000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > เครื่องเสียงรถยนต์ > บทความเครื่องเสียงรถยนต์ > แอมป์วัตต์สูง VS แอมป์วัตต์ต่ำ
วันที่ : 26/04/2016
21,240 views

แอมป์วัตต์สูง VS แอมป์วัตต์ต่ำ

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

มีท่านนักเล่นเครื่องเสียง (ทั้งรถและบ้าน)ท่านหนึ่งโทรศัพท์มาท้วงติง จากบทความเดือนที่แล้วที่ผมแนะนำให้เล่นเพาเวอร์แอมป์กำลังขับสูงที่สุดเท่าที่จะซื้อไหว เพื่อนำมาขับลำโพงกลาง, แหลม, ผมก็พูดไปหลายหน้า ท่านนักเล่นท้วงว่า จากประสบการณ์ของเขา แอมป์วัตต์ต่ำดีๆเสียงน่าฟังกว่าแอมป์วัตต์สูงๆ คำแนะนำของผมจะทำให้นักเล่นหลงทางหรือเปล่า

          ผมก็ขอโอกาสอธิบายไขข้อข้องใจในบทความนั้น ประเด็นหลักคือผมเน้นการเล่นเพาเวอร์แอมป์ที่สุดไว้ขับลำโพงกลาง/ทุ้ม+ลำโพงแหลม เพื่อให้ได้เสียงทุ้มอิ่มลึกทรงพลังได้โดยแทบไม่ต้องเพิ่มระบบซับวูฟเฟอร์ก็ได้ นั่นเป็นการเน้นการแทนที่ระบบซับ โดยเล็งที่พลังเสียงต่ำ ไม่ได้เน้นคุณภาพกลาง,แหลมสุดๆ อย่างไรก็ตาม ผมก็ไม่ได้แนะนำให้ใช้เพาเวอร์แอมป์วัตต์สูงคุณภาพต่ำๆประเภทดังลูกเดียว อย่างน้อยคุณภาพต้องได้ด้วย แต่ก็ไม่ถึงกับระดับซุปเปอร์ไฮเอนด์มาเล่น ขอให้อยู่ในระดับคุณภาพที่รับได้ ซึ่งตัวอย่างเพาเวอร์แอมป์ BOSTWICK ก็ถือว่าสอบผ่าน สนนราคาเองก็ระดับทะลุหมื่นบาททั้งนั้น ไม่ใช่เพาเวอร์แอมป์โนเนมบ้านหม้อไม่กี่พันบาทที่ดังแบบไล่ควาย

          แต่ถ้าไม่เน้นทุ้มอิ่มๆลึกๆมากๆ และเน้นคุณภาพเสียง,มิติเสียงสูงสุด ถ้าแบบนี้มันก็จริงที่ว่า เพาเวอร์แอมป์กำลังต่ำกว่าเช่น 50 – 70 W.RMS/ข้าง (ที่ 4 โอห์ม) ก็มีสิทธิ์ให้คุณภาพเสียงดีกว่าเพาเวอร์แอมป์กำลังขับสูงๆ 150 – 160W.RMS /ข้าง(ที่ 4 โอห์ม) แต่นั่นก็ก็หมายความว่าเพาเวอร์แอมป์วัตต์ต่ำนั้นราคาเท่ากับหรือมักแพงกว่าแอมป์วัตต์สูงกว่าด้วยซ้ำ ทำไมเราถึงมีเพาเวอร์แอมป์วัตต์ต่ำ 50 – 70W.RMS/ข้าง ที่ราคาเกือบ 3 หมื่นบาทขณะที่ราคาขนาดนี้ซื้อเพาเวอร์แอมป์ วัตต์สูงได้ถึง 250W.RMS/ข้างก็มี ขณะที่แอมป์วัตต์สูงระดับ 300W.RMS/ข้าง ที่คุณภาพดีๆที่ราคาเกือบแสนบาทก็ยังมี ในกรณีที่เป็นยี่ห้อเดียวกัน ตระกูลเดียวกัน แอมป์วัตต์สูงกว่ามักให้อะไรๆที่ดีกว่าเสมอ (ถ้าคนออกแบบเป็นงานและผลิตมาดี)    กำลังขับของแอมป์บางทีก็เทียบเคียงกันยาก

          กรณีที่ออกแบบมาอย่างเผื่อเอาไว้สุดๆและเน้นอัดฉีดกระแสได้สูงที่สุด ซึ่งดูจากสเปคกล้าระบุว่า 50W.RMS/CH ที่ 4 โอห์ม (ความเพี้ยน THD 0.01% ตลอดช่วงความถี่ 20 – 20,000 Hz) กำลังขับเบิ้ลเป็น 2 เท่าที่ 2 โอห์ม ด้วยสเปค THD และความถี่เหมือนกัน ได้กำลังเป็น 100W.RMS/CH ที่ 2 โอห์ม และถ้าบ้าเลือดได้ถึง 200W.RMS/CH ที่ 1 โอห์ม (THD,ความถี่เหมือนกัน) อย่างนี้เชื่อได้เลยว่า จะให้ทั้งคุณภาพเสียงที่ดีเยี่ยมและกำลังขับที่ดุเดือดไม่มีตก ไม่มีอั้น อิ่ม หนัก มหึมา ระดับแอมป์ 150W.RMS/CH ที่ 4 โอห์ม ระดับพื้นๆต้องชิดซ้าย ทั้งกำลังขับและคุณภาพเสียง แต่นั่นก็หมายความว่าตัวแอมป์ 50W.RMS/CH นั้นต้องมีขนาดเท่ากับหรือใหญ่กว่าแอมป์ 150W.RMS/CH ด้วยซ้ำ แถมราคาแพงกว่าอีกเป็นเท่าตัวด้วย กำลังขับเป็นแค่องค์ประกอบนิดเดียวของหลักประกันว่า มันจะให้คุณภาพเสียงที่ดีเท่านั้นก็เหมือนดู TV แบบโปรเจคชั่น (ฉายด้านหลัง) จอ 50 นิ้ว ภาพอาจสู้จอแก้ว 29 นิ้วดีๆไม่ได้

          พูดถึงเพาเวอร์แอมป์ อดคิดไม่ได้ว่าทำไมไม่มีใครทำแบบ 4CH หรือ  6CH ที่มีวงจรแบ่งเสียงอิเล็คโทรนิกส์ในตัวที่ตัดความถี่กินถึงช่วงสูงถึง 5KHz ได้เพราะปกติจะตัดต่ำ เพื่อออกกลางและออกซับเท่านั้น อย่างแอมป์ 4CH ถ้าเราเลือกจุดแบ่งความถี่ออก CH1, CH2 ได้เช่นเลือกได้ตั้งแต่ 1KHz ถึง 5KHz พร้อมปรับระดับเสียงได้ด้วยก็เท่ากับว่า เราเอาดอกแหลมต่อตรงกับแอมป์ได้เลย (CH1 เข้าซ้าย, CH2 เข้าขวา) และ CH3 , CH4 ตัดที่ความถี่เดียวกัน (หรือใกล้เคียง....ต้องฟัง,จูนเอา) ออกดอกกลางทุ้มได้เลย ไม่มีการใช้วงจรแบ่งเสียงของลำโพง (PASSIVE NETWORK) เป็นการขับตรงแบบ ACTIVE กันเลย

          ปกติวงจรแบ่งเสียงอิเล็คโทรนิกส์ที่มากับเพาเวอร์แอมป์รถ มักตัดชันพอสมควรอยู่แล้วคือ 2 ชั้น ( 12dB /octave) เท่ากับตัด 2 ชั้นของ PASSIVE ทีเดียว ถ้าใช้ลำโพงดีหน่อยก็น่าจะพอเพียงทีเดียว ไม่จำเป็นต้องตัดกันถึง 18dB /octave นั่นก็หมายความว่าเปิดโอกาสให้เลือกเล่นลำโพงได้อย่างอิสรเสรีมาก ยิ่งถ้าทางผู้นำเข้าลำโพงยอมสั่งเฉพาะดอกลำโพงมาขายจะทำให้ราคาลำโพงลดลงพอสมควรทีเดียว (อาจถึง 30%) หรือยอมขายแยกดอกลำโพงก็ยิ่งดีใหญ่ ผู้ซื้อสามารถจัด สรรหรือจับเข้าคู่เองได้หมด เช่น ใช้ดอกกลางทุ้มกรวยเคฟร่า แล้วก็ลองเลือกดอกแหลมโดมนิ่ม,โดมอลูมิเนี่ยม,โดมติตาเนี่ยม หรือกลับบ้าน โดมนิ่ม แล้วเลือกดอกกลางทุ้มกรวยกระดาษ,กรวยกระดาษแซมผงเซรามิก,กรวยไฟเบอร์,กรวยเคฟร่า,กรวยโปลี่โพไพลีน,กรวยโลหะ ฯลฯ และถ้าดีที่สุด ผู้นำเข้าลำโพงเปิดให้ลองเอาลำโพงไปใช้คู่กันดูว่าไปด้วยกันได้ไหม (อาจเอาตัวสำรองโชว์ไปลองก่อน เข้ากันได้ก็กลับมาเปลี่ยนเป็นดอกใหม่ไป แต่ตอนเอาไปลองจ่ายเต็มเท่าดอกใหม่ไว้)

          ถ้าทำได้อย่างนี้จะ สนุก และ แฮปปี้ กันมากทุกฝ่าย เรียกว่าใครชอบเสียงอย่างไหนก็ ปรุง กันเอาเอง อย่าลืมว่าการเปลี่ยนลำโพงมีผลต่อเสียงมากเหลือเชื่อทีเดียว มากกว่าเปลี่ยนแอมป์,สาย เยอะพอๆกับเปลี่ยนฟรอนท์

          อย่างไรก็ตาม มันขึ้นอยู่กับผู้เล่นต้องพอเข้าใจการทำงานของดอกลำโพงด้วยซึ่งก็ไม่ยากนัก ทางผู้ขายลำโพงควรทำกราฟตอบสนองความถี่,และสเปคความไว,ความต้านทาน,ทนกำลังขับ,มุมกระจายเสียง (ถ้ามี) ของแต่ละดอกแนบมาให้ด้วย ทางผู้เล่นจะได้ใช้เป็นแนวทางในการเลือกจุดแบ่งความถี่และระดับเสียงทำให้การจูนเสียงทำได้ง่ายขึ้น

          ต้องบอกก่อนว่า การใช้ EQ ใดๆไม่สามารถปรับแต่งเสียงได้ลงตัวเท่าการจูนลำโพงดีๆเพราะการจูนลำโพงได้ลงตัวที่สุดจะต้องจูนทั้งสุ้มเสียงและมิติเสียงรวมทั้งเวทีเสียง ซึ่ง EQ ใดๆก็เข้าไม่ถึงตรงนี้ ได้แต่เพียงผิวเผิน เหมือนกับจะได้แต่ไม่ได้จริง ต้องคอยปรับแต่ง,แก้ ไปตามแต่ละเพลงตลอดเวลา

          ผมเคยพูดถึงข้อดีของการเล่นระบบลำโพงแบบ ACTIVE ไปเมื่อ 3 ปีมาแล้ว หลายท่านอาจไม่ได้อ่าน บางท่านอาจจะลืมจึงขอนำมากล่าวอีกครั้งเพื่อประกอบให้เห็นข้อดีและความน่าเล่นแบบนี้

  1. ช่วยให้ลำโพงดังขึ้น
    อาจได้ถึง 2dB เป็นอย่างน้อย บางคู่อาจได้ถึง 3dB ถ้าระบบลำโพงนั้นใช้วงจรแบ่งเสียงที่สลับซับซ้อนและมากขึ้นหรือดอกลำโพงกลางทุ้มกับดอกแหลม มีความไวต่างกันมากๆ (ทำให้ต้องลดทอนดอกที่ความไวสูงลงให้เหลือน้อยลงจนเสมอเท่ากับดอกที่ไวน้อยกว่า)
  2. ภาคขยายเสียงขาออก
    สามารถระบายกระแสป้อนกลับจากการขยับกลับมาของกรวย (หรือโดม)ดอกลำโพง (เรียก BACK EMF) ลงดินที่ภาคขาออกแอมป์ได้เร็วและหมดจดที่สุดไม่มีวงจรแบ่งเสียงดอกลำโพง (PASSIVE CROSSOVER NETWORK) มาขวางกั้น (เรียกว่าได้ค่า DAMPING FACTOR หรือ DF สูงสุดตามที่ภาคขยายควรจะให้ได้ ยิ่งถ้าเป็นวิทยุไฮเพาเวอร์ที่ภาคขยายในตัวก็ให้ค่า DF ไม่สูงอยู่แล้ว หรือพวกเพาเวอร์แอมป์หลอด ที่ต้องมีหม้อแปลง ขาออกลำโพง,ค่า DF ยิ่งต่ำมาก การไม่มี PASSIVE NW. นี้ยิ่งช่วยให้ DF ไม่ถูกลดทอน) ยิ่ง DF สูง ภาคขยายยิ่ง หยุดการสั่นค้างของกรวย (โดม)ลำโพงได้ฉับไวยิ่งขึ้น เสียงจะกระชับ ไม่คราง เสียงจึงชัดเจนไม่เบลอ มัว
    การที่ DF สูงๆจะช่วยให้ลำโพงเก็บตัวได้กระชับและทนขึ้น การขยับของกรวย (โดม) จะแม่นยำไม่แกว่งส่าย ลดโอกาสที่จะบิดขูดกับช่องใส่วอยส์คอยล์ลงได้มาก จึงอัดได้ดัง แรงขึ้นก่อนลำโพงทนไม่ไหว ยิ่งใช้ในรถซึ่งถูกสั่นกระเทือนจากภายนอกตลอดเวลา การได้ค่า DF สูงๆ จะยิ่งเพิ่มความแม่นยำของการขยับ และลดโอกาสวอยส์ เบียดได้ดียิ่งขึ้นไปอีก
  3. สามารถเลือกจุดแบ่งความถี่และระดับเสียงได้อย่างละเอียด
    แม่นยำกว่าการตัดแบ่งด้วยอะไหล่ PASSIVE ที่หาค่าที่ต้องการเป๊ะจริงๆไม่ได้หรือต้องผสมค่าซึ่งวุ่นวายเพิ่มต้นทุน ผู้ผลิตลำโพงมักหลีกเลี่ยง เมื่อแบบ ACTIVE เลือกได้แม่นยำกว่ายิ่งจูนเสียงได้ลงตัวดีที่สุดกว่า
  4. ลดปัญหาอะไหล่
    PASSIVE แต่ละชิ้นในแผงวงจรรบกวนกันเอง ปัญหาคุณภาพของชิ้นส่วนเหล่านี้ รวมทั้งทิศทางด้วยการจับเข้าคู่ค่าอุปกรณ์ซ้าย, แผงขวา หรือ MATCHED PAIR
    ผลของการฟังแบบ ACTIVE เสียงจะ หลุด ออกมาจากลำโพงอย่าง มีอิสระ เสียงฉับไวและกระชับทำให้ฟังได้ละเอียดดีขึ้น ช่องไฟระหว่างตัวโน้ตดีขึ้น เสียงกังวานแยกอิสระจากเสียงตรงได้ดีขึ้น ตำแหน่งชิ้นดนตรีแม่นยำและนิ่งขึ้นไม่วอกแวก เวทีเสียงเกลี้ยงเกลาสะอาดขึ้น การสวิงดัง-ค่อยเต็มที่ (มีชีวิตชีวาหรือ DYNAMIC ) ช่วงโหมดนตรีหลายชิ้นเล่นพร้อมๆกันจะยังแยกแยะเป็นชิ้นเป็นอันอยู่ได้ไม่มั่วหรือสับสนไปหมด จะได้การสวิง เสียงดุจถูกขับจากภาคขยายที่มากกว่าความเป็นจริงเช่น ถ้าเราใช้เพาเวอร์แอมป์ 4CH ขับ ACTIVE (80Wx4CH) เท่ากับว่าขับแหลม 80W. ขับกลางทุ้ม 80W. รวม 160 W./ข้าง แต่จะฟังเหมือนขับด้วยเพาเวอร์แอมป์ 320W./ข้าง
    อย่าถามนะครับว่า ถ้าอย่างนั้นเอาแอมป์ 4CH (80W.x4CH) มาบริดจ์-โมโนเป็นสัก 200W./CH ขับจะดีกว่าขับ ACTIVE ไหม
    คำตอบคือ อย่าคิดจะบริดจ์แอมป์เป็นโมโนเด็ดขาด อะไรๆที่เป็นข้อดีทั้งหมดของการขับแบบ ACTIVE จะหายไปหมดและแย่ลงแบบตรงข้ามหมด จะได้อย่างเดียวคือเสียงดังขึ้น แต่เลวลงเท่านั้น
    อีกกรณีคือ อย่าคิดนำแอมป์ 2CH 2เครื่องที่ยี่ห้อ,รุ่นต่างกันมาขับ ACTIVE เช่น เอายี่ห้อ A รุ่น 50W.x2CH ขับดอกแหลม รุ่น 100Wx2CH ขับดอกกลางทุ้ม เพราะสุ้มเสียงจะต่างกัน เสียงจะไม่กลมกลืน อย่าคิดว่าเสียงแหลม มันค่อยมาก ยิ่งตัดแบ่งที่ความถี่สูงยิ่งค่อย จะเปลืองแอมป์หรือไม่ที่เอา 80W./CH ขับดอกแหลม เหมือน 80W./CH ขับดอกกลางทุ้ม เหตุผลคือ อย่าลืมว่าดอกแหลมเป็นตัวให้หัวโน้ตหรือการสวิงวินาทีแรกของตัวโน้ต เป็นสัญญาณสวิง (TRANSIENT) ซึ่งค่าจำกัดความของมันคือสัญญาณที่ใช้เวลาเกือบ 0 วินาที ในการสวิงจากระดับ 0 ไปสู่ระดับสูงไม่สิ้นสุด (INFINITY) นั่นคือมันต้องขยายหัวโน้ตที่สวิงขึ้นไปสูงอย่างยิ่ง การได้แอมป์วัตต์สูงพอมาขับจึงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้หัวโน้ตที่ชันตรงที่สุดเสียงจึงจะสมจริงที่สุดได้
    อีกอย่างคือ สายสัญญาณเสียง ( INTER CONNECT ) ก็ต้องเหมือนกันด้วยทั้งแอมป์ขับดอกแหลม และ แอมป์ขับดอกกลางทุ้มรวมทั้งสายลำโพงด้วย
    ตัวอย่างเพาเวอร์แอมป์ที่วงจรตัดแบ่งความถี่สามารถตัดดอกแหลมได้เช่นของ KARSTADT

     รุ่น KA- 80.4

    AB RMS/CH Hz คือ CH คู่ไหนเลือก HP หรือ LP ก็ได้) แถมตัดความถี่ต่ำลึกที่ไม่ต้องการได้ด้วย (SUBSONIC FILTER) เลือกได้ 10Hz-100Hz และยังยกทุ้มลึกได้อีก (เลือก 350-120 Hz  0 ถึง 18 dB) ค่า DF ก็สูงดีมากคือมากกว่า 200 ค่า S/N มากกว่า 100 d B ที่น่าทึ่งคือ LP,HP ตัดชันถึง 180 dB/oct!

     รุ่น KA- 90.2

     AB W.RMSx2CH ที่ 4 โอห์ม, 140W.RMSx2CH ที่ 2 โอห์ม) (อย่างอื่นเหมือน KA-80.4 AB)

     รุ่น KA- 200.2

AB AB

(ทั้ง 2 รุ่นอย่าลืมเปิดฝาแล้วแยกแหกสายแบบที่พ่วงจากแผงปรี (เล็ก) ไปแผงใหญ่ด้านล่างไม่ให้แตะกันได้จะยิ่งดีที่สุด)

สำหรับเพาเวอร์แอมป์วัตต์ (ตัวเลข) ไม่สูง แต่กลับให้พลังขับสูงผิดคาดและคุณภาพเสียงไฮเอนด์ ตัวอย่างเช่นของ SINFONI จากอิตาลีแท้ รุ่น AMPLI TUDE 90.2 (105W.RMS/CH ที่ 4 โอห์ม และ 165W.RMS/CH ที่ 2 โอห์ม) และรุ่น AMPLI TUDE 45.2 (72W.RMS/CH ที่ 4 โอห์ม และ 121W.RMS/CH ที่ 2 โอห์ม) ที่ 14.4V ทั้ง 2 รุ่น

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459