000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > ต้นเหตุหูเสียไม่ใช่แค่ฟังดัง.......รู้แล้วจะสยอง
วันที่ : 04/11/2015
8,313 views

ต้นเหตุหูเสียไม่ใช่แค่ฟังดัง.......รู้แล้วจะสยอง

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ในอดีตก่อนหน้านี้เชื่อกันว่าต้นเหตุของหูหนวก (เสีย) เกิดจากการฟังเสียงที่ดังเกินไป ทั้งการฟังอย่างชั่วครู่ชั่วยาม และฟังแช่ไปนานๆ

การฟังเสียงดังเกินไป ในระดับมากกว่า 120 Db SPL ถือว่าน่ากลัวแล้ว ความดังระดับนี้เทียบเท่าพอๆกับไปยืนที่ทางวิ่งสนามบิน และมีเครื่องบินเจ็ตบินขึ้นผ่านศีรษะเราไปเรียกว่าหูอื้อกันเลยอาจไม่หูหนวกทันทีอย่างถาวร

?????? แต่ถ้าดังกว่า 140 Db SPL? ถือว่าอันตรายมาก มีสิทธิ์หูหนวกถาวรได้เลย โดยอาจไม่เกิดทันทีทันใด อาจรู้สึกมีเสียงงิ้งๆในหูแช่อยู่ ตื่นนอนตอนเช้าก็พบว่า โลกนี้เงียบสนิท คือหูหนวกอย่างไม่รู้เนื้อรู้ตัว อย่างถาวร

?????? อันตรายมากที่ปัจจุบันในวงการเครื่องเสียงรถยนต์มีการแข่งการจัดชุดเครื่องเสียงที่ให้ความดัง (SOUND PRESSURE LEVEL หรือ SPL ) มากขึ้นๆจาก 125 dB SPL จนล่าสุดทะลุ 184 dB SPL (ลงทุนกันที่ 5 ? 6 ล้านบาท/ชุด) ซึ่งที่ระดับ 184 dB SPLกำลังอัดอากาศในเสี้ยววินาทีที่เปิดเสียง(ชั่วแว้บเดียว,เขาวัดกันแค่นั้นที่อยู่ภายในรถ สามารถฉีกแผ่นกระดาษพิมพ์ดีดธรรมดาให้กระจายกระจุยเป็นเศษๆได้ชั่วพริบตา! ถ้าคนอยู่ก็มีสิทธิตายได้ ที่จริงเอากันแค่ 125 dB SPL ก็ถือว่าเหลือๆแล้วไม่รู้จะเอามากกว่านี้ไปทำไม

ในทางการแพทย์ กำหนดกันว่าแม้ความดังเสียงที่ระดับประมาณ 80 ? 86 dB SPL ถือว่าไม่ก่อให้เกิดอันตรายทันทีทันใด แต่ถ้าต้องฟังไปนานๆ วันแล้ววันเล่าเช่น ในโรงงานตีเหล็ก, ประกอบเครื่องจักร ฯลฯ ก็มีสิทธิทำให้หูเสียถาวรได้

ในบ้านอยู่ทั่วๆไป ระดับเสียงรบกวนน่าจะอยู่แถวๆ 60 ? 70 dB SPL ซึ่งถือว่า สงบพอรับได้ ไม่น่ารำคาญเท่าไรเช่นพวกคอนโด, บ้านที่อยู่ใกล้ถนน, ทางด่วน? ในห้องสมุดน่าจะอยู่แถวๆ 27 ? 30 dB SPL เครื่องปรับอากาศ (เฉพาะส่วนพ่นลมในห้องหรือ FAN UNIT) จะอยู่ที่ 27 ? 32 dB SPL (ที่ความเร็วลมต่ำสุด LOW) ซึ่งถือว่าพอไหว

?????? อย่างไรก็ตาม ความรู้สึกว่าเสียงนั้นดังจนน่ารำคาญไม่ใช่ขึ้นอยู่กับระดับหรือปริมาณ (SOUND LEVEL) อย่างเดียว หากยังขึ้นอยู่กับว่า

  1. เสียงนั้นเกิดขึ้นอย่างฉับพลันทันทีทันใดขนาดไหน เรียกว่า TRANSIENT RESPONSE ขนาดไหนอันมีผลต่อแรงอัดหรือค่อยๆดังขึ้นๆช้าๆ ยิ่งดังอย่างฉับพลันยิ่งน่ารำคาญและเหมือนกับว่ามันดังกว่าตัวเลขที่วัดปริมาณได้ด้วยเครื่องมือวัดระดับเสียง (SOUND LEVEL METER) อย่างมาก
  2. เสียงนั้นมีความถี่เท่าไร อยู่ในช่วงความถี่ไหน เพราะหูมนุษย์ไวต่อความถี่เสียงแต่ละช่วงไม่เท่ากัน ความถี่ช่วงเสียงกลางๆหูจะตอบสนองได้ดีที่สุด แต่ถ้าขยับไปที่ความถี่ต่ำๆเช่น 30 ? 50 Hz แม้มิเตอร์วัดระดับเสียงขึ้นเท่ากันแต่จะฟังเหมือนค่อยลงมาก
  3. เสียงนั้นมีรูปคลื่นอย่างไร มีความเพี้ยน (DISTORTION) มากน้อยแค่ไหน เช่น วิทยุกระเป๋าหิ้ว ความดังแค่ 3 W ทำไมฟังน่ารำคาญกว่าชุดสเตอริโอเป็น 100 วัตต์
  4. เสียงนั้นเกิดขึ้นโดดๆหรือเกิดขึ้นท่ามกลางเสียงรบกวนอื่นๆ สารพัดด้วย

ในอดีตคนที่มีปัญหาหูตึง,หูเสีย,หูหนวก มักเกิดจากอายุที่มากขึ้น พวกคนแก่คนเฒ่า แต่ปัจจุบันไม่กี่ปีมานี้เราพบว่าจำนวนของคนหูตึง,หูเสียกลับไม่เฉพาะคนแก่อีกต่อไป

ชาวอเมริกันเกือบ 50 ล้านคน หูหนวกถาวร ในจำนวนนี้มีเด็ก 12- 15 % จากสาเหตุไม่ใช่เรื่องอายุ แต่เป็นการได้รับเสียงรบกวนในแต่ละวัน ในชีวิตประจำวันธรรมดานี่เองมันเป็นสิ่งที่พวกเขาต้องยอมรับโดยดุษฎี สาเหตุก็คือ การได้รับเสียงรบกวน (NOISE) เกินความปลอดภัย

แม้ว่าจะมีกฎระเบียบเรื่องความปลอดภัยจากเสียงรบกวนภายในโรงงานที่ออกโดยรัฐบาลต่างๆ แต่มีรัฐบาลน้อยมากที่จะมุ่งเตือนประชาชนเรื่องอันตรายจากเสียงรบกวน (NOISE) รอบๆ ตัวในชีวิตประจำวัน ไม่ว่า จากเครื่องเสียงพกพา(ด้วยหูฟัง (HEAD PHONE), จากฟังเพลงผ่านโทรศัพย์มือถือ, จากTABLET,จากการดูโชว์, คอนเสิร์ท (สด,สถานเริงรมย์), จากที่เป่าผม, ไซเรนจากสารพัดรถฉุกเฉิน (รถพยาบาล, ป่อเต็กตึ้ง, ร่วมกตัญญู, รถตำรวจ), จากที่ดูดฝุ่น, เครื่องตัดหญ้า, ที่ปั่นน้ำผลไม้, ปั๊มน้ำ, เสียงแตรรถ (รถสิบล้อ,รถทัวร์), ตู้เกมส์ (ตามห้างที่มีเป็นสิบๆตู้), ของเด็กเล่นที่ส่งเสียงได้ (บางชิ้นให้ระดับเสียงดัง 90 dB), ในคลับหรือภัตตาคาร, ฟู้ดคอร์ทตามห้าง ฯลฯ

เครื่องใช้ไฟฟ้าพวกนี้มักให้ระดับเสียงรบกวนสูงถึง 85 dB ซึ่งอยู่ในข่ายอันตรายเมื่อฟังไปเรื่อยๆ ต่อเนื่องไปนานๆ

ที่อันตรายที่สุดก็คือ พวกฟังเพลงจากหูฟังซึ่งมักเปิดกันดังสนั่น (ภายในหูและบ่อยครั้งที่รั่วออกมารบกวนผู้อื่นน่าจะมีกฎหมาย) พวกนี้เปิดดังระดับพอๆกับเสียงเครื่องบินไอพ่นเชิดหัวขึ้นจากลานบีนทีเดียว

เสียง ที่เข้าสู่หูของเรา จะไปสั่นเยื่อแก้วหู (EAR DRUM) แล้วส่งต่อไปยังแผงเซลล์ขน (COCHLEA) ของหูชั้นใน เซลล์ขนเหล่านี้จะส่งคลื่นไฟฟ้าไปบอกประสาทรับรู้ด้านเสียงที่สมองอีกที (AUDITORY) เสียงที่ดังมากๆหรือแม้จะไม่ดังมากแต่ดังพอและอย่างต่อเนื่องจะไปทำให้เซลล์ขน (HAIR) เหล่านี้เสียระเบียบยุ่งเหยิงและถึงขั้นเสียหายอย่างถาวรได้ (ร่างกายสร้างซ่อมเซลล์ขน เหล่านี้ไม่ได้) เราก็จะสูญเสียการได้ยินอย่างถาวร โดยจะเกิดกับกลุ่มเซลล์ขนที่รับรู้ความถี่สูงๆก่อนจากนั้นจะกินลงมาที่ความถี่กลางๆ (เสียงพูด)

ในเรื่องของเครื่องไฟฟ้าที่ส่งเสียงดังและเราต้องอยู่ชิดติดมันขณะใช้งาน ก็ให้หาอุปกรณ์ป้องกันมาสอดรูหู,ครอบหู (แม้แต่ตอนเป่าผม,ตัดหญ้า ฯลฯ)

จากการรวบรวมสถิติปี 2006 ของ AMERICAN SPEECH - LANGUAGE - HEARING ASSOCIATION พบว่าในหมู่ผู้ที่ใช้หูฟังกับเครื่องเสียงพกพา เป็นผู้ใหญ่ 35 % และเป็นเด็กถึง 59 % ที่ฟังกันที่ระดับเสียงดังเกินไป

บ่อยๆ ที่นักฟังเครื่องเสียงพกพาพวกนี้จำต้องเร่งวอลลูมสูงมาก ก็เพื่อเอาชนะและกลบเสียงรบกวนจากภายนอก ทางที่ปลอดภัยของการใช้งานคือ ควรหาที่เงียบสงบแล้วลองเร่งวอลลูมดูจนรู้สึกว่ามันดังเกินไปแล้ว ก็จำตำแหน่งการเร่งวอลลูมนั้นไว้เพื่อว่าเวลาอยู่กับเสียงรบกวนจะไม่เร่งวอลลูมเกินขีดที่เช็คเอาไว้ก่อนนั้นหรือไม่ก็หาหูฟังที่มีระบบตัดเสียงรบกวนที่ดี ไม่ว่าแบบ PASSIVE คือปิดผนึกตัวเองกันเสียงรบกวนจากภายนอก (ISOLATION) เช่นพวกครอบใบหู,? แบบแยงรูหู (IN EAR หรือ EARBUD) หลีกเลี่ยงแบบแปะหู, เปิดห้องระบายอากาศ? อีกแบบคือแบบ ACTIVE ใช้วงจรอีเล็กโทรนิกส์บวกกับไมโครโฟนจิ๋วในการทำซ้ำเสียงรบกวนจากภายนอกที่รั่วเข้าไปในหูฟังแล้วสร้างสัญญาณเสียงหักล้างกันเอง (เรียก NOISE CANCELLATION) ซึ่งที่วางจำหน่ายแม้จะมีราคาสูงกว่าปกติ 50 ? 100 % แต่ก็คุ้มค่าต่อความปลอดภัยต่อหู เพราะไม่ต้องเร่งวอลลูมดังมาก แต่ก็ต้องระวังไม่ใช้งานขณะเดินอยู่ตามถนนเพราะอาจจะไม่ทันสังเกตเสียงเตือนอันตรายจาดภัยนอกได้ รวมทั้งคุณภาพเสียงจะลดลงบ้าง

สาเหตุของหูเสีย ล่าสุดที่นึกกันไม่ถึงหรือยังไม่มีใครพูดถึงเลย (แม้แต่คนเดียว) ก็คือ หูเสียจากการฟังเสียงที่คุณภาพต่ำ (ไม่จำเป็นต้องฟังเสียงดังๆหรือฟังแช่นานๆ)

?

การฟังเสียงภายใต้สภาพแวดล้อมที่ทำให้หูต้องปรับกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆแก้วหูเพื่อรับรู้ระดับเสียงนั้นๆตามที่ควรจะเป็นให้ได้ (คือแยกให้ออกจากเสียงรบกวนรอบด้านหรือเสียงก้องภายในห้อง) การได้รับฟังระบบเสียงที่มีการกดการสวิงเสียงเอาไว้ (DYNAMIC COMPRESSAD)? ไม่ว่าจะมาจากสาเหตุอะไร (คือ DYNAMIC RAGE หรือ DYNAMIC CONTRAST แคบลง) การหวั่นเกรงว่า เสียงจะสวิงดังจนรบกวนผู้อื่น, ข้างบ้าน,คนในบ้าน ทั้งหมดนี้จะไปสั่งให้กล้ามเนื้อบริเวณรอบๆแก้วหูยืด-หดตัวไปมาจนเกร็งและตึง,ล้า,เจ็บหู (แบบตื้อๆตันๆ)

ขณะเดียวกัน สุ้มเสียงที่ไม่ชัดเจนเช่นความถี่ตอบสนองไม่ราบรื่น ,บางความถี่โด่ง,บางความถี่เสียงตก แถมความถี่ที่เป็นปัญหาเหล่านี้ก็ขยับความถี่เลื่อนไปมาตามความดังของเสียงขณะนั้นๆ (คือ วอกแวก,ไม่นิ่ง,คุ้มดีคุ้มร้าย) จะทำให้แผงเซลล์เส้นขนเหล่านั้นต้องทำงานคอยช่วยชดเชย (การตก-เกิน) ตลอดเวลาอย่างไม่รู้จบสิ้นจนหูล้า, เจ็บ

เสียงที่คลุมเครือ ทื่อๆ ไม่คมชัด ขาดรายละเอียด หยุมหยิม ขาดความสด จะสร้างความสับสนแบบองค์รวมของ 2 กรณีแรกที่กล่าวไปแล้ว อีกทั้งระบบประสาทการได้ยินจะต้องทำงานหนักมากเพื่อประมวลผลว่าเสียงที่ได้ยินเหล่านั้นคืออะไรแน่ สมองจะอ่อนล้า ลดความแม่นยำของระบบควบคุมแก้วหูและแผงเซลล์ขน ทำให้มันทั้งสองต้องทำงานหนักขึ้นอีก

เสียงซ้าย-ขวา ที่มีปัญหา ผลักดันมวลอากาศกลับทิศทางกัน (กลับเฟส) จะทำให้ฟังโหว่งๆ อั้นๆ อื้อๆ สมองจะสับสน เกิดความเครียดที่เยื่อหูและประสาท

ในการใช้หูฟัง อย่าลืมตรวจดูว่า ด้านไหนซ้าย ด้านไหนขวาด้วย (มีผลต่อมิติและสุ้มเสียง) ผลของอาการเหล่านี้ปรากฏกับผู้เขียนเองในอดีตสมัยไม่มีห้องฟังของตนเอง แม้ปัจจุบันถ้าต้องการฟังเครื่องเสียง(ไม่ว่าเป็นอะไร)ที่ไม่สมบูรณ์พอ ก็จะรับรู้ปัญหานั้นได้ทันที ส่วนหนึ่งจากการเกิดอาการไม่ดีดังกล่าว เทียบกับที่เคยฟังสุ้มเสียงที่ครบสมบูรณ์กว่ามาก่อน

เพื่อนของผู้เขียนเองยิ่งแล้วใหญ่ แกมีอาการหนักหนาสาหัสกว่าผู้เขียนมาก ทุกครั้งที่ได้ฟังเครื่องเสียงที่เสียงแย่ๆ(มีปัญหา)แม้จะไม่ได้เปิดดังอะไรเลย และฟังแค่ไม่กี่นาทีด้วยซ้ำ

นี่อาจเป็นตัวอธิบายได้ในอีกมุมมองหนึ่งว่า ทำไมเครื่องเสียงที่เสียงแย่ๆแม้เราไม่เร่งดังอะไรเลยแต่ทำไมกลับรู้สึก ?หนวกหู?, ?รำคาญหู? (ซึ่งถ้าคงอาการนี้ไว้นานๆ บ่อยๆ เชื่อว่าจะทำให้หูเสีนเช่นกัน)?? เครื่องเสียงที่แย่ๆอุบาทว์หูนั้นเพราะมีความเพี้ยนสูงนั่นเอง

เช่นเดียวกัน พวกเครื่องเล่นเครื่องใช้ไฟฟ้าสารพัดที่บางชิ้นแม้จะดูเผินๆ ก็ไม่ได้ดังตูมตามมากมายอะไร แต่ทำไมทำให้หูเสียได้ ก็เพราะมันส่งเสียงที่อุบาทว์หู เสียดแทง เต็มไปด้วยความเพี้ยนนั่นเอง

สรุป

ขอให้ระลึกและมาทำความเข้าใจเสียใหม่ว่า หูเสีย ไม่จเป็นต้องเกิดจากระดับเสียง, ระยะเวลาการฟังแช่ต่อเนื่องอย่างเดียว หากแต่ขึ้นอยู่กับคุณภาพของเสียงนั้นๆด้วย

เรื่องน่าคิดต่อไปก็คือ
การใช้โทรศัพท์มือถือที่แทบทั้งหมดรับฟังด้วยหูข้างเดียว (หูขวา) จะมีผลต่อการเคยชิน (MEMORY EFFECT) ของแผงเซลล์ขนของหูซีกซ้ายและขวากับเซลล์กล้ามเนื้อแก้วหู ที่นานๆจะเกิดการเคยตัว ที่ต่างบุคลิกกันความ ?แม่นยำ? ในการฟังปกติ เมื่อกลับมาฟังด้วย 2 หูจึงเสียความสมดุลไป? ปัญหานี้จะเกิดกับนักร้อง,วาทยกร,นักดนตรีบนเวทีคอนเสิร์ตที่ใช้หูฟังข้างเดียวด้วยหรือเปล่า

ระบบบลูทูช (BLUETOOTH ฟังหูเดียว) ก็เช่นกัน เห็นบางคนใส่แช่ทั้งวัน (หูเดียว) และคลื่นวิทยุระบบ BLUETOOTH มีผลต่อประสาทสมองได้ยินหรือไม่ อย่างไรเช่นกัน

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459