000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > มาทำแผ่นเสียงเองดีกว่า
วันที่ : 23/02/2016
17,358 views

มาทำแผ่นเสียงเองดีกว่า

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

Fritz และ Ulrich Sourisseau จากทางตอนใต้ของเยอรมนี คุยโตว่าเป็นพวกบ้าการทำแผ่นจานเสียงไวนีลอย่างถึงแก่นผลงานชิ้นล่าสุดของการพัฒนาเครื่องบันทึกลงจานเสียงจะใช้เครื่องเล่นจานเสียงยอดนิยมในวงการบันเทิงคือ Technics 1200 หรือ 1210 MK ll เป็นพื้นฐานของเครื่องกัดแผ่นไวนีลนี้

          ทางบริษัทเรียกเครื่องกัดแผ่นนี้ว่า Vinyl Recorder T560 ดูแล้วเหมือนการตัดต่อมนุษย์ผีดิบแฟรงเกนสไตน์ จริงๆ แล้วสิ่งนี้ทำด้วยมือเป็นงานสั่งสร้างสั่งทำและสลับซับซ้อนสุดๆ

          กระบวนการกัดเซาะแผ่นไวนีลจะต้องใช้หัวความร้อน,วงจรปรับความถี่ตอบสนอง RIAA ,ชุดทำความสะอาดด้วย ระบบสูญญากาศแบบจิ๋ว,มอเตอร์อีกหลายตัวรับหน้าที่แต่ละหน้าที่ รวมทั้งชิ้นส่วนอื่นอีกเยอะแยะซึ่งต้องเที่ยงตรงมากๆ ทั้งหมดนี้รวมทั้งไฟส่องกับกล้องจุลทรรศน์ขยาย 40 เท่าเพื่อคอยตรวจสอบว่ากรับวนการเซาะร่องแผ่นดำเนินไปถึงไหนรวมทุกอย่างนี้บริษัทตั้งราคา T560 ไว้ที่ 3,200 ยูโร ( ประมาณ 3,000 ปอนด์ )

          ดูเหมือนว่าผู้ซื้อต้องซื้อตัวเครื่องเล่น Technics ดังกล่าวมาเล่นเอง เพื่อนำมาประกอบกับอุปกรณ์ชิ้นส่วนต่างๆของ T560 ( ปัจจุบันบ้านเราขายเครื่องเล่น Technics 1200 MK ll อยู่ที่ประมาณ 32,950 บาท/พร้อมหัว รวมค่า T560 อีก ประมาณ 150,000 บาท

          Fritz และ Ulrich พูดไม่ผิดหรอกว่าอุปกรณ์ของเขาใส่ดนตรีลงไปบนแผ่นไวนีลจริงๆ ไม่ได้ผ่านการเซาะ      แผ่นแม่พิมพ์ แล้วเอามาปั๊มลงแผ่นไวนีลอีกที พูดง่ายๆว่าของเขาเป็น “direct cut” ขนานแท้

          บริษัทอ้างว่า วิธีการทำแผ่นจานเสียงไวนีลจากการปั๊มด้วยแม่พิมพ์จะบั่นทอนคุณภาพลงถ้าเล่นแผ่นบ่อยๆ โดยเฉพาะเมื่อมีการลากเข็มหรือหมุนแผ่นหาตำแหน่ง ( cueing ) T560 สามารถบันทึกที่ความเร็วแผ่น 33 รอบต่อนาที ( rpm ), 45 และ 75 rpm ที่ความเร็ว 33 rpm จะสามารถบันทึกดนตรีได้นาน 30 นาทีกับแผ่นจานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 นิ้ว

          ยิ่งกว่านั้นใช้อุปกรณ์มาตรฐานปกติต่อเข้ากับเครื่องเล่นจานเสียง Technics ผู้ใช้จะสามารถตรวจสอบแผ่นได้โดย ตรงขณะที่มันกำลังถูกเซาะร่องบันทึกอยู่ ( ดูเหมือนว่าต้องใช้แผ่นไวนีลเปล่าจาก Fritz และ Ulrich รวมทั้งยังมีขาย อุปกรณ์เสริมอื่นๆอีก )

          ในเรื่องของการบันทึกทำแผ่นจานเสียงไวนีลเองได้นี้ ยังมีอีกยี่ห้อคือ Vestax ซึ่งออกมาค่อนข้างเป็นปีๆแล้วราคาประมาณ 200,000 บาทต้องใช้แผ่นเปล่าไวนีลของเขาเท่านั้น

          Vestax VRX-2000 เป็นเครื่องบันทึกเสียงลงแผ่นจานเสียงไวนีลระดับอาชีพ สำหรับผู้ที่จะทำมาสเตอร์โดยต้องมี การอบรมการใช้งานเป็นรายบุคคลและลองปฏิบัติดูจริงๆ

คุณสมบัติของ VRX-2000

  • บันทึกแบบเดี่ยวนั้นเลยจากแหล่งรายการภายนอกโดยใช้แผ่นจานเสียงไวนีลเปล่าพิเศษของ Vestax บันทึกได้ที่ ความเร็ว 33 1/3 และ 45 rpm
  • ที่ความเร็ว 33 1/3 rpm จะเป็นการบันทึกได้ 26 – 30 นาที
  • แผ่นไวนีลที่บันทึกแล้ว มีความคงทนพอที่จะเล่นซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรือใช้การลากหัวเข็มได้
  • แผ่นที่บันทึกแล้วแต่ละแผ่น สามารถเล่น (ฟัง ) ได้ทันทีโดยใช้โทนอาร์ม ASTS ที่ติดให้มาบนเครื่องด้วย ( Anti-Skipping Tone-arm System )
  • มีมิเตอร์เข็มบอกระดับเสียงแยกซ้าย-ขวา ( VU ) ปรับระดับสัญญาณเสียงเข้าได้ละเอียด ( ตรงนี้สำคัญเพราะ ถ้าผิดพลาดจทำให้หัวเซาะแผ่นพัง และเสียงที่ได้อุบาทว์หู )
  • ช่องรับสัญญาณขาเข้ามีทั้งแบบ RCA ปกติและแบบบาลานซ์ ( XLR )
  • ช่องสัญญาณออก RCA
  • ระบบการเซาะแผ่นแบบหัว V-Drive System VCH-1
  • แขนของหัวเซาะแผ่นแบบ Static Balance AM/Track Pitch
  • เข็มเซาะแผ่นเป็นแซฟไฟร์ ขดลวดความร้อน 4 โอห์ม นิเกิล โครเมียม มีอายุประมาณ 224 นาที
  • ภาคขยายเสียงภายในตัวเครื่องกำลังขับ 80W + 80W
  • ขนาดเครื่องกว้าง 755 สูง 285 และลึก 510 มิลลิเมตร หนัก 26.5 กิโลกรัม
  • ใช้กับไฟ AC 120/230V
  • ตัวแทนจำหน่ายบ้านเรา บริษัท มหาจักรดิเวลอปเมนท์ จำกัด

ถามว่า...ผลิตภัณฑ์เพื่อการทำแผ่นจานเสียงเองนี้จะขายใคร...?

  1. สำหรับผู้ที่ชื่นชอบเสียงจากแผ่นจานเสียง โดยตัวมาสเตอร์อาจบันทึกลงเทปแบบม้วน ( open reel )บันทึกเทปที่ ความเร็วสูงเทปหน้าใหญ่ๆ แล้วนำมาถ่ายลงแผ่นไวนีล

    จุดขายคือ เป็นการบันทึกแบบอนาล็อกล้วนๆไม่ผ่านกระบวนการดิจิตอลใดๆ ( อาจใช้ม้วนเทปแบบ VHS ,HiFi )

    อีกกรณีหนึ่งคือ บันทึกลงเทปแบบดิจิตอลแล้วถ่ายลงเครื่องทำแผ่นจานเสียงอีกที ( ในรูปอนาล็อก )
    การทำแผ่นจานเสียงแบบนี้ ถ้าเน้นคุรภาพระดับหูทองกันจริงๆ จะขายได้ราคาดีมาก อาจทำแค่ 500 แผ่น ทำหีบห่อกล่องคู่มืออย่างดี หรูหรา ก้อาจขายได้ถึงแผ่นละ 3,000 บาท ( ทำจำนวนจำกัด หมดแล้วหมดเลย ) วง/นักร้อง ก็คัดมาอย่างดี ใช้ช่างบันทึกระดับอาชีพจริงๆ ขายหมดได้เงินมา 1.5 ล้านบาท คุ้มกับการลงทุน ได้สร้างประวัติศาสตร์ด้วย ( อาจให้มาทั้งแผ่นจานเสียงไวนีลและแผ่น CD ไว้เทียบกัน )
  2. สเกลที่เล็กลงมาคือ บริการบันทึกเสียงร้องของท่านพร้อมดนตรี ( บริษัทฯ จัดหาให้จากที่บันทึกเสียงดนตรีไว้ ) ลงแผ่นไวนีลไว้เป็นที่ระลึก มีการทำกรอบรูปไว้ใส่แผ่น พร้อมแผ่น CD คู่แฝดสำหรับคอนักสะสม
  3. บริการก็อบปี้จากแผ่นไวนีลลงแผ่นไวนีลสำหรับอัลบั้มที่หายากยิ่ง ( เชื่อไหมว่า แผ่นเสียงบางอัลบั้มที่เลิกผลิตไปแล้ว ขายกันเป็นหมื่นบาท...! ) อย่าลืมว่าคนที่รักแผ่นเขาจะไม่ให้แผ่นของเขาไปเล่นกับเครื่องไหนนอกจากของเขา ( เพราะจะเกิดเสียงรบกวนทันที ) ยกเครื่องอัดแผ่นไปถึงบ้านเจ้าของแผ่นเลย

     สำหรับเจ้าของแผ่นที่รักและหวงแผ่นเสียง ไม่อยากเล่นบ่อยๆมันจะสึกเป็นรอยได้ ก็สามารถมาใช้บริการถ่ายลงแผ่นไวนีลแล้วเก็บแผ่นต้นฉบับไว้ จะฟังก็ฟังจากแผ่นไวนีลที่ถ่ายมา พังก็อัดใหม่ได้

     วิธีนี้ใช้กับองค์กรที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์แผ่นไวนีลเก่าได้ด้วย

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459