000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > มาเล่นเซอร์ราวด์เทียมดีไหม
วันที่ : 28/06/2016
11,525 views

มาเล่นเซอร์ราวด์เทียมดีไหม

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ปัจจุบันการดูหนังถ้าจะให้มันส์มักต้องฟังในระบบเสียงรอบทิศทาง (เซอร์ราวด์ หรือ Surround) เพื่อให้รู้สึกเหมือนอยู่ใน หตุการณ์ เสียงปรากฏรอบๆตัว มีมาจากด้านข้าง ด้านหน้า ด้านหลัง หรือบนเพดานห้อง เสียงฟ้าร้อง คำรามอยู่เหนือศีรษะ เสียงอุกาบาตรวิ่งผ่านจากหน้าไปหลังซ้าย ฯลฯ ภาพเป็นอย่างไรเสียงก็ควรเป็นอย่างนั้น

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนพร้อมที่จะเล่นระบบเสียงรอบทิศอย่างเต็มรูปแบบแท้จริงได้ อย่าพูดถึง 11.1 , 7.1 , 6.1 ร่องเสียงเลย ขนาด 5.1 ร่องเสียงง่ายๆก็ยังไม่สะดวกด้วยติดขัดที่

  1. สถานที่,ที่จะติดตั้งหรือวางลำโพงไปทั่วห้อง
  2. งบประมาณที่จำกัด (ทั้งรีซีฟเวอร์เซอร์ราวด์,ลำโพงอีกครึ่งโหล)
  3. จริงๆแล้วชอบฟังเพลง 70 ดูหนังแค่ 30 หรือต่ำกว่าเชื่อว่าระบบเซอราวด์ยังไงก็ไม่เหมาะหูทอง
  4. สภาพทางอคูสติกของห้องไม่เอื้ออำนวย ยิ่งมากลำโพงยิ่งก้องไปหมด
  5. ปัญหาการรบกวนเพื่อนบ้าน ยิ่งมากลำโพง ยิ่งรบกวนข้างห้องรอบตัวไปหมด
  6. เล่นไม่เป็น รู้สึกว่าเซอร์ราวด์ซับซ้อน ทั้งการจูนและเข้าเมนูสารพัด (มักจะเป็นผู้ใหญ่รุ่นเก่าที่ไม่ได้ติดตามระบบเสียงใหม่ๆ)
  7. ไม่ชอบอะไรที่ยุ่งยาก ชอบง่ายๆ

จากเหตุผลเหล่านี้ ทำให้มีการนำเสนอระบบเซอร์ราวด์เทียมหรือเซอร์ราวด์เสมือน (Virtual Surround) ซึ่งจำแนกได้หลาย ระบบ

  1. ใช้วงจรไฟฟ้าจำลองเสียงรอบทิศโดยใช้ลำโพงแค่คู่เดียว เป็นการนำสัญญาณรอบทิศแท้ๆจริงๆ (ไม่ว่า 5.1 , 6.1 , 7.1 ) จากแผ่นหนัง (DVD , Blu-rayหรือ BD) มาเข้ารหัส (Matrix) เป็นสัญญาณ 2 CH รวม (เรียก LT และ RT ) เรียก Dolby Surround (ไม่ใช่ Dolby Digital ) จริงๆถ้าจะพุดให้ถูกคือ Matrix Surround ซึ่ง ดร. เบน เบอร์ บิดาแห่งระบบเซอร์ราวด์ได้นำเสนอไว้เมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว (ค.ศ.1974) บริษัท DYNACO ทำตัวถอดรหัสเป็นเจ้าแรกในโลก วงจรพื้นฐานง่ายมาก ลงทุนไม่กี่ร้อยบาท ต่อมามีการเพิ่มวงจรช่วยเน้นการแยกแต่ละร่องเสียง (สมัยนั้นมีแค่ 4 ร่องเสียงคือ ซ้ายหน้า ,กลางหน้า , ขวาหน้า ,และหลัง) วงจรช่วยนี้เรียก Spatial Processor ต่อมาเรียกเป็น Pro Logic แต่ทั้งหมดเป็นการถอดรหัสจาก 4 ร่องรอบทิศ ผสมแบบ Matrix เป็น 2 (LT ,RT) แล้วมาแยกเป็น 4 ใหม่ เรียก 4 – 2 – 4 แต่ปัจจุบันไม่มีการผสมแต่บันทึกและฟังตรงๆเป็น 5 – 5 – 5  (Dolby Digital หรือเรียกว่า AC-3 ในยุคแรกๆไม่มีการรบกวนกันในแต่ละร่องเสียง ทุกร่องเป็นอิสระ 100 % จึงไม่ต้องมีวงจรมาช่วยเน้นการแยกทิศทางให้เกิดเสียงวูบวาบที่เรียกว่า Pumping Effect
    5.1 CH CH ธรรมดา นี่เรียกว่าวงจรเซอร์ราวด์เสมือนหรือ Virtual Surround ในอดีตสูตรการจำลองนี้ มีจากหลายค่ายเช่นระบบ Q-Sound , Spatializer ,SRS เป็นต้น ปัจจุบันที่พอเหลือน่าจะเป็น SRS กับ Spatializer (SRS มากกว่า) แต่ก็มักเรียกชื่อเป็นสามัญว่า Virtual Surround
    1. ทรวดทรง,มิติเสียง ไม่เป็นกลุ่มก้อน ออกแบนๆฟุ้งๆ (ไม่เป็น 3 มิติ,3D)
    2. ตำแหน่งเสียงจะไม่นิ่ง วอกแวก
    3. บางครั้งเสียงออกโหว่ง กลวง หรือ เอียง เหมือนมีปัญหาด้านเฟส คล้ายๆเรามองผ่านกระจกใสที่หนา,บางไม่เท่ากันเป็นคลื่นเกิดภาพวูบวาบ (Pararax)
    4. ช่องไฟระหว่างตัวโน้ตไม่มี ช่องว่างระหว่างตำแหน่งเสียงไม่มี เหมือนมีม่านหมอกคละคลุ้งในบรรยากาศตลอดเวลา ไม่สงัดสงบ ทำให้ช่วงมีเสียงจากมากแหล่งเกิดเสียงอื้ออึง เจี๊ยวจ๊าวไปหมด มั่ว,สับสน
    5. การสวิงเสียงจากค่อยสุดไปดังสุด แคบลง ช่วงเงียบไม่สงัด ช่วงดังไม่พุ่งอิสระ ทุกอย่างเหมือนอื้อ อั้น
    6. ความถี่เสียงเพี้ยนออกแจ๋น,กร้าว,จัดขึ้น ทุ้มไม่อิ่มลึกจริง
    7. การโยนเสียงหน้า-หลัง ไม่ชัดเท่าที่ควร พูดง่ายๆว่าเหมือนมันเจี๊ยวจ๊าวไปหมด รอบตัวมากกว่า เรื่องเสียงข้ามหัวอยู่บนเพดานแทบไม่ต้องพูดถึง

2.    ระบบเซอร์ราวด์ลำโพง “แผง”เดียว (ที่เรียกว่า Sound Bar) เมื่อสิบปีมาแล้ว บริษัท Digital Sound Projector นำเสนอระบบเสียงเซอร์ราวด์รอบทิศ (จริงๆ) จากตู้ลำโพงตู้เดียว (เป็นแผงตื้นยาวเป็นเมตร) โดยใช้ดอกลำโพงขนาดเล็กประมาณ 3 นิ้วนับสิบๆดอก แบ่งเป็น 5 กลุ่มเรียงเป็นตับใน 1 แผงตู้เดียว

กลุ่มที่ 1 ยิงเสียงร่องเซ็นเตอร์ตรงมาหาเรา

กลุ่มที่ 2,3 ยิงเสียงร่องซ้ายหน้า,ขวาหน้ามาหาเรา

กลุ่มที่ 4 ยิงเสียงร่องซ้ายหลังไปสะท้อนผนังห้องซ้ายแล้วสะท้อนผนังหลัง สะท้อนมาจากด้านหลังซ้ายเรา

กลุ่มที่ 5 ยิงเสียงร่องขวาหลังไปสะท้อนผนังห้องขวาแล้วสะท้อนผนังหลังเป็นเสียงมาจากด้านหลังขวาเรา

เสียงต่ำลึกออกซับแบบ Active เป็นอันว่าครบ 5.1 CH ระบบนี้จะนำร่องเสียง 5.1 จากแผ่นมาปล่อยออกเป็น 5.1 ร่องจริงๆ แต่จุดขายคือ ใช้ลำโพงแค่ 1 แผงตู้เดียว วางใต้จอภาพ ไม่ต้องวางเกะกะไปทั่วห้อง มีการใช้ภาคขยายนับสิบๆภาคให้แก่แต่ละดอกลำโพงแบบ 1 ดอก 1 ภาคขยาย ผสมด้วยวงจร DSP ช่วยปรับการหน่วงเสียงให้เหมาะกับ สรีระของแต่ละห้อง

มีอยู่ 2 ค่ายแบรนด์เนมที่พยายามจะผลักดันระบบนี้ ปัจจุบันเหลือแค่ 1 ค่ายและประสบความสำเร็จน้อยมาก ปัญหาคือ ราคาสูงเกินไปเมื่อเทียบกับระบบ Virtual Surround (ที่ให้ผลดีกว่ามาก) ยิ่งเทียบกับระบบเซอร์ราวด์จริงๆยิ่งคนละเรื่อง

นอกจากนี้ การที่ต้องใช้ภาคขยายเป็นสิบๆภาคและเป็นระบบดิจิตอลแอมป์ทำให้เกิดการป่วน มิติเสียงเสียหมด ไม่เป็นทรวดทรงเอาเลย สุ้มเสียงก็ไม่น่าฟังเท่าที่ควร

สุดท้าย การที่ต้องอาศัยการสะท้อนจากผนังห้อง สุ้มเสียงจึงขึ้นอยู่กับสภาพของผนังห้อง ถ้าแข็งก็สะท้อนดี ทิศทางอาจชัดขึ้นแต่ก็เกิดปัญหาเสียงเพี้ยน เสียงก้องซ้อนขึ้นมา สรีระของห้องก็มีผล ฝา 2 ข้าง ซ้าย-ขวาต้องมีลักษณะเหมือนกัน ฝาหลังซ้าย-ขวาก็ต้องเหมือนกัน พูดง่ายๆว่าในบ้านจริงๆจะหาห้องที่ลงตัวกับระบบนี้แทบเป็นไปไม่ได้เลย ความจริงก็คือ ก่อนที่ ดร. เบน เบอร์ ปรมาจารย์แห่งระบบเซอร์ราวด์จะเสียชีวิต ท่านได้ค้นพบความจริงว่า สรีระการรับฟังของมนุษย์เอง สามารถ “ถอด” ระบบเสียง Surround Matrix (ปัจจุบันเรียก Dolby Surround ที่พูดถึงในข้อ 1 ตอนแรกที่รวม 5.1 เป็น 2CH คือ LT,RT (L-TOTAL,R-TOTAL) ให้เป็นเสียงเซอร์ราวด์ได้จริง โดยไม่ต้องนำไปผ่าน ขบวนการจำลองสร้างเสียง LT,RT ให้เป็นเซอร์ราวด์ใดๆเลย

และจากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง ก็ขอยืนยันว่า ถ้าติดตั้งชุดเครื่องเสียงชุด 2 CH ให้เที่ยงตรงถูกต้องดีๆแล้ว เราได้เช่นนั้นจริงๆคือ แค่เข้าเมนูเลือกระบบเสียงที่เครื่องเล่น DVD หรือ BD ให้เป็น LT,RT (ไม่ต้องเข้า Virtual Surround ใดๆ) ก็สามารถรับรู้เสียงรอบทิศได้ถึง 75 – 85 % ของระบบเสียงเซอร์ราวด์จริงๆแล้ว ซึ่งเกินพอแทบไม่ ต่างกันแล้ว แถมการประหยัดค่าลำโพงเซ็นเตอร์และลำโพงหลัง ทำให้เอาเงินไปเพิ่มคุณภาพลำโพงหน้าคู่เดียวได้ อย่างมาก (ซับยังจำเป็น)

ขณะเดียวกัน เนื่องจากใช้ภาคขยายเป็นอนาล็อกล้วน (2CH) ไม่มีวงจรภาพ,วงจรจูนเนอร์ (รับวิทยุ),วงจรดิจิตอลใดๆ ทำให้ ได้คุณภาพเสียง ทรวดทรงเสียง,มิติเสียงดีขึ้นแบบคนละเรื่องเลยเมื่อเทียบกับการฟังจากรีซีฟเวอร์เซอร์ราวด์ คุณสามารถซื้ออินทริเกรทแอมป์ 2 CH ระดับไฮเอนด์ได้ทีเดียว ซึ่งสุ้มเสียงกินขาดแน่

ยิ่งตอนเอามาฟังเพลง CD ปกติ ยิ่งฟ้องว่าอินทริเกรทแอมป์ 2 CH ดีๆ เสียงคนละโลกกับการฟังจากรีซีฟเวอร์เซอร์ราวด์เลย ต่อให้เครื่องหนึ่งนับแสนๆบาทก็ตาม

นี่ยังไม่นับปัญหาที่ผู้เขียนเจอเวลาทดสอบรีซีฟเวอร์เซอร์ราวด์ บ่อยๆที่พบว่าร่องเสียงเซ็นเตอร์,ร่องเสียงซ้าย-ขวาหน้า  ,ร่องเสียงซ้าย-ขวาหลัง,ร่องเสียงซับ ให้การขยับของกรวยดอกลำโพงคนละทิศกัน (กลับเฟสกัน) ต้องคอยฟังตรวจสอบ วิ่งไปสลับบวก-ลบสายลำโพงแต่ละร่องหลังแอมป์ เมื่อฟังแต่ละระบบเซอร์ราวด์ (Dolby,DTS) หรือเมื่อกลับมาฟัง 2 CH STEREO

แต่กับการฟังเซอร์ราวด์ 2 CH (ไม่ผ่าน Processor) มักไม่มีปัญหา อย่างมากก็สลับบวก,ลบสายลำโพง คู่เดียวหลังแอมป์ กับเช็คเฟสซับ ง่ายกว่ากันเยอะ

นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่พักหลังผู้เขียนเองเน้นแต่ทดสอบระบบเสียง 2 CH และปล่อยวางระบบเสียงเซอร์ราวด์  (รีซีฟเวอร์เซอร์ราวด์ที่นับวันคุณภาพแย่ลงๆ)

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459