|
การเลือกซื้อวัสดุซับเสียง โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ ในการฟังเพลงจาก “เครื่องเสียง” หรือ “ดูหนัง” ภายในบ้านหรือแม้แต่สถานเริงรมย์ที่มีการใช้เสียง โรงภาพยนตร์,เธค,ผับ,ห้องประชุม,สนามบิน,สนามกีฬา,โรงละคร,ฯลฯ ล้วนต้องฝากผีฝากไข้ไว้กับ “อะคูสติก” ของสถานที่ทั้งสิ้น ต่อให้เครื่องเสียงดีเลิศเลอขนาดไหน ถ้าสถานที่ที่ฟังมีปัญหาเสียงก้องหรือเสียงสะท้อนก็จบ เป็นอันฟังไม่ได้ศัพท์ ก้อง,อื้ออึงไปหมด ปัญหาเรื่องเสียงก้องสะท้อนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญยิ่ง มองข้ามไม่ได้เลย ในโลกนี้มีผู้ผลิตวัสดุซับเสียงเป็นร้อยเจ้า บางยี่ห้อจะเจาะจงเฉพาะงานเช่น งานเก็บเสียงเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม,สถานีรถไฟ,ขนส่ง,ทางด่วน บ้างก็เจาะจงเฉพาะงานบันทึกเสียง ( สตูดิโอ ) หลายยี่ห้อเน้นเฉพาะใช้ในบ้าน แนวความคิดในการออกแบบ หรือจัดการกับปัญหาจะแตกต่างกันไปเช่น
หลักการง่ายๆของการซับเสียง
สังเกตว่า ข้อ 2 นี้ไม่สามารถซับเสียงได้ เป็นการไล่ปัญหาอย่างหนึ่งไปสู่ปัญหาอีกอย่างหนึ่งที่ต้องการ เช่น ลดการโด่งก้องในห้องแสดงดนตรีให้กระจายตัวเป็นการก้องแบบครอบคลุมตลอดช่วงความถี่ ช่วยเพิ่ม “บรรยากาศ (ambiance )” ให้แก่เสียงให้เรารับรู้ได้ถึง “ความเวิ้งว่าง” “ขนาด” ของห้องแสดงดนตรี ( space ) อุปกรณ์พวกนี้เช่น diffuser มีความเข้าใจผิดกันมาก ที่นำอุปกรณ์ในข้อ 2 นี้ไปใช้ในการ “ซับเสียงก้อง” จริงๆแล้วมันตีให้เป็น “ฝุ่น” เสียงเท่านั้น แถมตัวมันเองยังทำตัวเป็น “กล่องก้องเสียง (cavity)” สร้าง “จุดกำเนิดเสียง” เทียมขึ้นมา จนบางท่านเข้าใจผิด คิดว่ามันทำให้ “มิติเสียง”เป็นตัวตนดีขึ้น (แต่มักไม่ค่อยอยู่กับร่องกับรอยเหมือนจับปูใส่กระด้ง) คิดเอาง่ายๆว่า “ของแข็ง”อย่าง ไม้,อะลูมิเนียม ฯลฯ ที่นำมาทำ diffuser เหล่านั้น มันล้วนสะท้อนเสียง ไม่สามารถดูดกลืนซับเสียงได้อยู่แล้ว พวก diffuser จะป่วนการสวิงเสียง ดึงให้ช่วงสวิงลดต่ำลงขณะที่หางเสียงค่อยลงๆจะถูก “ฝุ่นเสียง” ที่เกิดขึ้นกลบหมดหางเสียงจะห้วน รายละเอียดหยุมหยิมเบาๆเบาสุดจะหายไป ไม่สามารถติดตามหยดสุดท้ายของปลายหางเสียงได้ หัวโน้ตก็จะไม่คมชัด รายละเอียดหายไป (transient เสีย transient detail ไม่มี) อาจฟังดูมนๆไปหมด ทรวดทรงชิ้นดนตรีผิดเพี้ยน ตำแหน่งระยะตื้น ลึก,สูง ต่ำ,ของชิ้นดนตรีในวงผิดเพี้ยน ในห้องบันทึกเสียงจะใช้ diffuser กับห้อง “เล่นดนตรี”เท่านั้น ( ห้องที่อยู่ติดกับห้องคุมเสียง ) ห้องคุมเสียงมักใช้อุปกรณ์ซับเสียงตามข้อ 1 การเลือกซื้ออุปกรณ์ซับเสียง จากที่กล่าวมา คงเข้าใจแล้วว่ามีแต่ข้อ 1 เท่านั้นที่จะเข้าข่ายเป็นอุปกรณ์ซับเสียงจริงๆซึ่งแทบทั้งหมดจะใช้วัสดุที่ทำจากโฟม ซึ่งเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มีฟองอากาศแทรกอยู่เป็นรูพรุนไปหมด ความเก่งในการซับเสียงของโฟมจะขึ้นอยู่กับ
คุณสมบัติอื่นๆที่ควรพิจารณา
การพิจารณาอย่างง่ายๆในการเลือกซื้อ หลักการเลือกซื้อที่ง่ายที่สุด บุต้องเหมือนไม่บุ คือ สุ้มเสียงไม่เสียยังอยู่ครบ แต่เสียงก้องหายไป เอาออกเมื่อไร จึงรู้ว่าต้องบุ ขาดไม่ได้ การทดสอบ
อย่าเชื่อฝรั่งที่ชอบให้ติดวัสดุเก็บเสียงแบบ LEDE ( Live End Dead End ) คือ ครึ่งห้องข้างหน้าบุซับเสียง ครึ่งห้องด้านนั่งฟังไม่ซับเสียง เพราะการทำเช่นนี้ ถ้าวัสดุซับเสียงดีๆได้ผลจริง เสียงจะหลอกหูมาก เหมือนมี 2 บรรยากาศซ้อนกันอยู่ ( ผู้เขียนไม่เคยบุ SONEX ตั้งแต่หน้าห้องถึงหลังห้อง และฟังทดสอบทุกๆระยะการบุมา แล้ว ) ไม่ต้องกังวลเรื่องการเก็บเสียงที่แย่ลงที่ความถี่ต่ำ เพราะปกติลำโพงทั่วไปและไม่ได้ใช้เพาเวอร์แอมป์วัตต์เป็นร้อยๆ วัตต์ระดับไฮเอนด์เป็นแสนๆบาท ทุ้มที่ต่ำกว่า 100Hz ก็ไม่ค่อยเข้มข้นอยู่แล้ว ปัญหาการก้องไม่ค่อยมี จึงไม่ต้องกังวลเท่าไร สรุป จงให้ความสำคัญกับเรื่องอะคูสติกของห้อง เท่าๆกับการเลือกซื้อเครื่องเสียง อย่างไรก็ตาม การติดตั้งชุดเครื่องเสียงให้ถูกต้อง ( ทิศทางสาย,การแยกสาย,การไม่วางเครื่องทับซ้อนกัน,การหนีห่างจอ LCD ,PLASMA,ฟัง ทิศทางเส้นฟิวส์,ฟังทิศทางขาปลั๊กไฟ AC ,เลือกฟัง input ไหนที่ให้มิติโฟกัสมีทรวดทรงดีที่สุด,การเอียงลำโพง ฯลฯ ) สิ่งเหล่านี้ต้องทำให้ถูกต้องด้วย สำคัญเท่ากับเรื่องอะคูสติกของห้อง มิเช่นนั้น จะหลงประเด็นเข้าป่าได้ ง่ายๆ
www.maitreeav.com |