000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > ปุ่มปรับเสียงที่มากับลำโพง...ผู้ดีหรือผู้ร้าย
วันที่ : 23/08/2016
9,770 views

ปุ่มปรับเสียงที่มากับลำโพง...ผู้ดีหรือผู้ร้าย

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ย้อนหลังไปร่วม 50 ปี ลำโพงบ้านที่มีระดับหน่วย ไม่ว่าลำโพงวางพื้น หรือวางหิ้ง 60% จะมีปุ่มปรับโทนเสียงมาให้ด้วย ส่วนใหญ่จะปรับได้ทั้งเสียงกลาง (1 ปุ่ม), เสียงแหลม (1 ปุ่ม) เชื่อไหมครับเกือบ 30 ปีมาแล้ว ลำโพงวางพื้นยี่ห้อ ปิรามิด ราคาคู่ละร่วมแสนบาท (ที่ฮ่องกง กว่า 30 ปีมาแล้ว) ให้ปุ่มปรับโทนเสียงถึง 7 ช่วงความถี่ ทำยังกับเป็น EQ (Equalizer) แผงวงจรขนาดร่วม 1 ศอก x 1 ศอก! เท่าที่ฟัง เสียงเรียบ ราบ จืดสนิท ไร้อารมณ์ใดๆ ทั้งสิ้น!

??????????????? เนื่องจากระบบลำโพงแบบทั่วไป (98%) เป็นแบบไม่มีภาคขยายเสียงในตัวใดๆ ทั้งสิ้น (เรียกว่าแบบ Passive ถ้ามีภาคขยายเสียงอยู่ภายในมาด้วย เรียกแบบ Active) ปุ่มปรับเสียงที่ให้มา จึงเป็นการปรับการลดทอนสัญญาณเสียงให้ค่อยลง มิใช่การเร่งให้ดังขึ้นได้ พูดง่ายๆ จากระดับเสียงที่ลำโพงควรให้ได้ ซึ่งตีว่า ระบุขีดตัวเลขไว้ที่ +6 dB เขาก็จะออกแบบวงจรแบ่งความถี่เสียง ให้ได้ระดับตอบสนองความถี่เสียงได้ราบรื่นที่สุด (ในห้องทดสอบไร้การก้องของผู้ผลิต) ที่ 0 dB (คือลดลงมา 6 dB) จากนั้นก็จะออกแบบวงจรให้สามารถลดเสียงได้อีก 6 dB (-6 dB) ที่ความถี่เฉพาะช่วงหนึ่ง/แถบหนึ่ง นั่นคือ ถ้าเราหมุนปุ่มการลดทอนเสียงนี้ ตั้งไว้ที่ 0 dB เสียงจะออกมาราบรื่นที่สุด (ในห้องทดสอบและฟังลำโพงยิงตรงมาเข้าหูเรา ตั้งฉากกับแผงหน้าลำโพง 90 องศา)

??????????????? การมีอยู่หรือให้มาด้วย ของปุ่มปรับความดัง/ค่อย ที่มากับลำโพงในลักษณะนี้ จะทำได้แบบ ยก-ลด เป็นแถบกว้าง เช่น ทำมาให้ปรับได้ตั้งแต่ความถี่เสียง 4 kHz ขึ้นไป (ปรับเสียงแหลมที่ไปเข้าดอกลำโพงเสียงแหลม) ถ้ามีปุ่มปรับเสียงกลางมาด้วย ก็มักปรับความดังตั้งแต่ความถี่ 4 kHz ลงมา (ปรับที่ไปเข้าดอกลำโพงเสียงกลาง/ทุ้ม) กรณีลำโพงระบบ 2 ทาง ถ้าเป็นระบบ 3 ทาง ก็มีปุ่มปรับ 3 ปุ่ม ปรับเสียงกลางต่ำลงต่ำสุด ปรับกลางต่ำถึงสูงตอนล่าง ปรับสูงตอนล่างขึ้นไปถึงสูงสุด เรียกลำโพง 3 ทาง ปรับได้ 3 ช่วงความถี่

??????????????? สิ่งที่ต้องเข้าใจไว้ก่อนคือ เนื่องจากเป็นระบบลำโพงที่ไม่มีภาคขยายเสียงใดๆ ในตัว (คือเป็น Passive) การปรับสุ้มเสียงจึงเป็นได้แค่ การลดทอนระดับเสียง (ลดมากหรือลดน้อย หรืออยู่กลางๆ ไม่มากไม่น้อย) เป็นการลดหรือบั่นทอนความดังปกติลง ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ (แต่แยกการลดความดังเป็น 3 ระดับ คือ ไม่ลด (เขียนไว้ว่า +6 dB) ลดครึ่งหนึ่ง (เขียนไว้ว่า 0 dB) ลดลงมากสุด (เขียนไว้ว่า -6 dB)) โดยตั้งคัดค่าชิ้นส่วนวงจร ให้ได้ความถี่ตอบสนองราบรื่นที่สุดที่ 0 dB และจะหมุนวอลลุมตัวปรับนี้ไว้ที่ 0 dB เวลาส่งมาจากโรงงาน

??????????????? เนื่องจากการปรับเสียงแบบนี้ เป็นการบั่นทอน (ลด) ทั้งสิ้น มิใช่ขยายให้ดังขึ้นได้ อย่างปุ่มปรับโทนเสียง (ทุ้ม แหลม) ที่ปรีแอมป์หรือด้วยปรี EQ ภายนอก (ปรับแบบ Active มีภาคขยายให้ดังขึ้น)

??????????????? แต่ระบบลำโพง เป็นการลดทอนไล่จากลดมากสุด(-6 dB) ถึงลดน้อยสุด(+6 dB) (อย่าพูดว่าเพิ่ม)

??????????????? ดังนั้น มันจึงมักมีความไวต่ำ (Low Sensitivity) บางคู่บางยี่ห้อ ความไวเหลือแค่ 85 dB SPL (อย่างเก่งก็ 87 dB SPL) ซึ่งต้องใช้ภาคขยายกำลังสูงขับ (อย่างน้อยก็ 100 W.RMS/CH ถึงนับ 300 W.RMS/CH ที่ 8 โอห์ม) ถ้าจะให้ระบบลำโพงนี้มีความไวระดับ 90 dB SPL ก็มักต้องใช้ดอกลำโพงที่มีความไวสูงมากเป็นทุนเดิม เช่น 100-102 dB SPL (แม่เหล็กเบ้อเริ่มเทิ่ม หนักอึ้ง ดอกยกมือเดียวไม่ไหว) ซึ่งก็จะไปเจอปัญหา เสียงทุ้มลงได้ไม่ลึก ก็ต้องหาตัวตู้ขนาดใหญ่มาช่วยทุ้มให้ลงได้ลึกขึ้น

??????????????? ข้อเสียของระบบลำโพงที่มีปุ่มปรับสุ้มเสียงได้

1. ราคาแพงกว่าปกติ เพราะต้องใช้ชิ้นส่วนบนแผงวงจรแบ่งความถี่เสียงมากขึ้นพอสมควร
2. การใช้ชิ้นส่วนมากขึ้น (ตามข้อ 1) ทำให้โอกาสที่ขาแต่ละชิ้นส่วนจะต่อผิดทิศทาง (สลับขา) ยิ่งมีสูงมาก (ผิดทิศทาง เสียงแบน ฟุ้ง ไม่เป็นตัวๆ เม็ดๆ)
3. การใช้ชิ้นส่วนมาก คุณภาพของชิ้นส่วน (ตัววอลลุม, L, R, C, สาย, หัวเสียบสาย) จะยิ่งมีผลมากขึ้นไปอีกมาก (ทั้งทิศทาง คุณภาพของ)
4. การใช้ชิ้นส่วนมาก ทำให้การตอบสนองฉับไว (Transient) แย่ลง เสียงขุ่น ทึบ ขาดความเปิดโปร่งทะลุ (Transparency) รายละเอียดหัวโน้ตเสีย (ขุ่นมัว) เสียงผิว (Texture) แย่ลง
5. การใช้ชิ้นส่วนมากทำให้ความสามารถในการหยุดการสั่นค้างของโดม กรวยลำโพง แย่ลง (Damping Factor) เกิดม่านหมอกในเวทีเสียง ขาดความสงบสงัด กรวย/โดมลำโพงหยุดการสั่นค้างได้เลวร้ายลง (Damping Factor แย่ลง) เสียงขุ่น ช่องไฟระหว่างตัวโน้ตไม่เกลี้ยงสะอาด เสียงมีการลากหาง (จากการสั่นค้าง)
6. สุ้มเสียงของระบบลำโพงโดยรวมจะทึบขึ้น ไม่เกลี้ยงสะอาด สงบ เสียงจมติดตู้ขึ้น บุคลิกเสียงของระบบลำโพงเละขึ้น เพราะชิ้นส่วนบนแผงวงจรแบ่งเสียงมากขึ้น
7. การตอบสนองฉับไวแย่ลง (Transient Response) แย่ลง ผลคือ ขาดความฉับไว รายละเอียดหัวโน้ตเบลอ (Transient Detail แย่ลง)
8. เสียงจะออกมาแบบอั้นๆ เครียดๆ ไม่เปิดโปร่งทะลุ ไม่อิสระ เสียงอ่อนแก่แย่ลง (Dynamic Contrast แย่ลง)
9. ทรวดทรงเสียง เวทีเสียง เสียงหลุดตู้ ความกังวาน ความฉ่ำพริ้วแย่ลง
10. ใช้ไปนานๆ วอลลุมปรับเสียงจะมีปัญหา (เสียงกร๊อกแกร๊ก) และปัญหาการลดทอนระดับความดังตู้ซ้ายกับตู้ขวาไม่เท่ากัน (เรียก Tracking Error) นานๆ ทีต้องคอยมานั่งจูนซ้ายขวาให้เท่ากันเป๊ะเรื่อยๆ (สำคัญมาก) ปัญหาคุณภาพวอลลุมจะรุนแรงมาก วอลลุมพวกนี้ถ้าดีๆ จะแพงลิบ

แต่ที่สำคัญที่สุดคือ

ทุกระบบลำโพง ตำแหน่งที่หมุนวอลลุมปรับและได้สุ้มเสียง มิติเสียง ทรวดทรงเสียง ดีที่สุดนั้น ไม่สามารถเกิน 1 จุดได้ จึงป่วยการที่จะใช้วอลลุมแบบปรับได้ จึงเป็นไปไม่ได้เลยที่จะมานั่งปรับเสียงที่ตู้ลำโพง แล้วจะได้เสียง มิติดีที่สุดได้

สรุป
1. ไม่ควรมีการปรับสุ้มเสียงได้ที่ตู้ลำโพงระบบ Passive (บอกลา พวกลำโพงโบราณ รุ่น 40 ปีที่แล้วย้อนหลังขึ้นไปได้เลย
2. การปรับได้ทำให้ระบบลำโพงกินวัตต์สูงมากเกินความจำเป็น ทำให้ต้องใช้ภาคขยายกำลังขับสูงมากๆ เป็นมากกว่าร้อยวัตต์/ข้าง (ที่ 8 โอห์ม) ขึ้นไป เปลืองเงิน เปลืองไฟ โดยไม่จำเป็นเลย
3. ลำโพงที่ปรับเสียงได้ แทบไม่มีคู่ไหนเลยที่จะให้สุ้มเสียงได้เป็นธรรมชาติจริงๆ เท่าคู่ที่ปรับไม่ได้
4. การปรับสุ้มเสียง ควรให้เป็นหน้าที่ของปรี EQ ภายนอกมากกว่า
5. ข้อตักเตือนนี้ใช้ได้กับลำโพงบ้าน ลำโพงรถ (ที่มักทำสวิตช์มาให้ปรับเสียงได้ บางยี่ห้อ ปรับสุ้มเสียงได้แบบ EQ เลย)
6. จำไว้ เครื่องเสียงที่ดี คือ เรียบง่าย ลัดตรง น้อยชิ้นที่สุด

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459