนาดเพื่อเลือกให้เข้ากับหูแต่ละคน ถือเป็นระบบป้องกันหรือแยกเสียง รบกวน ( ISOLATION ) จะได้ผลประมาณ 80-85 %ของแบบ ANC

  1. จากข้อ3 ยิ่งหูฟังปิดผนึกกันเสียงภายนอกได้ดีแค่ไหน หรือมีระบบ? ANC ดีแค่ไหนยิ่งต้องระมัดระวังในการใช้งาน อย่าใช้ขณะเดินอยู่ริมถนนในจุดเสี่ยงจากอุบัติเหตุ เพราะอาจไม่ได้ยินเสียงเตือนใดๆ (รถไฟ รถยนต์)
  2. ถ้าเมื่อไรถอดหูฟังออกแล้วรู้สึกหูอื้อ ไม่ได้ยินเสียงจากภายนอกหรือแทบไม่ได้ยิน แสดงว่า เราเร่งวอลลูมดังเกินไปแล้ว
  3. ถ้าเลือกได้ ควรหาที่ฟังที่เงียบสงบจะดีที่สุด
  4. ระวังโรคติดต่อทางหู จากก่รใช้หูฟังร่วมกันโดยเฉพาะแบบแยงรูหู ถ้าติดเชื้อแล้วอาจถึงขนาดต้องผ่าตัดหูหมดเงินหลายหมื่นบาทและมักไม่หายด้วย จึงไม่ควรใช้หูฟังแบบแยงรูหูร่วมกัน
  5. หรี่เสียงค่อยไว้ก่อนทุกครั้งที่จะเปิด หรือ เสียบหูฟัง หรือตรวจดูวอลลูมเสียงให้ต่ำๆไว้ก่อนทุกครั้ง
  6. หลีกเลี่ยงารใช้หูฟังคุณภาพต่ำ ไม่ว่าแบบเสียงจัดจ้าน (แสบแก้วหู) หรือทึบไม่โปร่งใส ไม่ชัดเจน เพราะจะทำให้เผลอเร่งเสียงดังมากขึ้นๆจนเป็นอันตรายต่อหูได้ หรือหูฟังที่ทำมาผิดพลาด เช่น เสียงข้างหนึ่งทึบอีกข้างหนึ่งโปร่งใส ข้างหนึ่งเป็นตัวตนอีกข้างแบน ข้างหนึ่งชัดเจนอีกข้างคลุมเครือ หรือกดการสวิงเสียงไว้เหมือนเร่งวอลลูมไม่ขึ้น (ดูเสริมบทความเรื่อง ?ต้นเหตุหูเสียที่คุณอาจคาดไม่ถึง? โดยคุณไมตรี ทรัพย์อเนกสันติ )
  7. ใช้อย่างมีมารยาท ไม่เร่งดังจนรั่วออกไปรบกวนคนนั่งหรือยืนข้างๆ อาจทำให้เกิดเรื่องโต้เถียงทะเลาะกันเป็นเรื่องเป็นราวได้
  8. สำหรับเครื่องเล่นพกพาที่มีปุ่มกดเลือกยกเสียงทุ้ม แหลม ให้กด ?EQ? 0ff ไว้ก่อนเพื่อเปิดโอกาสให้หูปรับการรับฟังเสียงด้วยตัวมันเองก่อน ถ้าไม่พอจริงๆ จึงค่อยแต่งเสียงช่วย การยกเสียงทุ้ม, แหลมมากไปหูก็เสียได้ บางเครื่องมีฟังก์ชั่นเลือกเสียงเซอราวด์ จริงๆ ไม่ควรใช้ เสียงจะแบน บาง โหว่งๆ กลวงๆ เพี้ยน ฟังนานๆหลอกหู ชวนอาเจียนได้
  9. ไม่ควรใช้หูฟังบลูทูธไร้สายแบบเสียบหูข้างเดียว (รับสัญญาณจากโทรศัพย์มือถือ) หรือแม้เป็นหูฟังธรรมดาแต่เสียบฟังหูเดียว?? เพราะใช้ไปนานๆหูสองข้างจะรับรู้ได้ต่างกัน? ทำให้การรับรู้เสียงจริงเพี้ยนไปหมด (หูฟังบลูทูธรับ-ส่งคลื่นวิทยุอาจทำให้เป็นมะเร็งสมองได้)
  10. ไม่ควรใช้หูฟัง IN EAR แช่นานเกิน 2 ชั่วโมง? ควรหยุดพักถอดออกจากหูบ้างเพื่อลดอาการเกร็งที่ก้านคอที่เกิดกับบางคน

มาทำความรู้จักกัน

?????? อจ. ไมตรีทรัพย์อเนกสันติ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าอีเล็คโทรนิคจากสถาบันเทคโนโลยี่พระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง ( KMIT ) รุ่น 9? อจ.คว่ำหวอดอยู่วงการเครื่องเสียงและภาพมาร่วม 40 ปี? เล่นเครื่องเสียงตั้งแต่อายุ 12 ปี ตั้งแต่ยุคจานเสียงครั่งไขลาน,เครื่องหลอด? อจ.เขียนบทความและบทวิเคราะห์ทดสอบเครื่องเสียงมาประมาณ 40 ปีประสบการณ์โชกโชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ? อจ.ยังเชี่ยวชาญด้านเครื่องเสียงรถเกือบ 30 ปีทั้งนักทดสอบ วิจารณ์และกรรมการตัดสิน?? ปัจจุบัน อจ. อายุย่างเข้า 62 ปี ท่านที่อยากพูดคุยติดต่อ อจ.ได้ที่ โทร 081-6405308 ( เฉพาะ กลางวัน ) หรือที่อีเมล์ ?ma?tre av @gmail.com

?? ????อจ.จัดรายการวิทยุ FULL SIDE AV สาระเครื่องเสียงและภาพ ทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยราชมงคล ธัญญบุรี คลื่น FM 89.5 mhz ทุกเช้าวันอาทิตย์เวลา 10-11 โมง สามารถโทรเข้าไปถามสดหรือ? SMS ?หรือฝากข้อความที่อีเมลของ อจ.ได้? ท่านที่ไม่สะดวกในการรับฟังทาง FM ก็รับฟังทางเว็บไซค์? WWW.895 SWEET.COM ได้ทั่วประเทศ ( ทั่วโลก ) ( ฟังได้จากสมาร์ทโฟน

Ipad ,Galaxy,pc

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459