000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > ติเพื่อก่อ > เครื่องเสียงทั่วไป > ความผิดพลาดในการออกแบบลำโพง
วันที่ : 04/01/2016
14,709 views

ความผิดพลาดในการออกแบบลำโพง

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

(รู้แล้วจะช๊อค ลำโพง 99.9% ในท้องตลาดทำมาผิดทั้งนั้น)

จากประสบการณ์การทดสอบวิจารณืลำโพงที่วางขายในท้องตลาด ซึ่ง 99% มาจากนอก ทั้งระดับล่าง ระดับกลาง ระดับไฮเอนด์ เกือบจะพูดได้ว่า “แทบไม่มีคู่ไหนเลยที่ทำมาไม่ผิด” พูดง่ายๆ ว่า 99.9% ทำมาผิดไม่มากก็น้อย ไม่ตรงนี้ก็ตรงนั้น ขิอผิดพลาดเหล่านั้นได้แก่ (เรียงลำดับจากผิดพลาดมากที่สุดไปน้อยสุด)

1.   ไม่สนใจที่จะฟังทดสอบทิศทางสาย ว่าต้องเรียงหัวสาย, ท้ายสาย จากไหนไปไหน (ต้องฟังทดสอบด้วย จะเชื่อลูกศรท่โรงงานสายทำมาไม่ได้) รวมทั้งทิศทางขาอุปกรณ์บนแผงวงจรแบ่งเสียง แม้ว่าจะใช้อุปกรณ์ที่ไม่มีขั้ว (NON POLA) อุปกรณ์พวกนี้ได้แก่ ตัวต้านทาน (R), ตัวขดลวด (L), ตัวเก็บประจุ (C) เคยเถียงกับฝรั่งนักออกแบบลำโพงระดับไฮเอนด์ ที่บ้านของเขาเลยที่อเมริกา เขาว่ามันไม่มีผล   พอเขาเถียงแพ้ก็เลี่ยงว่า แล้วแต่หูใครหูมัน จริงๆไม่ใช่ มันมีเหตุผลทางฟิสิกส์รองรับเรื่องทิศทางสาย  ทิศทางขาอุปกรณ์ ถ้าผิดทิศ เสียงจะกระด้าง แข็ง แบน ไร้ทรวดทรง ไร้สเน่ห์(บุคลิกส่วนตัว) ตื้นลึกเสียหมด ความกังวานฟุ้งติดกับเสียงจริงไม่หลุดแยกหนีห่างออกไป เสียทั้งมิติและโทนเสียง 99.99% ของลำโพงที่วางขายทั่วโลก มองข้ามประเด็นนี้หมด คู่ไหนออกมาดีก็มักเพราะฟลุ๊ค, โชคช่วย, บังเอิญถูกหลายชิ้น มากกว่าชิ้นที่ผิด สายผิด มีตั้งแต่จากขั้วรับสายลำโพงหลังต็ มายังแผงวงจรแบ่งเสียงจากแผงวงจรแบ่งเสียงไปดอกลำโพงแต่ละดอก

2.   ที่ปลายสายภายในตู้ลำโพง มักต่อผ่านขั้วเสียบรูปตัวยู (เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมเล็กๆ ขอบสองข้างม้วนพับเข้ามา มองด้านข้างเหมือนยัวยู ไว้เสียบที่ขั้บรับสายของดอกลำโพง และขั้วรับสายของแผงวงจร ของขั้วหัวรับสายลำโพงจากภายนอก หลังตู้ลำโพง ที่ขั้วซึ่งอยู่ด้านในจะเป็นแผ่นแบนยาว เพื่อเอาหัวตัวยูมาเสียบที่เขาต้องใช้ตัวยูเสียบ เพื่อความรวดเร็วในการผลิต ไม่ต้องมานั่งบัดกรี เสียเวลา ถ้าบัดกรีไม่เก่งอาจทำให้ดอกลำโพงเสียได้ โดยเฉพาะดอกแหลม หรือทำให้ตัวรับสายพลาสติกหลังตู้ลำโพงละลายได้

ปัญหา คือ หัวเสียบตัวยูเองก็มีหลายเกรด แบบแน่นจนเอาไม่ออกก็มี (ต้องตัดสายและแงะตัวเสียบออก) หรือแบบถูกๆเสียงแล้วคลอน การใช้หัวเสียบ ยังไงๆก็สู้การบัดกรี(ดีๆ ถูกต้อง)ไม่ได้ การบัดกรีได้เสียงนิ่งกว่า น้ำหนักดีกว่า ช่องไฟเงียบสงัดกว่า เสียงมีอ่อน-แก่ดีกว่า (DYNAMIC ดีกว่า), เสียงกระเด็นหลุดลอยออกมาได้อิสระเต็มที่กว่า (ขอย้ำว่า ต้องบัดกรีดีๆ เป็นงานด้วยน่ะ)  

ที่แย่ที่สุดคือหัวตัวยูที่เสียบ การเสียบหงายหรือคว่ำ ให้เสียงต่างกัน (ต้องไล่ฟังเอาทุกๆหัว ทีละหัว   คว่ำ-หงาย ฟังเปรียบเทียบกัน) ถ้าผิด เยงจะขาดน้ำหนักอ่อน-แก่ (DYNAMIC CONTRAST) ฟังเสียงแบนไปหมด เหมือนกันไปหมด ไม่มีทรวดทรง เสียงฟุ้ง ไม่โฟกัส

สมมุติ ตัวยูเสียบของทุ้มถูก ให้เสียงมีทรวดทรงดี แต่ถ้าชุดตัวยูของแหลมผิด เสียงฟุ้งแบน เสียง, มิติทั้งหมดก็เละ ฟุ้ง,สับสน ดีๆร้ายๆ ไปหมด เรียนตรงๆว่า ยังคิดไม่ออก ทำไมการหงายหรือคว่ำตัวยูหัวเสียบ จึงมีผลได้ขนาดนั้น

3.    ต่อกลับเฟ คือ ดอกแหลมตัวกรวยหรือโดมขยับออก แต่ดอกกลางตัวกรวยขยับเข้า ดอกทุ้มอาจขยับออกถูกต้องเหมือนดอกแหลม เรียกดอกพวกนี้ว่า RELATIVE PHASE ผิด ขนาดว่าลำโพงคู่ละ 1.3 ล้าน, 3.5 ล้าน, 7 แสนบาท ก็เจอมาแล้วว่า ทำมาผิด เสียงจะแบนติดจอ ไม่เป็นตัวตน ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน ไม่มี ตื้นลึก บางครั้งเหมือนเร่งไม่ขึ้น กินวัตต์มาก

4.    เอาสายลำโพงที่ไปเข้าดอกเสียงแหลม ไปเข้าดอกเสียงกลาง ไปเข้าดอกเสียงทุ้ม ทั้ง 3 เส้น มัดหรือแตะต้องกัน บางทีภายในแบ่งแยกเป็น 2 ตู้ ไม่ให้ลมจากดอกเสียงทุ้มไปกระแทก กรวยดอกเสียงกลาง มีการเจาะรูไว้รูเดียว แล้วเอาสายลำโพงที่จะไปเข้าดอกแหลมกับสายที่จะไปเข้าดอกกลาง ลอดเข้าไปในรูเดียวกัน สายทั้งสองจึงแตะกันอย่างแรง บางยี่ห้อก็เอาเทปโฟมกาวมัดสายลำโพงเข้าดอกแหลม กับดอกกลางเข้าด้วยกัน บ้างก็มักง่าย ขนาดเอากาวทาสายลำโพงเข้าดอกแหลม กับเข้าดอกกลางทุ้ม(ลำโพง 2 ทาง) แปะอยู่ด้วยกัน และแปะกับใยแก้วโฟมในอีกที

การ ที่สายแตะกัน เสียงจะมัวๆ คลุมเครือ ขาดการแยกแยะเสียงค่อย-ดัง (DYNAMIC CONTRAST เสีย) ช่วงโหมดังมากๆก็โหมอั้น บางครั้งเสียงสากจัด เหมือนมีเสี้ยนสาก มีขอบเสียง ความเป็นดนตรีเสีย

5.    กรณีลำโพง 2 ทาง ดอกกลางทุ้มตอบสนองเสียงได้ไม่สูง เช่นได้แต่เสียง 8-10 kHz กะว่าจะใช้ดอกแหลมกินลงต่ำ มาช่วยกลางสูงหรือแหลมต่ำ แต่ดันเอาดอกแหลมติดเสียห่างจากดอกกลางทุ้มมาก ทำให้เสียงแตกเป็น 2 จุด ไม่กลมกลืนดุจมาจากจุดเดียวกัน (POINT SOURCE) ทำให้เปิดค่อย เสียง,มิติ
       ดีขึ้น เป็นอีกอย่างหนึ่ง(แย่) ปิดดัง เสียง, มิติ ดีขึ้น เป็นอีกอย่างหนึ่ง นั่งฟังใกล้ก็อย่างหนึ่ง(แย่) นั่งฟังห่างก็อีกอย่าง (ยิ่งห่างยิ่งดี) แต่ถ้าดอกกลางทุ้มตอบสนองได้สูงเช่น 18 kHz อาศัยดอกแหลมมาต่อยอดอีกนิดเดียว (เบาๆ) อย่างนี้  ติดห่างก็ไม่เป็นไร อีกทั้งช่วยลดปัญหาเสียงจากดอกกลางทุ้มไปกระแทกกวนดอกแหลมได้ด้วย (เรียก  MICROPHONIC) ทำให้เสียงลมหายใจของตัวโน้ตดี

6.    การใช้ดอกลำโพงมากตัวเกินไป ยิ่งสร้างปัญหา MICROPHONIC ลดเสียงลมหายใจของตัวโน้ต (Breathing) เสียงจะออกแบน รูปทรง 3 มิติลดลง บางครั้งอั้นๆไม่ออกมาอย่างอิสระ หลุดกระเด็นออกมา พอมันแบนๆอั้นๆ รายละเอียดช่วงค่อยมากๆหายไป ก็แก้โดยการยกปลายแหลมสุด เสียงก็ออกมา แบบเค้นไม่ออกอย่าง EASY เป็นธรรมชาติ ฟังนานๆน่าเบื่อ

7.    ไม่รู้ว่าจะทำมาแบบป้องกันเส้นแรงแม่เหล็กไปรบกวนจอภาพ (NAGNETIC SHIELD) อยู่อีกทำไมเพราะปัจจุบันแทบไม่มีใครใช้ทีวีจอแก้ว (CRT) กันแล้ว (ที่จะมีปัญหาดังกล่าว) การป้องกันเขาทำโดย เอากระบอกโลหะไปครอบปิดตูดแม่เหล็ก หรือหาแม่เหล็กขั้วตรงข้ามมาทากาวปิดปะที่ตูดแม่เหล็ก
       ดอกลำโพง ทั้งหมดนี้ล้วนทำลายความเป็นอิสระของเสียง ทำให้อั้น, ตื้อ ช่วงดนตรีหลายชิ้นจะมั่วไปหมด เจี้ยวจ้าว อื้ออึง ความเปิดโปร่งทะลุหายไป

8.    บางยี่ห้อ สายลำโพงภายในพาดแตะตูดแม่เหล็ก หรือขดลวดบนแผงวงจรแบ่งเสียง หรือสายเข้าและ ออกจากวงจรแบ่งเสียง แตะต้องกัน ทั้งหมดล้วนผิดทั้งเสียงจะอั้น ตื้อ ขุ่น วอกแวก

9.    บางยี่ห้อพยายามสร้างจุดขาย แยกเอกดอกแหลมใส่กระเปาะต่างหาก (ที่ทำจากพลาสติก) แล้ววางไว้บนหลังตู้ อาจจะดูดี แปลกตา สวยอีกต่างหาก แต่ก็มีปัญหา สูญเสียความเป็น POINT SOURCE ตามข้อ 5   ที่กล่าวไปแล้ว นอกจากนั้น แม้กระเปาะที่บรรจุดอกแหลมจะทำจากพลาสติก แต่ก็มีผลต่อเส้นแรงแม่เหล็กของแม่เหล็กดอกแหลม ทำให้เสียงตื้อ ไม่ออกมาอย่างอิสระ (สู้รุ่นเก่าๆของเขา ที่ติดดอกแหลมหน้าตู้ปกติไม่ได้)

10.  บ้างก็พยายามแก้ปัญหาอย่างหนึ่งและไปเจออีกอย่าง เช่น สอดแท่งเหล็กจากด้านหลังตู้ทะลุเข้าไปภายในไปค้ำยันที่ตูดแม่เหล็กของดอก กลาง หรือดอกกลางทุ้ม หรือดอกทุ้ม นุ้ยว่าเพื่อลดการสั่นของตัวดอกลำโพง โดยลืมไปว่า แท่งเหล็ก (ต่อให้ใช้แท่งพลาสติกด้วย) จะไปรบกวนเส้นแรงแม่เหล็กของ     ดอกลำโพง เสียงจะเหมือนดีมากใน 10 วินาทีแรก แต่หลังจากนั้น เสียงทั้งหมดจะถอยจมแบนติดจอไม่กระเด็นหลุดลอยออกมา

11.  การเจาะรูระบายอากาศ (ท่อเบส) ไว้ด้านหน้าตู้ ใกล้ดอกกลางทุ้มเกินไป (กรณ๊ลำโพง 2 ทาง) จะทำให้มีโอกาสที่เสียงจากท่อกับเสียงจากหน้าดอก เกิดการหักล้างกัน (บางช่วงความถี่) ทำให้เสียงขาดความ อวบอิ่ม ขาดน้ำหนัก ขาดรูปลักษณ์ (BODY) ฟังแล้วหน่อมแน้ม ไม่สมจริง

12.  การมีปุ่มปรับเสียงแหลม หรือเสียงทุ้ม หรือ ฯลฯ คนออกแบบไม่รู้เลยหรือว่า จุดที่ทั้ง “เสียง” และ ” ลงตัวดีที่สุด ต่อดอกลำโพงนั้นๆ มีได้เพียงจุดเดียว ตำแหน่งเดียว ค่าเดียว ไม่ใช่จะมานั่งจูนนั่ง  เปลี่ยนปรับค่ากัน สังเกตว่า ลำโพงพวกนี้ ปรับให้ตายกันไปข้าง ก็เอาดีไม่ได้ เอาได้ไม่ดี ผีเข้าผีออกเหมือนจะดีแล้ว แต่ก็ไม่ลงตัวสักที ต้องคอยปรับอยู่นั่นจนเบื่อไปเอง อันนี้รวมพวกที่มีขั้วมาให้ไล่เชื่อม วงจรแบ่งเสียง โดยใช้การยกชิ้ยส่วนเปลี่ยนค่าต่างๆที่ให้มาด้วย

สรุป ก็คือ ถ้าเป็นไปได้ ซื้อลำโพงมาแล้ว จ้างผู้เชี่ยวชาญจัดการแก้ไขภายในให้ดังข้อต่างๆที่ระบุมา แล้วคุณจะได้ลำโพงที่ดีเกิน 100% ของที่เขาทำมาหลายคู่ จะดีขึ้นจนเหมือนฟังคนละคู่ คนละยี่ห้อไปเลย

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459