000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > สถานณการณ์ตลาดเครื่องเสียงไฮเอนด์โลก
วันที่ : 29/01/2016
7,319 views

สถานณการณ์ตลาดเครื่องเสียงไฮเอนด์โลก

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

วงการไฮเอนด์ไม่ใช่แค่วงการนักเล่นเศรษฐี หากแต่มันยังเป็นตัวขับดันให้วงการระดับล่างต้องปรับตัวด้วย ปีใหม่นี้ตลาดเครื่องเสียงไฮเอนด์ น่าจะยังคงซบเซาต่อไป เนื่องจากหมดมุขที่จะสร้างความน่าสนใจต่อพวกเศรษฐีทั้งหลาย หลังจากก่อนหน้านี้ วงการผู้ผลิตไฮเอนด์ แห่กันทำอะไรที่มันใหญ่ๆเข้าไว้ แล้วก็ตั้งราคาขายสุดโต่งอย่างหาสาระไม่พบ(แพงกว่าเครื่องมือแพทย์, ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์, รถ, บ้าน) โดยคาดว่า จะใช้ราคาที่แข่งกันแพง เป็นแรงจูงใจ

       อย่าลืมว่า ผู้ซื้อรุ่นพ่อได้ล้มหายตายจากไปเกือบหมด ปัจจุบันเป็นรุ่นลูกที่เป็นคนรุ่นใหม่ติดระบบ IT, Social พวกเขาอยู่กับการติดต่อสื่อสาร การเคลื่อนไหว ความคล่องตัว เข้าเร็วออกเร็ว ไม่คิดมากและจมทุน ไม่ลึกซึ้ง ฉาบฉวย ไม่นิยมใช้เครื่องเสียงเป็นตัวบ่งบอกฐานะ จะหันไปใช้รถและบ้านมากกว่า จะเห็นว่า แนวคิดเหล่านี้ส่วนใหญ่ขัดแย้งเกือบจะสิ้นเชิงกับ พฤติกรรมการเล่นเครื่องเสียงไฮเอนด์เลย จึงไม่สงสัยเลยว่า ทำไมวงการไฮเอนด์จึงอับเฉาลงทุกวัน

       ขณะเดียวกัน การที่ผู้ผลิตลำโพงหันมาเพิ่มคุณภาพของหูฟังมากขึ้นๆ แม้จะไม่ได้วิเศษมหัศจรรย์พันลึกอะไรได้มากนัก แต่การพิถีพิถันมากขึ้นก็เพียงพอแล้วที่จะเรียกร้องความสนใจจากทั้งนักเล่นเศรษฐีและนักเล่นระดับกลางที่จะยอมลงทุนกับหูฟังระดับดีถึงดีเยี่ยม

       หูฟังคุณภาพสูงเหล่านี้ได้สอนให้พวกเขารู้ว่า เสียงที่ดีเป็นอย่างไร(แม้มิติเสียงอาจยังไม่ได้มากนัก) โดยไม่เห็นจำเป็นต้องลงทุนกับชุดเครื่องเสียงราคาแพงๆเป็นแสน เป็นล้าน หลายๆล้านบาทอะไรเลย

       สำหรับคนหาเช้ากินค่ำ เดี๋ยวนี้หูฟังแค่พันกว่าบาทบางรุ่น กับเครื่องเสียงพกพาหรือแค่โทรศัพท์มือถือที่โหลดเพลงจาก PC หรือ NET ก็ให้เสียงที่พอๆกับชุดเครื่องเสียงระดับหลายๆหมื่นบาทได้แล้ว ยิ่งถ้าเป็นหูฟังระดับไฮเอนด์หมื่นกว่าบาทถึงสี่หมื่นกว่าบาท เสียงที่ได้อาจน้องๆชุดไฮเอนด์บ้านระดับเป็นล้านบาทได้

แล้วอย่างนี้ จะยังมีใครลงทุนกับเครื่องเสียงไฮเอนด์อีก ระบบหูฟังย้ายไปฟังที่ไหน, เมื่อไรก็ได้ด้วย

       ประการสุดท้ายที่สำคัญที่สุดคือ ผู้ผลิตและผู้ขายเครื่องเสียงไฮเอนด์เอง หูยังไม่ถึงขั้นเทพที่จะออกแบบ, ผลิต หรือสาธิต เสียงระดับ “สมจริง” ให้ลูกค้าฟังได้ จึงไม่สามารถสร้างความประทับใจอย่างยิ่งยวดให้ลูกค้าต้องยอมควักเงินเป็นแสนๆเป็นล้านๆบาทสำหรับชุดไฮเอนด์ได้

       พูดง่ายๆว่า ปัจจุบัน จ่ายเงินไม่มากนักกับระบบหูฟัง หรือแม้แต่ระบบเครื่องเสียงบ้าน ก็สามารถให้คุณภาพเสียง, มิติเสียง ได้ดีเกินพอแล้วสำหรับหูของนักฟังทั่วๆไป ยิ่งถ้าติดตั้งปรับแต่งชุดระดับเทพ เสียงมีสิทธิ์กินชุดเรือนล้านได้สบาย

       จึงเป็นการยากและต้องลงทุนสูงมากที่จะดีดตัว, โดดเขยิบคุณภาพให้ดีขึ้นอีกสัก 5-10% อาจต้องจ่ายเป็น 10 เท่าขึ้นไป ผนวกกับผู้ผลิตเครื่องเสียงไฮเอนด์ที่ยอดขายเตี้ยลงทุกวัน ทำให้ต้องเพิ่มราคาสูงขึ้นๆเพื่อชดเชยกับยอดขายที่น้อยมาก(ตรงข้ามกับสินค้าที่ขายแบบมวลชนหรือ MASS) เราจึงได้เห็นราคาเครื่องเสียงไฮเอนด์ที่สูงลิบลิ่วอย่างหาเหตุผลไม่พบ คุณภาพไม่สมราคาต่อไปในปี 2556 นี้

       ในอดีต บทความทดสอบของนักวิจารณ์ในนิตยสารใต้ดิน บนดิน ต่างๆจะมีผลมากต่อการตัดสินใจซื้อของเศรษฐีทั้งหลาย แต่ปัจจุบันที่สังคมออนไลน์(Social Network)มาแรง ข้อมูล, ความคิดเห็น สามารถถูกระดมมาได้จากทั่วโลกต่อผลิตภัณฑ์ตัวใดตัวหนึ่ง ต่อให้นักวิจารณ์จะเชียร์ให้ตายอย่างไร ถ้าความเห็นจากนักเล่นทั่วโลกสัก 4-5 รายระบุว่า ซื้อมาแล้วเป็นอย่างไร ดี-เลวแค่ไหน เท่านี้ ก็พลิกหรือยืนยันคำวิจารณ์นั้นๆได้แล้ว

       ข้อวิจารณ์จากนิตยสารและสื่อสาธารณะจึงไม่ทรงอิทธิพลอีกต่อไป ข้อวิจารณ์จะศิกดิ์สิทธ์หรือไม่จึงอยู่ที่กึ๋นส์(GUTS) ของแต่ละนักวิจารณ์ทดสอบนั้นๆอย่างแท้จริง สื่อสธารณะเหล่านั้นจึงมีอิทธิพลลดลงทุกวัน(หลอกกินได้แต่ ผู้ผลิตเครื่องเสียงหน้าใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่วงการ)

บางทีก็ไม่ใช่ความผิดของนักวิจารณ์ตามสื่อ หากแต่ด้วยการด้อยประสบการณ์ ความรอบรู้ที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อน วิสัยทัศน์ที่ยังไม่กว้างพอ ทำให้การวิจารณ์นั้นๆมีจุดโหว่ หรือถึงขนาดผิดพลาดอย่างไม่น่าเชื่อ

       ปัญหาคือ พวกเขาอาจพยายามทำให้อย่างดีที่สุดแล้ว เพราะการจะสร้างนักวิจารณ์, ทดสอบ ระดับสมบูรณ์แบบนั้น เป็นเรื่องยากมากๆ ต้องสั่งสมประสบการณ์นับ 30 ปีขึ้นไป ต้องเกิดมาเพื่อเป็นและทุกลมหายใจเข้าออกต้องหมกมุ่นจริงๆอย่างถึงแก่นใน อยู่ในสายเลือด

       บอกได้เลยว่า นักวิจารณ์ดังกล่าวหาได้ยากมากๆ ทั่วโลกแทบหาไม่พบ หลายคนตายระหว่างทางเพราะตกหลุมพรางแห่งผลประโยชน์ ท้ายสุดก็หมดความเชื่อถือไป

       ยิ่งยุคสื่อสารถึงกันหมด(Social) นักวิจารณ์ไหนเป็นอย่างไร ก็รู้กันหมด ไม่ดีจริง ไม่แน่จริง ไม่เข้าข้างผู้บริโภคจริง ตายอย่างเขียดหรือไม่มีวันรุ่งแน่นอน

       วงการไฮเอนด์ค่อนข้างแคบและเปราะบาง รู้จักกันไปหมด มีแต่ความเกรงใจกันทั้งผู้ผลิตและสื่อ พึ่งพากันหนัก จนไม่มีใครอยากพูดความจริงอันเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภค ทุกอย่างจึงว่ายวยในอ่างเล็กๆ วงการจึงโตไม่ได้ มีแต่คำวามจำเจเดิมๆ ความคิดเดิมๆ คนหน้าเดิมๆ วงจรอุบาทว์เดิมๆ ปล่อยให้ผู้บริโภคถูกหลอกด้วยความจริงครึ่งเดียว หรือจริงไม่ตลอด เช่น

       ต้องเล่นเครื่องหลอด จึงจะเสียงดี, เป็นไฮเอนด์(เครื่องหลอดมีเสน่ห์เตะหู แต่ก็อาจไม่เที่ยงตรง เสียงจำเจ และไม่ใช่ทุกเครื่องจะเสียงดีเหมือนกันหมด)

       ต้องเล่นจานเสียง จึงจะเป็นธรรมชาติ เป็นไฮเอนด์(โดยการสาธิตแต่มาสเตอร์ที่บันทึกโบราณ ไม่เคยสาธิตจากเพลงสมัยใหม่ มาสเตอร์ปัจจุบันที่จะโชว์จุดอ่อนของระบบจานเสียง)

       ต้องภาคขยาย class A แท้เท่านั้นจึงจะเสียงดี (แต่ไม่เคยสาธิตกับเพลงที่สวิงเสียงกว้างๆซึ่งต้องใช้กำลังขับสูงๆ ซึ่ง class A เกือบทั้งหมดกำลังขับต่ำมาก อีกทั้งปัจจุบัน เทคนิคใหม่ๆลูกผสมเช่น class AB, class A/D ก็ให้รายละเอียดไม่แพ้ class A แล้ว แต่ราคาสูงกว่ามาก)

       ลำโพงที่ดีต้องแกร่งดุจขุนเขา หนักเหมือนรถถัง(มันก็จริงอยู่ มันช่วยให้เสียงนิ่ง, ไม่แกว่ง, หลุดตู้ได้ดี, รายละเอียดดีเยี่ยม, ตอบสนองฉับไว แต่ “ความเป็นดนตรี” และ มันมีเสน่ห์น่าฟัง มีจิตวิญญาณหรือไม่)

       ทำอุปกรณ์เสริม(ACCESSORIES) หรือเครื่องเคียง(รอมสายต่างๆ) ที่ยกเทคโนโลยีถึงระดับโมเลกุลหรือแช่แข็ง มาคุยโต หรือพวกชั้นวาง, ขาตั้ง, หัวแจ๊ค, ฟิวส์, ตัวรองเครื่อง, ตัวยกสายลอย, ตัวลดการสั่นในห้อง ฯลฯ ขายกันเหมือนขายเครื่องเทศ, เครื่องปรุงของอาหาร เนื่องจากราคามีหลากหลาย ตั้งแต่ไม่กี่ร้อยบาทจนเป็นแสนๆบาท หลากหลายรูปแบบราคาที่จะให้ผู้บริโภคติดสินใจซื้อมาลองไม่ยาก พูดง่ายๆว่า  “ขายฝัน” ขาย “ความหวัง” แต่มีน้อยรายมากๆที่จะกล้าให้ผู้บริโภคซื้อไปลองใช้กับ “ชุดของตน” ไม่ดีหรือไม่เข้ากันก็คืนได้

       การปรับปรุงอคูสติกของห้องฟัง โดยละเลยที่จะจัดการกับชุดเครื่องเสียงให้ลงตัวที่สุด ถูกต้องที่สุดในการติดตั้ง, ปรับแต่งให้ดีก่อนหันมาแก้ปัญหาตัวห้องฟัง แถมไม่รู้จริง ปนเปไปหมด ระหว่างห้องฟังเพลงกับห้องแสดงดนตรี มันคนละแนวเลย แต่กลับมาอ้างไขว้ไปมา เรามักมีแต่นักวิชาการกำมะลอ วางฟอร์มให้ดูขลังเข้าไว้

สรุป 1.  ข้อคิดดังกล่าวกลั่นกรองจากประสบการณ์ของผู้เขียนในวงการไฮเอนด์ไม่ต่ำกว่า 40 ปี และหมกมุ่นเล่นเครื่องเสียงมาตั้งแต่อายุ 14 ปี(ปัจจุบัน 63 ปี)

2.   ทัศนคตินี้ต่อวงการเครื่องเสียงไฮเอนด์โลก มิได้เจาะจงแต่ที่ใด ประเทศใดเป็นหลัก

3.   ข้อเขียนนี้เป็นไปเพื่อการสร้างสรรค์ แจงจุดอ่อนที่ควรแก้ไข เพื่อให้วงการไฮเอนด์ยั่งยืนยงตลอดกาล

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459