|
หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน >
ความผิดพลาดของนักออกแบบเครื่องเสียงและการผลิต
วันที่ : 17/02/2016
ความผิดพลาดของนักออกแบบเครื่องเสียงและการผลิต โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ ว่ากันว่า เครื่องเสียงเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ บ่อยๆที่เครื่องเสียงบางชิ้นให้ตัวเลขค่าการวัดทางไฟฟ้า ( สเปก ) ดีเยี่ยม แต่กลับฟังไม่ได้เรื่องเลย ตรงกันข้ามบางเครื่องสเปกก็งั้นๆแต่กลับให้เสียงที่ชวนฟัง? เช่นเดียวกัน เครื่องเสียงบางชิ้นดูอุปกรณ์ที่ใช้ พบว่าใช้แต่ของชั้นหนึ่งทั้งนั้น ตัวแท่นก็ดูสวยหรู งานภายในภายนอกประณีตเรียบร้อย สะอาดสะอ้านเป็นที่เป็นทาง แต่ทำไมเสียงกลับไม่มีอะไรในกอไผ่ ขณะที่อีกเครื่อง อีกชิ้นใช้ของพื้นๆดูเหมือนไม่มีอะไร ภายนอกภายในก็ดูง่ายๆ แต่กลับให้เสียงที่ดีเยี่ยมน่าแปลกใจ ????????? ทฤษฏีการออกแบบเครื่องเสียง ไม่ใช่เรื่องลึกลับหรือยากที่ค้นคว้า มีตำรับตำรามากพอที่ใครก็สามารถเป็นนักออกแบบได้โดยไม่ยากหรือถ้าอยากจะทำเครื่องเสียงสักชิ้นก็อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ เอาลัดตรงที่สุดก็ชุดประกอบเอง (KIT) ให้เลือกซื้อไปลองทำเองได้ ด้วยสนนราคาไม่แพง ????????? แต่ทำไม เครื่องเสียงที่ดีระดับโลกกลับถูกออกแบบโดยวิศวกรความรู้แค่ระดับปริญญาตรี มีน้อยมากจริงๆที่ออกแบบโดยนักวิชาการระดับปริญญาเอกหรือศาสตราจารย์ ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เราพบว่า บ่อยๆที่เครื่องเสียงที่เสียงดีมากๆนั้น ถูกออกแบบโดยผู้ที่ไม่ได้จบด้านวิศวกรรมไฟฟ้าด้วยซ้ำ ????????? ในมุมมองระดับโลก เคยสงสัยไหมว่า ทำไมค่ายผู้ผลิตเครื่องเสียงและภาพยักษ์ใหญ่ระดับโลก ไม่ว่าค่ายญี่ปุ่น ค่ายเกาหลีหรือแม้กระทั่งค่ายฝรั่ง ที่ต่างมียอดขายทั่วโลกนับหมื่นๆล้านบาทขึ้นไปจึงไม่เคยทำเครื่องเสียงให้เสียงน่าฟัง มีเสน่ห์ ที่เหล่าหูทองพอจะยอมรับได้เลยตลอดห้วงเวลา 50-70 ปีที่ผ่านมา จนบางคนแซวว่า ?ให้ทุกอย่าง นอกจากความน่าฟังและน่าดู? จนมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่า เครื่องเสียงที่ดีนั้นต้องมาจากบริษัทเล็กๆ โรงงานเล็กๆเท่านั้น ????????? ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น บริษัทยักษ์ใหญ่เหล่านี้ น่าจะได้เปรียบบริษัทเล็กๆมากมายมหาศาลในทุกด้าน ทั้งความพร้อมเรื่องเงินทุน เรื่องการค้นคว้าวิจัย เรื่องต้นทุนการซื้อวัตถุดิบหรืออะไหล่ทีละมากๆเพื่อลดต้นทุน ระบบการจัดจำหน่ายที่หลากหลายและทั่วถึง เงินทุนที่พร้อมและหว่านลงไปเพื่อทำโฆษณาประชาสัมพันธ์และการตลาด การบริการทั้งขณะขายและหลังขายที่พร้อมกว่าและได้เปรียบ ความจริงที่น่าเศร้า... ????????? ขณะที่บริษัทผลิตเครื่องเสียง (และภาพ) คุยโม้เรื่องเทคโนโลยีก้าวหน้าล่าสุดที่ทันสมัยล้ำหน้ากว่าใครเพื่อ ?สเปก?ที่ดีเลิศกว่าในอดีตที่ผ่านมา การคัดสรรใช้แต่อะไหล่อุปกรณ์คัดเกรด หรือเพื่อการนี้โดยเฉพาะ การลดการกวนด้วยวิธีโน่นนี่ ทั้งการสั่นสะเทือนและไฟฟ้าและอื่นๆพวกเขาก็ขวนขวายหาวิธีการผลิตที่ลดต้นทุนให้มากที่สุด ลดจำนวนชิ้นส่วนอุปกรณ์ ฯลฯ ????????? พวกเขาแทนการใช้อะไหล่อุปกรณ์ขนาดปกติด้วยอุปกรณ์ขนาดจิ๋ว (ที่เรียกว่าเทคโนโลยี SMT) พร้อมกับการใช้แผงวงจรแบบซ้อนหลายๆผิว บางครั้งมากกว่า 4 ชั้นผิว เพื่อลดความยุ่งยากในการเดินสาย และลดขนาดเครื่อง โดยอ้างว่าทำให้ทางเดินสัญญาณลัดตรงที่สุด โดยละเลยการการรั่วกวนระหว่างชิ้นส่วนอุปกรณ์ของแต่ละชั้นผิวในแผงเดียวกันนั้น (ชั้นผิวหนึ่งก็เหมือน 1 วงจร) ก็เหมือนการเอาแผงวงจรหลายแผงมาวางทับซ้อนกัน อะไหล่แต่ละแผงก็ยิงขาทะลุไปหาแต่ละแผงนั้น ????????? นอกจากนั้น การใช้อะไหล่จิ๋ว SMT (บางทีเล็กเท่าเมล็ดข้าวเปลือกหรือเล็กกว่านั้น) ทำให้ไม่สามารถอัดฉีดกระแสได้เต็มที่อย่างการใช้อะไหล่ปกติ ผลคือ เสียงที่มีรายละเอียดดีตอบสนองฉับไว แต่ขาดน้ำหนัก ขาดพลัง แต่ละเสียงดังพอๆกันไปหมด ไม่เกิดความแตกต่าง มีแต่ความดัง แต่ไม่มีการแยกแยะลำดับอ่อน-แก่ (ไม่มี Dynamic Contrast )ฟังกลืน เสมอกันไปหมด ไม่เป็นชิ้นเป็นอันหรือแยกแยะ ????????? อีกกรณีคือ ยิ่งใช้อะไหล่จิ๋วขนาดไหน พวกมันยิ่งอ่อนไหวต่อคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นความถี่วิทยุ (RF) กวน จากภายนอกมากแค่นั้น ( เสียงจะแบน,แห้ง ) ????????? อย่างพวกเขาอ้างว่า ใช้ตัวทรานซิสเตอร์ขาออกแบบ MOSFET ในภาคขยายขาออกสู่ลำโพง เพื่อการตอบสนอง ฉับไวและป้องกันตัวมันเองได้ แต่ไม่เคยบอกว่า การคัดเอามาจับเข้าคู่กันของ MOSFET (matched pair) เป็นเรื่องยากมาก และเปลืองของ อีกทั้งการจับเข้าคู่ต้องวัดทั้งเมื่อป้อนด้วยสัญญาณคงที่ (static test) และสัญญาณแกว่ง (dynamic test) และการป้องกันตัวมันเองก็อาจไม่ใช้สิ่งที่ดีนัก เพราะถ้าปล่อยให้มันทำงานเกินขีดมันจะกดการสวิงสัญญาณ เสียงจะอั้น ตื้อ ไม่ ?หลุดลอยออกมา? ไม่อิสระฟังแล้วเครียด ????????? พวกเขาอ้างว่าใช้หม้อแปลงขนาดใหญ่ แต่ไม่ได้บอกว่าจะป้องกันสนามแม่เหล็กจากหม้อแปลงแผ่กระจายออกมากวนทั้งเครื่องได้อย่างไร สิ่งที่พวกเขาปฏิบัติอยู่เป็นประจำจนเป็นเรื่องปกติทั่วไปก็คือหาโลหะมาห่อหุ้มหม้อแปลงโดยไม่สนใจว่า มันจะทำให้เส้นแรงที่กระจาย-หดจากหม้อแปลงถูกตราสังฆ์ ไม่กระจายได้อย่างอิสระ เส้นแรงจะบิดเบี้ยว ผลคือ ความเพี้ยนและการอั้นของเสียง ????????? บางครั้งพวกเขาอ้างว่าใช้หม้อแปลงแบบกลมเพื่อลดการกระจายของเส้นแรงแม่เหล็กต่อทั้งเครื่อง รวมทั้งอ้างว่ามันให้ประสิทธิภาพสูงกว่าแบบสี่เหลี่ยมปกติถึง 3 เท่า (แบบ IE) แต่พวกเขาก็สุดแสบโดยลดขนาดของหม้อแปลงลง 3 เท่า เหมือนกัน?.! นอกจากนั้นแล้วหม้อแปลงกลมพันยากมาก การให้ทุกๆหม้อได้สเปกเหมือนกันเป๊ะเป็นเรื่องยากและผลิตลำบาก ราคาสูงลิบ สูงเกินกว่าการผลิตแบบขายทีละเยอะๆ (mass production) ของพวกยักษ์ใหญ่จะยอมได้ผลคือใช้หม้อ กลมเกรดต่ำจนไม่ได้ดีกว่าหม้อแปลงสี่เหลี่ยมระดับปานกลางหรือระดับดี ????????? ยิ่งไปกว่านั้นหม้อแปลงเป็นแหล่งกำเนิดการสั่นสะเทือนที่คาดไม่ถึง มองด้วยตาเปล่าอาจไม่สังเกต เอามือ ( นิ้ว ) แตะดูจะรู้ว่ามีการสั่นแม้ว่าการสั่นนั้นจะดูเหมือนเบามาก แต่มันก็แรงพอที่จะถ่ายทอดส่งผ่านการสั่นนั้นแพร่กระจายไปทั้งเครื่อง รบกวนการทำงานของอะไหล่อุปกรณ์โดยเฉพาะพวกตัวเก็บประจุ,ตัวขดลวด,ผลึกแร่,รีเลย์,ขั้วเชื่อมต่อ,ขั้วเสียบสายต่างๆ ????????? อย่างดีอย่างเก่ง ผู้ผลิตเครื่องเสียง mass ก็แค่หาน็อตมายึดหม้อแปลงกับแท่นเครื่อง ดีหน่อยก็ต่อขาจากตำแหน่งหม้อ แปลงลงไปจิกกับพื้นที่ใต้เครื่องหรือเพิ่มแท่นเครื่องหนาๆ หรือปะเสริมด้วยแผ่นเหล็กหนา,แผ่นทองแดงหรือแผ่นหิน เพื่อ โชว์ว่าพวกเขาเอาใจใส่ในแง่นี้ด้วย ขณะที่ตามความเป็นจริงแล้วมันไม่ง่ายอย่างนั้น มันต้องทดลอง ?ฟัง? อย่างเดียวว่าจะลดการสั่นที่จุดไหน (บนหม้อแปลง) ลดด้วยวิธีไหน การขยับเปลี่ยนจุด เสียง,มิติเสียงก็เปลี่ยนไปแล้ว การเพิ่มเสริมแท่นเครื่องจะใช้อะไรที่จะไม่ก่อให้เกิดบุคลิกเสียงอันไม่พึงประสงค์หรือไปเหนี่ยวนำกับสนามแม่เหล็กจากหม้อแปลงเสียเอง ????????? ปัญหาการสั่นสะเทือนสามารถป่วนสุ้มเสียงให้ผิดเพี้ยน,มิติผิดเพี้ยนได้ไม่ต่างจากการเปลี่ยนค่าอุปกรณ์หรือจัดวงจรเลย เป็นสิ่งที่ผู้ออกแบบมักลืมคิด เครื่องต้นแบบไม่มีตัวถังตั้งหม้อแปลง แผงวงจรลอยตัวอยู่แบบเปลือยๆ ไม่มีปัญหาการสั่นจากหม้อแปลง แผงวงจรแยกห่างจากหม้อแปลง สามารถแยกสายพ่วงต่างๆระหว่างวงจร ระหว่างอะไหล่ไม่ให้พาดผ่านแตะต้องกัน ปัญหาก็อาจไม่มี ??? ??????ขณะที่เมื่อลงตัวถังเครื่องในการผลิตจริง สภาพแวดล้อม เงื่อนไขเปลี่ยนไปหมดอย่างสิ้นเชิง ที่ทางที่จำกัด การต้องมัดสายรวมๆกันนับสิบนับร้อยเส้น การต้องหักงอสายแพ การแทนที่สายแยกเดี่ยวด้วยสายแพเป็นแผง การต้องอยู่ในกล่องที่ห่อหุ้มด้วยโลหะที่เหนี่ยวนำกับสนามแม่เหล็กจากหม้อแปลง การต้องอยู่ใกล้ชิดติดกันของแผงต่างๆ อุปกรณ์ต่างๆ การแผ่คลื่นรบกวนกันเอง (cross talk) ยิ่งถ้าเป็นวงจรดิจิตอลหรือวงจรสร้างคลื่นความถี่สูง (switching) ยิ่งตลบอบอวลอยู่ ในเครื่องนั่นเอง ????????? การผลิตแบบอุตสาหกรรมที่ใช้หุ่นยนต์ ยิงอะไหล่อุปกรณ์ลงบนแผงวงจรที่ออกแบบเป็นคู่ (เช่น ภาคขนยายซ้าย-ขวา) ซึ่งวางวงจรแบบสมมาตรเหมือนการส่องดูกระจกเงา (mirror image) อะไหล่, อุปกรณ์ที่ถูกยิงลงแผงด้านซ้ายและด้านขวา มีสิทธิ์ที่จะย้อนทิศกันได้ เช่น ภาคขยายซีกซ้ายกระแสวิ่งเข้าตัวเก็บประจุด้านหัว แต่ภาคขยายซีดขวาเข้าประจุด้านซ้ายเพราะลายวงจรเป็นกระจกเงาซึ่งกันและกัน (เหมือนเราส่องกระจกเงาตัวเรากับเงาในกระจกทิศจะตรงข้ามกันอย่างที่เรียกว่า ?ภาพเสมือน? ) ????????? มีนักออกแบบเครื่องเสียง (และภาพ) น้อยมากที่จะตระหนักว่าทิศทางของสาย (ไม่ว่าสายอะไร สายไฟ, สายลำโพง, สายดิจิตอล, สายภาพหรือสายเสียง ฯลฯ) ของอะไหล่อุปกรณ์ (ตัวต้านทาน, ตัวเก็บประจุ, ตัวขดลวด, ฟิวส์หรือสายโลหะเชื่อมระหว่างเส้นลายแผงวงจร) ของหัวเสียบสายตัวยูล้วนมีผลต่อสุ้มเสียงและมิติเสียง, ทรวดทรงชิ้นดนตรี, เวทีเสียง ทั้งๆที่พวกนี้เป็นประเภทไม่มีขั้วบวกหรือลบ (non-polar หรือ bi-polar) ก็ตาม ????????? นี่เป็นประเด็นที่สำคัญอย่างยิ่งยวด ซึ่งการผลิตแบบทีละเยอะๆหรือ mass production จะไม่มีแม้แต่ยี่ห้อเดียวในโลก ที่มามัวแต่คำนึงถึง แม้แต่ระดับไฮ-ไฟไฮเอนด์ 95 เปอร์เซ็นต์ในตลาดก็ยังมองข้ามเลย เหตุผลก็คือมันเป็นเรื่องยุ่งยากและ สลับซับซ้อนอย่างยิ่งที่จะพิถีพิถันได้ขนาดนี้ การผลิตด้วยหุ่นยนต์แบบ mass แทบเป็นไปไม่ได้เลย ต้องทำทีละเครื่องๆทีละชิ้นด้วยมืออย่างเดียวเท่านั้น (hand made) ราคาเครื่องจึงต้องสูงมาก (แต่ก็สูงอย่างมีประโยชน์ แทนที่จะสูงเพราะ ?หุ่นสวย ดูหรูหรา?) ????????? ประเด็นนี้แหละที่ทำให้ของที่ผลิตออกมาไม่มีทางเหมือนตัวต้นแบบได้เลย ( ที่อาจฟลุ๊ก เดินสาย,ขาอุปกรณ์ถูก ) เท่าๆกับที่ของที่ผลิตมาขายแต่ละชิ้นยี่ห้อ รุ่นเดียวกัน บ่อยๆที่เสียงต่างกันแบบหน้ามือหลังมือ (โดยเฉพาะลำโพง) โชคดี ( ที่ร้าย ) ที่การผลิตทีละเยอะๆทำให้คุณภาพที่ได้ออกมาแบบมั่วๆ (ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้ว) แต่ละเครื่องจึงมั่วๆเหมือนๆกันไปหมดคือเหมือนเป็นสีเทาหมด โอกาสจะสีขาว (ถูกต้อง) หรือสีดำ (ผิดหมด) จึงมีน้อยมาก (ยกเว้นระบบลำโพงที่ภายในไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่าเครื่องขยาย) ????????? สุดท้ายก็คือนักออกแบบแต่ละคน ?ฟัง?เป็นแค่ไหน การวัดค่าสเปกไม่ได้บอก ?ทั้งหมด? โดยทั่วไป ?สเปก? บอกเราแค่มิติเดียว ต้องวัดค่ากันแบบละเอียดยิบทุกแง่มุมอย่างถึงที่สุด อย่างที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน วัดทั้งแบบนิ่ง (static) และแบบแกว่ง (dynamic) วัดโดยใช้ตัวแปรบนแกนของเวลาด้วย วัดทั้งแบบฉับพลัน (transient) และแบบช้าๆ ฯลฯ ซึ่งแค่เครื่องขยายตัวเดียวสเปกคงต้องเป็น 100 หน้า ลำโพงตู้เดียวเป็น 10 หน้า จะมีใครทำ ใครเข้าใจถึง ใครขยันและศรัทธาที่จะทำในโลกนี้ยังไม่มี ????????? อีกทางที่ง่ายกว่าคือ ใช้การฟัง ผู้ออกแบบต้องมีประสบการณ์การฟังสูงมากๆกับชุดทดสอบ (monitor) ที่เชื่อใจไว้ ใจได้,ในห้องฟังที่ดีพอโดยทั้งชุดทดสอบ,ห้องฟังต้องไม่พาผู้ฟังเข้าป่าหลงประเด็น หลงออกแบบเครื่องเสียงมาแก้ความไม่สมบูรณ์ของชุดทดสอบ,ห้องฟังและแหล่งรายการ (แผ่น) ????????? น่าเศร้าจริงๆที่วงการเครื่องเสียง หาผู้ที่ฟังเก่ง ฟังถูกต้องได้ยากมากๆส่วนใหญ่เอาแต่ใจตัว มิอัตรา (ego) สูง ไม่ค่อยรับฟังใคร เป็นกันทั้งค่ายฝรั่ง,ค่ายญี่ปุ่น (เชื่อสเปก) บ้างก็ไหลตามกระแส พอเริ่มเค้าลางของการนำเสนอภาคขยาย แบบดิจิตอล ก็หันมาทำบ้างทั้งๆที่รู้ว่า ?มันยังไม่ถึงเวลา?หรือคุณภาพ,เสน่ห์ของเสียงมันยังสู้ภาคขยายอนาล็อกปกติไม่ได้ บ้างก็เล็งแต่การค้า รู้ว่าเครื่องหลอดสามารถโก่งราคาได้และยักษ์ใหญ่ที่ผลิตอย่าง mass ไม่ลงมาเล่น จึงเลยหันมาโปรโมท เครื่องหลอดกันใหญ่ ทั้งๆที่มันแพงโดยไม่จำเป็นและเกือบทั้งหมดไม่เสถียร อายุก็สั้นแต่ทำไงได้เงินมันไม่เข้าใครออก ใคร แทนที่จะหาวิธีทำเครื่องทรานซิสเตอร์ให้เสียงดีกว่าได้และถูกต้องกว่าด้วย ????????? ยิ่งในวงการลำโพง เห็นลำโพงแต่ละยี่ห้อออกมา ยิ่งสะท้อนสะเทือนใจมีทั้งมั่ว,รู้ไม่จริง, ขายความใหญ่โต, ขายดอกลำโพงเยอะๆ, ขายความแพง, ขายรูปโฉมพิสดาร, ขายทฤษฏีที่มีจุดโหว่, ขายวัสดุ, พวกหลงประเด็นเยอะกว่าวงการเครื่องขยายกับเครื่องเล่นเสียอีก สังเกตว่าวงการลำโพงเกิดง่ายตายเร็ว ทำอะไรให้มันแปลกๆเข้าไว้ให้เป็น talk of the town ให้คนพูดถึง มันก็ทะลุออกมาได้ แต่จะรอดหรือไม่นั่นอีกเรื่อง และส่วนใหญ่ก็จอดทั้งนั้น อะไรที่ธรรมชาติ ธรรมดา กลับอยู่ยั่งยืนกว่า www.maitreeav.com |