000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > ติเพื่อก่อ > การตลาด (ขายให้เป็น) > จอ OLED สำหรับคนตาถึง (ขายง่ายไม่ยาก)
วันที่ : 27/11/2015
9,302 views

จอ OLED สำหรับคนตาถึง (ขายง่ายไม่ยาก)

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

จอทีวีในปัจจุบันเหลืออยู่แค่ 2 เทคโนโลยี่คือ LCD  (ที่มีดวงไฟ LED ส่องอยู่ด้านหลังทำนองเดียวกับตู้ไฟโฆษณา โดยภาพจะถูกสร้างขึ้นจากแผ่นฟิล์ม LCD ทั้ง 3 แม่สีแสง แต่ความสว่างที่ทำให้เรามองเห็นภาพนั้น มาจากดวงไฟ LED ด้านหลังแผ่นฟิล์ม LCD ก็ไม่รู้ทำไมเรียกกันว่า LED TV ซึ่งจริงๆ “ผิด” LED TV ต้องหมายถึงจอที่ใช้เม็ดดวงไฟ LED (3-4 สี) มารวมกันเป็น 1 หน่วยของเม็ดภาพนี้ โดยเม็ดภาพแต่ละหน่วยจะติดสว่างส่องแสงออกมาด้วยตัวของมันเอง สร้างภาพด้วยหมู่ของหน่วยเม็ดภาพเองโดยตรง ไม่มีไฟส่องหลังใดๆ อย่าง LCD TV  LED TV เราจะเห็นได้ตามจอภาพถนนทั้งจอใหญ่ขนาดตึก 3-4 ชั้น ถึงจอขนาดแค่ 100-200 นิ้ว หรือตามบูธในงาน มอเตอร์โชว์ จอพวกนี้ (LED TV) จะกินไฟมหาศาล เพราะต้องเปล่งความสว่างได้แบบแสบตา (ในเวลากลางคืน) และสู้แสงอาทิตย์ได้ (ในเวลากลางวัน) อีกทั้งจะเปล่งกระจายรังสีอันตรายและความร้อนออกมามหาศาล (พวกนี้จะมีพัดลมนับร้อยๆ ตัวด้านหลัง) สงสารตำรวจจราจรตามสีแยกที่มีป้อมยามและจอ LED TV อยู่บนหลังคา นั่นนะรับไปเต็มๆ เรื่องคลื่นรังสีที่แสนอันตราย (อยู่ใกล้นานๆ จะรู้สึกคลื่นไส้) ทำไมไม่มีใครพูดถึงประเด็นความปลอดภัยให้กับพวกตำรวจจราจรที่น่าสงสารเหล่านี้

อีกเทคโนโลยีหลักของจอที่ใช้ในบ้าน (ไม่ใช่เชิงพาณิชย์) ก็คือจอ OLED (Organic LED) ที่คล้ายจอ LCD ผสมกับจอ PLASMA (ซึ่งตายไปแล้วจากตลาด) โดยเม็ดภาพแต่ละเม็ดที่เกิดจากจอ OLED จะเป็นการ “เปล่งแสง” ออกมาเอง ไม่ได้อาศัยดวงไฟ LED ส่องด้านหลัง (ความรู้สึกของการได้ดูภาพจากจอ OLED จึงคล้ายกับดูภาพจากจอ PLASMA ที่ทุกเม็ดภาพเกิดจากการแตกตัวของแกสและเปล่งแสงออกมาเอง (ทำนองหลอดนีออน) ว่าไปแล้วทั้ง OLED และ PLASMA ก็ให้ภาพที่ทำนองเดียวกับภาพจากทีวีจอแก้ว (CRT) ที่เราใช้กันมานับ 70 ปีในอดีต ที่ใช้การยิงอีเล็คตรอนจากปืนยิงอีเล็คตรอนไปยังหลังจอแก้วที่เคลือบด้วยสารเรืองแสงที่จะ “เปล่งแสง” สร้างเป็นแต่ละเม็ดภาพออกมาโดยตรงเช่นกัน

จึงไม่แปลกที่ หลายๆคนที่เคยชินกับภาพที่มีทรวดทรงเป็น 3 มิติ (3D) มีลำดับชั้นตื้นลึก (Depth of field) หรือเป็นลำดับไล่จากหน้าไปหลัง (เป็น LAYER) จะชื่นชอบจอแก้วมาอันดับหนึ่ง (เพราะให้มิติภาพและเสน่ห์ของภาพที่สมจริงที่สุด ดีกว่าดูในโรงภาพยนตร์ที่ฉายจากแผ่นฟิล์ม) รองลงไปคือ PLASMA (ที่ต้องสูญพันธ์ไปเพราะต้นทุนการผลิตที่สูง และการให้พลังแสงด้วยกว่า LCD มาก (CONTRAST RATIO ต่ำ) เวลาโชว์ตามโชว์รูม (ที่สว่างจ้าด้วยนีออนนับร้อยดวง) จึงดูอึมครึม ถอยจม ขมุกขมัวกว่าจอ LCD การทำจอใหญ่ๆต้นทุนยิ่งสูง แบบกดไม่ลงและยิ่งฟ้องเรื่องพลังแสง (BRIGHTNESS และ CONTRAST RATIO) ที่ยิ่งแย่ลงเมื่อจอใหญ่ขึ้น ๆ (ก็เหมือนจอแก้ว CRT ปัญหาคล้ายๆกัน)

ขณะที่จอ LCD ไปได้สวยกว่า (ผมไม่ได้บอกว่าดีกว่า) คือเพิ่มความสว่างของภาพได้แทบไม่จำกัด ขึ้นอยู่กับความสว่างของดวงไฟ LED ส่องหลัง แต่ละยี่ห้อก็แข่งกันเร่งความสว่างจนมองนานๆ ตาปวดล้า ถ้าเอาไปดูจริงๆ ที่บ้าน ตาแทบทะลุ ขนาดหรี่ไฟ LED ส่องหลังจนต่ำสุดๆแล้วก็ยังสว่างจ้า เคืองตาอย่างยิ่ง พอๆ กับมองย้อนแสงของไฟฉาย LED ขนาดนั้นเลย ดูไปนานๆ ตาพังอย่างเดียว แถมรังสีที่ออกมาก็แรงจัด (สังเกตว่า เวลาเราไปเดินดูในบูธทีวี LCD ตามห้าง พออยู่ท่ามกลางจอพวกนี้ จะรู้สึกอึดอัด คลื่นไส้) สงสารพวก PC พนักงานขายตามบูธ เอาชีวิตเข้าไปเสี่ยงแท้ ๆ

สรุปว่า

1.    จอ LCD เป็นอันตรายต่อสายตา, ดวงตา อย่างมาก (ไม่ใช่ด้วยเทคโนโลยี่ที่ไม่ดีของมัน แต่ด้วยฝ่ายการตลาดที่มุ่งแต่จะเอาชนะคู่แข่งเวลาเปิดโชว์ตามห้าง และบังคับให้วิศวกรเร่งความสว่างของ LED ส่องหลัง

2.    คงเป็นเรื่องยากและซับซ้อนที่จะพิสูจน์ให้ชัดเป็นรูปธรรมว่า จอ LCD ในปัจจุบัน แผ่รังสีออกมารุนแรงอย่างน่าเป็นห่วง (ดังอาการคลื่นใส้ที่กล่าวแล้ว หรือการที่มันทุบคุณภาพเสียงของเครื่องเสียงที่วางใกล้ (ประมาณ 1 เมตร) จนพิกลพิการอย่างเหลือเชื่อว่า จะถึงขนาดนั้น

3.    เทคโนโลยี่การจะให้ภาพที่ “หลอก” ตาว่า “ดูดี” ของจอ LCD จะต้องใช้หลายๆเทคโนโลยี่ประกอบกันเพื่อ “ตบตา” จนบ่อยๆ ที่กลับสร้างปัญหารูปแบบใหม่ เช่น ภาพกระตุก การเคลื่อนไหวที่ไม่ราบรื่น ความคมชัดที่วูบลดลงทันทีที่วัตถุนั้นเคลื่อนไหว การลดทอนความคมชัดของฉากหลัง เพื่อหลอกตาว่า วัตถุฉากหน้าชัดขึ้น การกระพริบไปทั้งภาพตรงโน้นทีตรงนี้ทีของระบบ LOCAL DIMMING ของ LED ส่องหลัง เพื่อคอยปิดหรือหรี่ดวงไฟ LED บริเวณที่เป็นส่วนมืดของภาพนั้นๆ เพื่อหลอกตาว่า บริเวณที่มืดนั้นมืดได้สนิท (DEEP BLACK) ดำสนิท (จะได้ระบุ CONTRAST RATIO ได้เป็นแสนเป็นล้านต่อ 1) การทำงานของวงจรนี้จะรบกวนโสตประสาทให้เกิดเกร็ง, เครียด ไม่ผ่อนคลาย (ต่อจิตใต้สำนึก หรือ SUBCONCIOUS) และการที่มันมืดไม่จริง ความมืดที่เหมือนดีขึ้นนั้นไม่ได้ไปช่วยส่งเสริมให้แก่ส่วนอื่นๆ ในภาพเดียวกันที่ยังคงสว่างอยู่ จึงทำให้ภาพออกมาแบน ไร้ทรวดทรง ไม่เก่ง, ดีพอที่จะไล่ความมืดสว่างมากหรือน้อย เกลี่ยได้กับทุกระดับความสว่างของทุกๆ วัตถุในภาพ พูดง่ายๆว่า CONTRAST RATIO ของแต่ละวัตถุในภาพ แต่ละเสี้ยวส่วนในภาพเดียวกัน ไม่ได้เป็นไปในทางและสภาพเงื่อนไขเดียวกัน ตามเฉลี่ยโดยรวม จึงออกมาแบน (2D) ไร้มิติ, ไร้ทรวดทรง, ไร้ความตื้นลึก (DEPTH OF FIELD)

สรุป OLED ไม่มีปัญหาต่างๆอย่าง LCD/LED บริเวณที่มืดก็จะมืดสนิทสุดๆ (DEEP BLACK) คือเม็ดภาพบริเวณนั้น  ดับ ไม่ส่องแสงเลย (CONTRAST RATIO จึงสูงอย่าง “ของจริง” ไม่อาศัยเร่งไฟ LED ที่ส่องหลังจนเว่อร์อย่างจอ LCD) และไม่มีรังสีออกมามากเกินจำเป็น

การใช้วงจร “ตบตา” น้อยกว่ามาก การรบกวนจิตใต้สำนึกของเราจึงต่ำมาก การเคลื่อนไหวในภาพราบรื่นกว่ามาก (RESPONSE TIME ดีกว่ามาก) CONTRAST RATIO ของระดับความสว่าง เป็นหนึ่งเดียวตามธรรมชาติตลอดทั้งภาพ

ความคมชัดดีกว่า เป็นธรรมชาติกว่า เพราะปราศจากคลื่นรบกวนจากการกระพริบ (LOCAL DIMMING) ของ LED หลังจอ LCD

จอ OLED จึงให้ภาพที่มีมิติ มีทรวดทรงเป็น 3 มิติ (3D) มีลำดับชั้นตื้นลึก ดีกว่าจอ LCD (LED) มาก ดูสบายตา, สบายใจ (จิตใต้สำนึก) กว่า รบกวนจิตประสาทน้อยกว่า โอกาสเป็นมะเร็งจากรังสีน้อยกว่า ตัวจอทำได้บางกว่าเป็นเท่าตัว กินไฟน้อยกว่ามาก เบากว่ามาก จริงๆ แล้วเทคโนโลยี่ OLED สามารถผลิตจอด้วยต้นทุนที่ต่ำกว่าจอ LCD (LED) มากๆ ตัวจอว่ากันว่า ใช้เทคโนโลยี่ “พิมพ์” จอออกมาได้เลย อย่างพิมพ์หนังสือ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอย่างจอ LCD (LED) อย่างไรก็ตาม แรกๆ จอ OLED ยังคงต้องขายในราคาสูงมาก สูงกว่าจอ LCD (LED) ไม่ต่ำกว่า 2 เท่า (เมื่อเปิดตัว เปิดรุ่นใหม่) เมื่อออกมานานสักพักจนอยู่ตัว ราคาจอ OLED จะแพงกว่าจอ LCD (LED) ประมาณ 50% (เทียบจากแม้เป็นยี่ห้อเดียวกัน)

ตรงนี้พอเป็นที่เข้าใจได้ว่า ราคาจอ OLED ที่สูงกว่า เป็นเพราะต้นทุนในการค้นคว้า วิจัย (R&D) ที่ต้องทุ่มไปมหาศาลและอยู่ในช่วงปรับปรุงพัฒนาให้อยู่ตัว ขณะที่จอ LCD (LED) อยู่ตัวแล้ว ค่า R&D เก็บเกี่ยวขึ้นมาหมดแล้ว

ในการสัมผัสจริงๆ ให้ลองดูจอ OLED สักครึ่งชั่วโมงแล้วชำเลืองไปดูจอ LCD (LED) ขนาดเท่ากันที่วางติดกัน เรื่องเดียวกัน ฉากเดียวกัน จะรู้สึกได้ทันทีว่า ภาพจากจอ LCD (LED) แบนไปหมด เหมือนดูภาพจากตู้ไฟโฆษณา (ตู้นีออน) ขาดเสน่ห์อย่างมาก

ไม่ใช่ว่าจอ LCD (LED) เลวร้าย จริงๆ ก็โอเคมากเมื่อเทียบกับ 10 ปีที่แล้ว คือดีเยี่ยมตราบเท่าที่เราไม่เอามันไปเทียบกับ OLED

แม้ว่าจอ LCD (LED) รุ่นล่าสุดๆ นี้จะย่นย่อขนาดของเม็ดภาพลงจิ๋วจนเรียก QUAMTUM DOT หรือ NANO PIXEL แต่ปัญหาดังกล่าวข้างต้นก็ยังคงอยู่ ความแตกต่างดี-เลว ต่างกันเมื่อเทียบกับ OLED ก็ไม่ได้หายไปไหน อาจจะคมชัดขึ้นเท่านั้น และ CONTRAST RATIO ของแสงเฉลี่ยทั้งภาพ ดีละเอียดประณีตขึ้น แต่ก็ไม่มีทางเทียบได้กับ OLED อยู่ดี

อย่างไรก็ตาม ข้อเสียของจอ OLED ก็คือ

1.    ตัวจอมีขนาดบางมาก ค่อนข้างขาดความมั่นคงแข็งแรง เวลาขนย้ายต้องระวังจอบิดหักในอย่างสูง (ในห้างมีปัญหาลูกค้าไม่ทราบไม่บีบบิดตัวจอ สักพัก 2-3 วันจอเสีย)

2.    พลัง, ความสว่าง, ความเข้มของภาพยังเป็นรอง LCD (LED) มาก เวลาโชว์ในห้างจึงเสียเปรียบ อาจไม่สว่างโพลนเท่า ยากหน่อยที่จะกวักมือ เรียกร้องความสนใจจากผู้เดินไปมา ถ้าจะเร่งแสงช่วย ภาพก็จะฟุ้งแบนจึงควรโชว์จอ OLED ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ควบคุมแสงได้ ให้คล้ายกับการดูในบ้านจริงๆ (หรือหรี่ไฟในห้องดู)

3.    อายุของจอยังเป็นที่กังวลของผู้รุ้ที่ติดตามศึกษาจุดอ่อนของจอ OLED กล่าวคือ เม็ดภาพสีน้ำเงินจะเสื่อมเร็วกว่าเม็ดภาพสีอื่น

4.    บางคนไม่เข้าใจในการนำ OLED ไปใช้งาน ที่ต้องการห้องที่ไม่สว่างมากๆ ขอทึมๆ หน่อย พอแสงภาพสว่างพอก็หลงไปเร่งความสว่าง เร่งความเข้มแสง จนแสง, สีอิ่มตัวไปหมด ลดทอน CONTRAST  RATIO ภาพจึงออกมาดู สีสันแจ๋น และแบนลง (คือไปชินตากับภาพ/แสง เว่อร์ๆของจอ LCD (LED)

5.    ต้องทำใจว่า ราคาที่ซื้อวันนี้เช่น 270,000 บาท (50 นิ้ว) ผ่านไป 2 ปีเหลือ 73,000 บาท (ยี่ห้อเดียวกันรุ่นล่ากว่า ขนาด 50 นิ้วเหมือนกัน)

6.    สีขาวของจอ OLED ยังทำไม่ได้ขาวจั๊วจริงๆ (PERFECT WHITE) ยังออกอมสีอื่น เช่น สีฟ้าจางๆ แต่ถ้าไม่เทียบก็โอเค ไม่รู้สึกตะขิดตะขวงอะไร (เรื่องตลกที่เวลาโชว์ OLED ในห้าง ตู้ไฟโมษณายี่ห้อที่ตัวจอวางอยู่ ตัวหนังสือแจ้งที่ตู้ไฟเป็นนีออนขาวจั๊ว เหมือนเอาไว้ฟ้องประจานความไม่ขาวจริงของจอตัวเอง)

บทส่งท้าย               

ที่ต้องมาจำแนก แยกแยะ ข้อดี, เสีย ต่างๆของ OLED ก็เพราะสงสารยอดขายของ OLED ที่คงไม่หวือหวาเท่าที่ควร กลัวว่าผู้ผลิตจะหมดกำลังใจเลิกผลิตไปอย่างจอ PLASMA น่าเสียดายที่มีของดี มีทีเด็ดแต่ฝ่ายการตลาดของค่าย OLED มองไม่ขาด ยังรู้ไม่จริง ไม่รู้เขารู้เรา และที่อุบาทว์ที่สุดคือ การโชว์ OLED ของตนเองตามห้าง โดยมีตู้ไฟโชว์ด้านล่างที่เปิดไฟนีออน (จากตัวหนังสือ) เสียสว่างจ้า จนแยงตาอย่างยิ่งในการที่ ใครสักคนจะมองดูจอ OLED ที่วางอยู่ด้านบน ก็ไม่เข้าใจว่า จะทำอย่างนี้ไปทำไมเพื่อฆ่าสินค้าตนเอง เพราะพอแสงตู้ไฟมันส่องเข้าตา คนดูก็จะหยีตา หรี่ม่านตาลง ภาพจากจอ OLED ก็จะยิ่งมืดทึมลงอีก ยิ่งเสียเปรียบจอ LCD (LED) มากขึ้นอีก

อีกทั้ง ไม่เคยเลยที่จะเห็นการโชว์ OLED ในสภาพแสงที่สลัวๆ พอเหมือนดูอยู่ที่บ้าน ซึ่งจะช่วยเรื่องแสงของ OLED ได้อย่างมากๆ

ข่าวล่าสุด ค่าย OLED กำลังจะเปิดตัวจอ OLED 4K (เดิมเป็น 2K) ก็ยังกริ่งเกรงว่า จะตายน้ำตื้นอีกไหม เพราะ

       1.    จอ OLED 2K ที่ปัจจุบันขายอยู่ ความละเอียดก็เหลือเฟือแล้ว สำหรับขนาดจอ 50-60 นิ้ว (ยิ่งถ้าจัดระบบไฟดีๆ, สายไฟดีๆ, เครื่องเล่น Bluray ดีๆ ภาพจะดีกว่าในห้างไม่ต่ำกว่า 30% ซึ่งเกินพอจริงๆ แถมตอนนี้รุ่น 2K ก็หั่นราคาลงมาเหลือ 1 ใน 4 ของตอนเปิดตัวครั้งแรก เมื่อ 2 ปีที่แล้ว

       2.    อย่าลืมว่ายิ่งภาพละเอียดขึ้น พลังความสว่างของแต่ละเม็ดภาพจะยิ่งลดลง จะไม่ยิ่งมีปัญหา พลังภาพโดยรวม หรือ CONTRAST RATIO ที่แย่ลงหรือไม่ (ที่จะเปิดตัว 4K มีถึง OLED 4K 79 นิ้ว!) จะไม่ยิ่งเสียเปรียบคู่แข่งเวลาโชว์ในห้างหรือ ก็ขอฝากทีมการตลาด และผู้บริหารของค่าย OLED  ไว้ด้วย.....เราติเพื่อก่อ มิใช่เพื่อทำลาย
 

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459