000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > รายงานการทดสอบ เรื่องจริงหรือไร้สาระ
วันที่ : 01/04/2016
6,284 views

รายงานการทดสอบ เรื่องจริงหรือไร้สาระ

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

?

การทดสอบเครื่องเสียง เป็นคอลัมน์เด่นในนิตยสารเครื่องเสียงต่างๆ ยิ่งถ้าผู้ทดสอบเป็นที่ชื่นชมของผู้อ่านด้วย ยิ่งเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้

????????? ทำไมต้องมีการทดสอบ เนื่องจากแทบเป็นไปไม่ได้ที่ผู้บริโภคจะมีโอกาสได้สัมผัส,ลองฟัง,ลองใช้งานได้อย่างถึงลูกถึงคน และเป็นระยะเวลายาวนานพอ ไม่ว่าจะในห้างหรือตามโชว์รูม บางแห่งขอลองฟังแทบจะยากเย็นแสนเข็ญ โดยเฉพาะของแพงๆ จนผู้บริโภคเองประหม่าเกินกว่าจะกล้าขอลองฟัง บางแห่งถามว่าจะซื้อไหม ถ้าไม่ซื้อก็ไม่ต้องลองฟัง (โดยเฉพาะที่ประเทศฮ่องกงและสิงคโปร์) ถึงให้ลองก็แค่แป๊บเดียวแล้วคนขายก็เดินมาปิดเลย ช่างไร้มารยาทสิ้นดีจริงๆ

????????? อีกสาเหตุคือ แม้ร้านจะยินดีให้ลองฟังได้ตามสบาย แต่ก็มักจะอยู่ภายใต้เงื่อนไขสิ่งแวดล้อมและการจัดชุด องค์ประกอบเข้าชุดอื่นๆที่ผู้บริโภคไม่คุ้นหูหรือคุ้นเคย จึงแทบเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้บริโภคจะประเมินตัวตนที่แท้จริงของเครื่องเสียงนั้นๆได้อย่างถูกต้อง

????????? สำหรับนักทดสอบเครื่องเสียงแล้ว เขามีอิสระอยู่มากในการขอนำเครื่องเสียงนั้นๆมาทดสอบ ด้วยระยะเวลาที่นานกว่ามาก อย่างต่ำก็เป็นอาทิตย์หรือเดือน มากพอที่เขาจะลองโน่นนี่จนสามารถประเมินตัวตนแท้จริงของเครื่องเสียงชิ้นนั้นๆได้ เนื่องจากเขาคุ้นเคยและทราบดีถึงส่วนประกอบอื่นๆที่เขามีอยู่ ใช้อยู่ประจำ ที่นำมาประกอบในการจัดชุดเพื่อทดสอบ อีกทั้งเขาสามารถปรับเปลี่ยนองค์ประกอบอย่างหลากหลายจนจับประเด็น บุคลิกของเครื่องเสียงนั้นๆได้ แม้แต่การประมาณการความก้องหรือซับเสียงของห้องฟังทดสอบ ความเงียบสงัดปราศจากเสียงรบกวน การพุ่งสมาธิในการฟังอย่างไร้การรบกวน ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่มีทางทำได้เต็มที่ตามห้างหรือตามโชว์รูม

???? ผลคือ ผู้บริโภคสามารถอาศัยรายงานการทดสอบของนักทดสอบที่มีฝีมือและประสบการณ์มากกว่า ในการเข้าถึงตัวตนของเครื่องเสียงนั้นๆ

????????? อย่างไรก็ตาม ก็ต้องพิจารณาดูด้วยว่ารายงานการทดสอบนั้นๆไม่ได้มีอคติหรือแฝงผลประโยชน์ใดๆด้วย รวมทั้งกึ๋นของผู้ทดสอบเองด้วยว่า แน่จริงหรือฟอร์มดีมีราคาคุย ซึ่งเราพอจะพิสูจน์พฤติกรรมได้จากการสอบถามนักเล่นหลายๆคน รวมทั้งติดตามผลงานของนักทดสอบนั้นๆกับเครื่องเสียงตัวที่เราเองก็ชินหูว่ามันบุคลิกอย่างไร เพื่อเทียบเคียงกับคำวิจารณ์ของนักทดสอบนั้นๆ

????????? นักวิจารณ์ที่มีจรรยาบรรณและมีฝีมือจริงๆกล้าวิจารณ์ตรงๆจึงเป็นที่เคารพรักของแฟนคลับและเป็นสิ่งที่มีคุณค่า อันพวกเราควรจะให้กำลังใจและส่งเสริมสนับสนุน แย่หน่อยที่ค่อนข้างจะหายากในวงการทั้งในบ้านเราและในวงการต่างประเทศ

????????? อย่างไรก็ตาม ผู้เขียนเองซึ่งก็มีอาชีพเป็นนักวิจารณ์เครื่องเสียงเช่นกันตลอดเกือบ 40 ปีที่ผ่านมาและอยู่ในวงการนี้ เพิ่งเมื่อ 1 ? 2 ปีมานี้เองที่ผู้เขียนได้ค้นพบสิ่งที่น่าตกใจอย่างยิ่งในการทดสอบเครื่องเสียง ซึ่งในอดีตอาจนึกกันไม่ถึง เนื่องจากสภาวะแวดล้อมที่ต่างกันกับในอดีต สิ่งเหล่านี้ทำให้รายงานทดสอบเริ่มอยู่กับความไม่แน่นอนอีกต่อไป องค์ประกอบที่ทำให้การทดสอบบิดเบือนไป ได้แก่

  1. ปัจจุบันรอบๆตัวเราเต็มไปด้วยคลื่นวิทยุ ความถี่สูง (RF) จาก
    - สถานีวิทยุที่มากขึ้นมาก,สถานีวิทยุชุมชน
    - สถานีโทรทัศน์ที่มากขึ้น
    - ระบบTV ดาวเทียมสารพัดสีจาน
    - ระบบเครือข่ายการเชื่อมต่อโทรศัพท์มือถือ (CELL SIDE )
    - ระบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi (ต่อไป W:MAX) ทั้งจากผู้ให้บริการเครือข่ายและจากระบบเชื่อมต่อภายในออฟฟิช,บ้านอยู่อาศัยเอง
    -? จอ LCD ,PLASMA ที่เปิดอยู่
    - คอมพิวเตอร์ PC (จอด้วย)
    - โทรศัพท์มือถือ,โทรศัพท์ไร้สายในบ้าน
    - รีโมทไร้สาย (ทั้งแบบอินฟาเรดและ RF )
    - นาฬิกาไฟฟ้า (แขวนผนัง,ตั้งโต๊ะ,ข้อมือ)
    - TABLET เช่น iPAD
    - เครื่องเสียงชิ้นอื่นๆในระบบที่ทำงานที่ความถี่สูงๆ( เช่นดิจิตอลแอมป์,ภาคจ่ายไฟ Switching,เครื่องเล่น CD,เครื่องเล่น DVD /Bluray,Media Box)
    สาเหตุตามข้อ 1 นี้ในอดีตเมื่อ 40 ? 50 ปีที่แล้วมีน้อยมากๆแทบไม่มีเลย
  2. การรบกวนผ่านระบบไฟ AC บ้านจากเครื่องใช้ไฟฟ้ายุคใหม่ๆที่มักมีระบบดิจิตอลควบคุม รวมทั้งจาก????????? เครื่องเสียง,เครื่องภาพที่ต่อใช้ไฟ AC ในระบบเดียวกัน
  3. การรบกวนจากคลื่น RF สารพัดในข้อ 1 เข้าไปสู่สายไฟ AC
  4. อะคูสติกของห้องที่ต่างกัน ซึ่งมีผลอย่างมากต่อเครื่องเสียง
  5. ความร้อน-เย็นของห้อง,ลมแอร์จากเครื่องปรับอากาศ,กลิ่นอับ,กลิ่นทำกับข้าว,กลิ่นห้องน้ำ ภายในห้องฟัง (มีผลเช่นกัน!)
  6. การติดตั้งชุดที่พิถีพิถันต่างๆกันไป แม้จะใช้ของเหมือนกันหมด (มีผลเกินขาดทีเดียว) (การเอียงลำโพงหรือ TOE IN มีผลมากๆ)
  7. แม้แต่การขยับสิ่งของอื่นๆในห้องก็มีผลอย่างเหลือเชื่อ (ผู้เขียนเจอมาแล้วกับการขยับเครื่องเล่น DVD ที่วางอยู่ไม่ได้ต่อไฟ ไม่ได้เสียบอะไร, ก้อนอิฐมหัศจรรย์ VPI 2 ก้อนที่อยู่ที่พื้นห้องขยับเอียงไปมาล้วนมีผลต่อ มิติเสียงอย่างคาดไม่ถึง ก้อนผลึกอะมิทิสในห้อง ขยับเอียงมีผลหมดและมีปฏิสัมพันธ์กับนมกล่องที่วางห่างไป 2 คืบ ขยับกล่องนม โฟกัสเสียงเปลี่ยน! (เชื่อว่าขยับของอื่นๆก็มีผลหมด)
  8. ต้องช็อตขั้วลำโพงบวก,ลบ ให้กับตู้ลำโพงที่ไม่ได้ใช้และวางอยู่ในห้อง (มีผลต่อมิติเสียงอย่างเหลือเชื่อ)

????????? จากองค์ประกอบทั้ง 8 ข้อ ทำให้ผลทดสอบอาจไม่เป็นไปอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากผู้ทดสอบจะได้ตระหนักทั้ง 8 ข้อและพยายามหลีกเลี่ยงตัวแปรเหล่านี้ให้มากที่สุด ผลการทดสอบนั้นๆจึงจะเชื่อถือได้จริง

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459