000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > ดิจิตอลแอมป์มาแน่หรือ
วันที่ : 04/11/2015
12,595 views

ดิจิตอลแอมป์มาแน่หรือ

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

การทำงานของภาคเสียงขยายปัจจุบัน เรียก “ภาคขยายอนาลอก” โดยมันจะขยายสัญญาณรูปคลื่นเสียงที่มีระบบสูงๆต่ำๆกว้างๆแคบๆมาช้า มาเร็ว มาถี่ ตรงตาม สัญญาณเสียงที่ป้อนให้มันทุกประการแต่มีขนาดที่ใหญ่ขึ้น

การทำงานของภาคขยายเสียงดิจิตอล จะนำสัญญาณเสียงปกติในรูปอนาลอกเช่นกัน แต่นำมาแปลงให้อยู่ในรูปคลื่นสี่เหลี่ยมความถี่สูงมาก ด้วยวงจรแปลงอนาลอกเป็นดิจิตอล (ADC) แล้วส่งให้ภาคขยาย ขยายสัญญาณรูปสี่เหลี่ยมนั้นที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เข้า วงจรกรองสัญญาณความถี่สูงทิ้ง กลายป็นสัญญาณ อนาลอก ป้อนให้แก่ลำโพง ส่งเสียงให้เราฟัง

นี่อธิบายกันอย่างง่ายๆลัดที่สุด จริงๆยังมีข้อปลีกย่อยอีกมาก เสน่ห์เด่นที่สุดของดิจิตอลแอมป์ (ต่อไปเรียก D- AMP ซึ่งไม่เกี่ยวกับ CLASS D แอมป์นะครับ) คือ

สามารถออกแบบและสร้างแอมป์กำลังขับสูงมากได้ ด้วยขนาดเล็กจิ๋วและใช้อุปกรณ์น้อยชิ้นที่สุด เนื่องจาก D-AMP มีประสิทธิภาพสูงมากระดับกว่า 90 % ขณะที่แอมป์อนาลอกให้ประสิทธิภาพตั้งแต่ ต่ำกว่า 25 % (PURE A) ถึงแค่ประมาณไม่เกิน 90 % (CLASS B) จริงๆ โดยทั่วไปจะได้แค่ไม่เกิน 80 % (CLASS A – B) ดูตัวเลขประสิทธิภาพที่ห่างกันไม่กี่สิบเปอร์เซ็นต์ อาจเหมือนไม่เยอะแต่จริงๆมีผลมาก ทั้งต่อจำนวนและขนาดชิ้นส่วนอุปกรณ์ (อันส่งผลถึงขนาดดและน้ำหนักของตัวเครื่อง), การระบายความร้อน (D – AMP แทบไม่ร้อนเลย) แน่นอนสิ่งเหล่านี้ส่งผลถึงราคาของ D-AMP ที่ควรจะถูกกว่ามาก (ถ้าผลิตแบบทีละเยอะๆ)

อย่างไรก็ตาม ข้อเสียอย่างรับไม่ได้ของ D-AMP ก็คือ

  1. เสียงที่แห้ง ไร้ความพลิ้วกังวาน  เรียกว่า เสียงตายซากจริงๆ
  2. มิติเสียงที่เละตุ้มเป๊ะ ปราศจากทรวดทรง (BD), วอกแวก/แกว่ง , ระบุตำแหน่งแต่ละชิ้นดนตรีในวงไม่ได้หรือยาก, เอาแน่ไม่ได้
  3. เวทีเสียงแบน กำหนดขอบเขตอะไรไม่ได้ ไม่มีลำดับชั้นตื้นลึก, สูงต่ำ, หน้าหลัง, กว้างโอบ ทำให้บรรยากาศดูสับสนน่าเบื่อ
  4. เสียงนักร้อง, เสียงดนตรี ขาดเนื้อหนัง ผอมแบน ปราศจากน้ำเสียง, โทนเสียงนักร้องกี่คนๆเสียงคล้ายกันเหมือนกันไปหมด รวมทั้งเสียงดนตรีที่มักกลืนๆ กันไปหมด แยกแยะว่าอะไรเป็นอะไรไม่ค่อยได้มั่วไปหมด ยิ่งช่วงโหมดนตรีหลายๆ ชิ้น นักร้องหลายๆ คนทุกอย่างจะสับสนฟังไม่ได้ศัพท์ เครื่องดนตรีชนิดเดียวกัน ของถูกของแพงเสียงเหมือนๆกัน (พูดง่ายๆ ว่าขาดความถี่คู่ควบ (HARMONICS) ที่เป็นตัวบ่งบอกบุคลิกของนักร้องแต่ละคน บุคคลิกเครื่องดนตรีแต่ละชิ้นแต่ละเกรด)
  5. จากข้อ1 – 4 ส่งผลให้เสียงของดิจิตอลแอมป์ขาดอารมณ์ จิตวิญญาณและไม่เป็นที่ยอมรับจึงมักนำไปใช้กับพวกโทรศัพท์มือถือ, การสื่อสาร,ทีวี,เครื่องพกพา

เกือบ 50 ปีที่ผ่านมาของวงการไฮไฟ มีความพยายามที่จะทำให้ D – AMP เสียงเป็นผู้เป็นคนขึ้น ไพเราะน่าฟังขึ้น ซึ่งใน 20 ปีหลังนี้ก็ทำได้ดีขึ้นมากพอควรในระดับที่ไม่ถึงกับอุบาทว์หูแล้ว บางยี่ห้อนำไปใช้กับระบบเสียงอาชีพ (เช่นยี่ห้อสเปคตรอน) บางยี่ห้อใช้กับเครื่องเสียงไฮไฟเช่น SONY  40 ปีแล้ว (ก่อนใครในโลก) ต่อมาอีก 20 กว่าปีก็มี ONKYO และค่ายทางยุโรป แม้แต่กับรีซีฟเวอร์เซอราวด์ (เช่น PIONEER)   SONY เองใช้กับทีวี  LCD (LED) รุ่นแพง หรือแม้แต่กับหูฟังระบบตัดเสียงกวน ค่ายฝรั่งหลายเจ้าใช้กับระบบลำโพงบ้านไฮเอนด์ ACTIVE ที่มีภาคขยายในตัว ระดับอินทริเกรทแอมป์ไฮเอนด์ก็เช่น SHARP (ออกมา 2 – 3 รุ่นเมื่อกว่า 20 ปีที่แล้ว ปัจจุบันเลิกหมดแล้ว  ผู้เขียนก็เคยทดสอบรุ่นแรกราคา 600,000 บาท)

อย่างไรก็ตาม ในความคิดของผู้เขียน D-AMP ไม่ว่าถูกหรือแพงแค่ไหนยังให้เสียงที่รับไม่ได้ ฟังนานๆ เลี่ยน, เบื่อ,เซ็ง ไม่มีเสน่ห์ใดๆ มิติเลิกพูดถึง บางคนอาจชื่นชอบที่เสียงมันฉับไวดีมาก อย่างทุ้มนี่ฉับไวเท่ากับแหลมเลย (แต่ขาดมวลน้ำหนักแบบทิ้งตัวลงพื้นห้อง มีแต่ความดัง)

จนเมื่อ 2 ปีมานี้ผู้เขียนได้ทดสอบอินทริเกรทแอมป์ D-AMP ของ NAD (390 DD) ราคาประมาณ 90,000 บาท โดยผู้เขียนได้จัดแยกสายภายในลดการกวนกันเอง

ได้ฟังอินทริเกรทแอมป์  D-AMP ของ ROKSON รุ่น OXYGEN (ราคา 150,000 บาท)   ก่อนหน้านี้ได้ฟัง  D-AMP อินทริเกรทของ T+A (แสนกว่าบาท)

อินทริเกรทแอมป์  CLASS A/D (CLASS D ที่ควบคุมคุณภาพการทำงานด้วย  CLASS A (อนาลอก) ซึ่งการทำงานของ  CLASS D ก็เกือบจะเป็น  D-AMP แล้ว (ราคา 300,000-600,000 บาทตามรุ่นใหญ่/เล็ก ยี่ห้อ DE-VIOLETจากฝรั่งเศส)

ทำให้ผู้เขียนเริ่มตะหนักว่า ถึงเวลานี้  D-AMP ได้พัฒนาถึงระดับหูไฮไฟฟังได้ไม่อึดอัดแล้ว หูชาวบ้านไม่ต้องพูดถึง.......สอบผ่านฉลุย  หูไฮเอนด์พอรับได้จากที่เมินสนิท ด้วยคุณภาพเสียงที่

  1. ไม่แห้งอีกแล้ว กังวานใสพลิ้ว (แม้เสียงกังวานจะยังไม่เป็นตัวตน)
  2. เสียงสด ฉับไว แต่ไม่ไวจนเกินไปแบบเดิมๆ
  3. รายละเอียดดีในระดับน่าพอใจ แม้ไม่ขนาดเป็นธรรมชาติเต็มที่
  4. กำหนดทิศทาง,ตำแหน่งของแต่ละชิ้นดนตรีในวงได้ แต่ถ้าดนตรีโหมมากๆชิ้นก็สับสนเหมือนกัน
  5. ช่องไฟ ช่องว่างระหว่างชิ้นดนตรีในวงยังไม่เท่าไร ยังสู้อนาลอกแอมป์ดีๆไฮ-เอนด์ไม่ได้
  6. ทุ้มไม่เบลอ การควบคุมตัวเองทำได้ดี (แต่บางครั้งก็รู้สึกว่าทุกอย่างอยู่ในกรอบเกินไป)
  7. ทรวดทรงชิ้นดนตรียังไม่ดีนักเหมือนเดิม (นอกจากเสียงเบส)
  8. การจำแนกบุคลิกเสียงของนักร้องแต่ละคน,เครื่องดนตรีแต่ละชิ้น,แต่ละเกรดยังไม่น่าประทับใจ (ยังมีความเพี้ยน  IMD สูง,เก็บเกี่ยวฮาร์โมนิกส์ได้ไม่ครบ)
  9. กำลังขับดี เกินตัว เกินขนาดเครื่อง

สรุปคือ เสียงอย่างนี้พวกฝ่ายการตลาดเขาถือว่า “ขายได้แล้ว” จึงเป็นไปได้ที่จะมีออกมาจากอีกหลายๆ ค่ายในเร็วๆ นี

สิ่งที่เป็นตัวเร่งการเติบโตของ D-AMP คือ

การที่พยายามสร้างกระแสการเชื่อมต่อ ON LINE ไม่ว่าด้วยสาย (LAN), ด้วยไร้สาย (WIFI, BLUETOOTH รุ่นล่าสุด, NFC) การใช้เป็น DAC สำหรับเพลงที่เก็บไว้ใน PC, การโหลดและเล่นกับโทรศัพท์มือถือ,เครื่องเล่นพกพา, TABLET พูดง่ายๆว่าแปลงอินทริเกรทแอมป์ (D-AMP) เป็น DAC/AMP หรือ MEDIA CENTER หรือฮับ สำหรับการเชื่อมต่อ ซึ่งสอดรับกับชีวิตประจำวัน (LIFE STYLE) ของคนรุ่นใหม่ (หูตะกั่ว) ที่ต้องการ ปริมาณ (เพลงเยอะๆ) มากกว่าคุณภาพ (QUALITY )

D-AMP ในลักษณะ MEDIA CENTER จึงเป็นที่จับตาและเป้าหมายผลิตภัณฑ์เครื่องเสียงต่อไปของผู้ผลิตไฮ-ไฟ, ไฮ-เอนด์ทั้งหลาย

อนาคตของอนาลอกแอมป์และ D-AMP  ผมเชื่อว่า  D-AMP จะถูกใช้และผลิตกันอย่างกว้างขวางขึ้นตั้งแต่ปีหน้านี้เป็นต้นไป และราคาจะถูกลงๆไม่ใช่เป็นแสนกว่าบาทอย่างปัจจุบัน

ถามว่าแล้วแอมป์อนาลอกจะสูญพันธุ์ไหม?

ผมเชื่อว่าเป็นการยากมากจนถึงเป็นไปไม่ได้ที่จะทำ D-AMP ให้เสียงมีเสน่ห์เป็นธรรมชาติได้อย่าง   แอมป์อนาลอก จากปัญหาคลื่นความถี่สูงที่  D-AMP สร้างขึ้นมาอย่างมหาศาล  D-AMP รุ่นหนึ่งถึงขนาดไปป่วนให้ภาคจ่ายไฟแบบ SWITCHING ของเครื่องเล่นCD ระดับไฮ-เอนด์เกือบสี่แสนบาท “พัง” (จากแรงดันไฟที่กระโชกสูงขึ้นทันที) นี่เป็นเค้าลางที่น่ากลัวและน่ากังวลมากจริงๆ ถ้ามันเกิดไปจูงภาคจ่ายไฟ SWITCHING ของจอ  TV LCD ราคาเป็นแสนเป็นล้านพังล่ะ หรือจูงภาคจ่ายไฟของมือถือล่ะ(พวกนี้ SWITCHING ทั้งนั้น) อย่างหลังพึ่งการกำกับดูแลของหน่วยงานมาตรฐานอย่าง FCC ก็ D-AMP ตัวที่ว่านั้นก็คงต้องผ่าน FCC ไม่อย่างนั้นคงขายในอเมริกาไม่ได้ ก็ยังสร้างปัญหาดังกล่าว

บางทีโอเคผ่าน FCC แต่ FCC ก็คงไม่เข้ามาล้วงลูกลึกขนาดว่า D-AMP นั้นเอาไปใช้ในสิ่งแวดล้อมอะไร บางครั้งสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสารพัดคลื่น RF (ทั้งเครือข่าย CELL SITE โทรศัพย์มือถือ,WIFI,เป็นสิบรอบตัวเรา, เครือข่าย DIGITAL TV, คลื่นมือถือเอง, คลื่นจาก PC/โน้ตบุ๊คที่ความถี่สูงขึ้นๆทุกวัน, คลื่นจากระบบสื่อสาร/วิทยุ/TV พวกนี้มีสิทธิเข้ามาป่วน D-AMP เท่าๆกับที่ D-AMP ไปป่วนมันหรือคลื่นเหล่านี้ผสมกันเอง (Modulation) ได้เป็นคลื่นใหม่ๆ ที่แถบคลื่นกว้างพอที่จะไปป่วน D-AMP หรือผสมกับคลื่น D-AMP ไปป่วนอุปกรณ์อื่นภายนอก “มันเป็นไปได้หมด” ถ้าคุณศึกษามาทางปัญหา  EMF, EMC, RF คุณจะเข้าใจ (และตกใจ!)

นี่ยังไม่นับว่า คลื่นความถี่สูงมากๆจาก D-AMP รุ่นใหม่ๆ (ซึ่งจะทำงานที่ความถี่สูงมากๆ) จะมีผลต่อสมอง,ต่อร่างกายมนุษย์และสัตว์ (พืช) ยังไม่ต้องพูดถึงสุขภาพ คลื่นเหล่านี้จะลดประสาทการรับรู้ของสมองต่อเสียงที่หูรับเข้ามา (คือไปป่วนส่วน “ประมวลผล”ของการฟังที่สมอง) คุณภาพเสียงที่ได้ยินจะไม่มีวันดีได้เลย (ผู้เขียนได้ทำการทดลอง ทดสอบในกรณีนี้มาแล้ว ผลของคลื่นความถี่สูงต่อสมองลดคุณภาพเสียงได้อย่างน่าตกใจมากคือ 35 – 45 %เป็นอย่างน้อย!

ในอีกแง่มุมหนึ่ง

การที่มันเป็น D-AMP ซึ่งเราสามารถออกแบบให้ทำงานบนพื้นฐานของการเขียนโปรแกรม (Software) อย่างคอมพิวเตอร์

จึงเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตจะเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อสั่งให้มันเลียนแบบเสียงอะไรก็ได้ ไม่ว่าเครื่องทรานซิสเตอร์, เครื่องหลอด, เครื่องยี่ห้อนั้นยี่ห้อนี้ (ด้วยการจำลอง Transfer Function ของเครื่องยี่ห้อนั้นๆ) จะตกแต่งเสียงให้อิ่ม, อวบ, สด, กังวานนุ่มนวล, เร่งเร้า, ทุ้มเยอะแหลมเยอะ (EX) อะไรก็ได้แล้วแต่โปรแกรมที่เขียนมา (เหมือนที่ใช้กันในวงการดนตรีสังเคราะห์, สตูดิโอบันทึกเสียง, เครื่องดนตรีเทียม ฯลฯ) บอกได้เลยว่า “สนุก” อาจมีการทำ D-AMP ที่ผู้ใช้สามารถซื้อโปรแกรมบุคคลิกเสียงต่างๆมาโหลดคำสั่งลงไปได้…..เสียงเสกได้ ต่อไปอาจถึงขั้นมี App ง่ายๆให้ผู้ใช้เขียนโปรแกรมคำสั่งสร้างบุคคลิกเสียงเองได้

 อย่างไรก็ตาม ของเก๊ก็คือของเก๊ ผมมั่นใจว่าไม่มีทางให้เสียงได้อย่างเป็นธรรมชาติของอนาลอกแอมป์(ที่ดีด้วยนะ) D-AMP ขายได้แน่ ตลาดกว้างแต่ไม่มีวันทดแทนอนาลอกแอมปืได้ (อย่างน้อยปัญหาคลื่นกวน)

ใครจะรู้ อนาลอกแอมป์ดีๆในปัจจุบันอาจกลายเป็นของหายาก เป็นตำนานและราคาสูงขึ้นๆในอนาคตก็ได้

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459