000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > ทำไมตู้ลำโพงต้องหนัก
วันที่ : 15/01/2016
10,728 views

ทำไมตู้ลำโพงต้องหนัก

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

ตู้ลำโพง มีทั้งขนาดเท่ากำปั้นจนถึงใหญ่เท่าตู้เย็น 20 คิวกว่าๆ มีรูปร่างตั้งแต่ทรงกลม,ทรงเหลี่ยม,ทรงเกือบกระบอก,ทรงสี่เหลี่ยม,ทรงปิรามิด,ทรงก้นหอย,ฯลฯ น้ำหนักตู้ตั้งแต่แค่ 1 กก ถึงกว่า 200 ก.ก. ต่างก็ให้คุณภาพเสียงแตกต่างกันไป

       ระบบลำโพง นอกจากต้องประกอบด้วย ดอกลำโพง(ที่ต่างรูปแบบกันไป), วงจรแบ่งความถี่เสียง,สายลำโพงภายใน,ขั้วต่อสายลำโพงจากภายนอกและแน่นอน “ตู้ลำโพง” เราจะมาดูว่าน้ำหนักตู้ลำโพงมีผลอย่างไรต่อคุณภาพเสียง

       ดังที่กล่าวแล้ว ตู้ลำโพงมีตั้งแต่ขนาดเท่ากำปั้นจนถึงขนาดสูงท่วมหัวก็ยังมี ขนาดของตู้เป็นตัวบ่งบอกปริมาตรการกักเก็บอากาศภายในตู้ หลักการง่ายๆทั่วๆไปคือ ยิ่งตู้ใหญ่มักให้เสียงทุ้มลงได้ลึกกว่า อิ่มกว่า ดังกว่าตู้เล็ก ในกรณีที่เงื่อนไขอื่นๆเหมือนๆกัน

       ขนาดของตู้ ยังเป็นตัวกำหนด น้ำหนักของตัวตู้  ตู้ยิ่งหนักจะมีข้อดีคือ

ความถี่ตอบสนอง (FREQUENCY RESPONSE) จะราบรื่นเนื่องจากตู้ไม่สั่นสะเทือนจนเขย่าดอกลำโพง, กรวยลำโพง,โคมลำโพง ทำให้ส่วนเคลื่อนไหวผลักดันอากาศของดอกลำโพงเหล่านี้ ขยับตัวได้เต็มที่ ไม่ถูกเขย่าไปพร้อมๆกับกำลังส่งเสียงตามปกติอยู่ เสียงจึงชัดไม่พร่ามัวจากการเขย่าของตู้ อะไรที่พร่ามัว สมองจะแปลว่าเสียงนั้นไม่ดัง, และแบนถอยติดตู้ ไม่กระเด็นหลุดมาหาเรา จึงเหมือนมันไม่ดังหรือดังค่อยลง

       ดังนั้น ถ้าตู้ไม่มั่นคงแข็งแรง อ่อนไหวต่อการสั่นด้านที่บางความถี่เช่นที่ความถี่ F1, F2, F3 ก็แสดงว่าที่ความถี่ F1, F2, F3 เสียงจะพร่ามัวเบลอ ก็จะเหมือนเสียงถอย,จม,แบนไม่พุ่งหลุดออกมาหาเรา เหมือนค่อยลง ลำโพงบางคู่ไม่แข็งแรง สั่นกราวไปหมด แล้วเราหาของหนักหรือทิปโทหรือเดือยแหลมรองใต้ตู้ อันช่วยให้การสั่นลดลงได้ แต่มักจะลดได้ผลดีที่สุดที่ความถี่แถวๆช่วงเสียงกลางสูง

       ถ้าเป็นอย่างนี้จะพบว่าเสียงกลางสูงพุ่งกระเด็นชัดออกมาหาเรา ขณะที่ความถี่ช่วงอื่นๆเบลอไปหมดเหมือนถอยจมอยู่ ถ้าเราไม่เข้าใจก็จะว่า ทิปโท,เดือยแหลม,ตัวทับตู้,ตัววางบนตู้,ช่วยให้โฟกัสเสียงดีขึ้น เสียงนักร้อง (ช่วงเสียงกลาง) ชัดขึ้น, โฟกัสขึ้น แต่ลืมไปว่าเสียงดนตรี, เสียงนักร้องไม่ได้ประกอบด้วยความถี่โดดๆเดียว หากแต่ยังประกอบด้วยความถี่คู่ควบต้านความถี่ต่ำๆไล่เรียงลงไปและความถี่คู่ควบด้านสูงไล่เรียงขึ้นไป โดยมีความถี่หลักเป็นแกนนำอยู่ ถ้าความถี่คู่ควบทั้ง 2 แถบนี้ ( HARMONICS) มันยังเบลอ,ถอยจม,พร่ามัวอยู่ ก็จะได้ยินชัดแต่ความถี่หลัก ทำให้ขาดตัวที่จะมาจำแนกว่า นี่เป็นเสียงจากเปียโนยี่ห้อโน้น ยี่ห้อนี้ เปียโนแสนกว่าบาทหรือสามล้านบาท เสียงนักร้องคนนั้นคนนี้ ที่แตกต่างกันไป กลับจะฟังเหมือนๆคล้ายๆกันไปหมด

       ดังนั้น การจะจัดการเรื่องความสั่นของตัวตู้จึงต้องมองให้ออกทั้งยวงของความถี่ต่ำสุดไปสูงสุด ต้องปฏิบัติหรือมีผลเสมอกัน ไม่เลือกกำจัด ตรงนี้เป็นความผิดพลาดและความไม่เข้าใจของคนทำ “เครื่องเคียง”ขายที่เกี่ยวกับตู้ลำโพงหรือวางอุปกรณ์ช่วยนั้นๆไว้ภายในห้องและเกิดการเลือกปฏิบัติเช่นกัน

       การจัดการเรื่องการสั่น “ทั้งโขยงความถี่”เป็นเรื่องทำได้ยากมากทำให้ผู้ผลิตลำโพงไฮเอนด์บางยี่ห้อเลือกที่จะ “ทุบทั้งกระบิ” คือไม่สนใจอะไรทำให้ตัวตู้มันหนักที่สุด นิ่งที่สุดไว้ก่อน เราจึงได้เห็นระบบลำโพงที่ตู้ข้างหนึ่งหนักเกือบ 100 ก.ก.ทั้งๆที่เป็นลำโพงวางหิ้ง! หรือหนักเกิน 200 ก.ก.กับลำโพงวางพื้น ถามว่าดีไหม มันดีแน่ๆ เป็นอุดมคติเลย แต่อย่าลืมว่า มีห้องบันทึกเสียงสักกี่แห่งในโลกที่ใช้ลำโพงหนักมหาศาลอย่างนั้นในการฟังทดสอบ (MONITOR) ขณะทำการบันทึกเสียง (MASTER) ส่วนใหญ่ก็เป็นลำโพง MONITOR หนักปานกลาง ไม่บ้าเลือดขนาดนั้น เขาจึงแต่งเสียงที่เหมาะสม,เข้ากันได้,ให้เสียงครบ,มิติลงตัว สอดรับกับลำโพงทั่วไป ดังนั้นเมื่อนำอัลบั้มนั้นมาฟังกับลำโพงโคตรหนัก จึงมักพบว่า เสียงที่ได้ออกผอม, เกร็ง, ขาดความผ่อนคลาย, ขาดมวลหรือเนื้อหนัง ( HARMONICS) โอเคมันชัด พุ่ง ลอย แต่ไม่ผ่อนคลาย ไม่น่าฟังเอาเสียเลย ผู้ออกแบบลำโพงอาจเป็นวิศวกรที่ดี, เก่ง แต่ล้มเหลวในการประเมินสถานการณ์

       ตู้ที่หนักจะช่วยให้เสียงกระเด็น, หลุดลอยออกมาหาเราได้ดีขึ้นพร้อมๆกับชิ้นดนตรีแต่ละชิ้นในวงจะถูกจัดวางอย่างมีตำแหน่งนิ่ง(ไม่วอกแวก),วางหรือเรียงตัวเป็นลำดับหน้า-หลัง ไล่เรียงกันไป (PERSPECTIVE)  คือมีลำดับตื้น-ลึก รู้ขอบเขตสิ้นสุดของเวทีเสียงของวง ไม่ใช่มันฟุ้งเบลอไปกับฉากหลังไม่รู้ว่าขอบสิ้นสุดอยู่ไหน

       นอกจากนั้นจะแยกเสียงตรงออกจากเสียงกังวาน สะท้อนของตัวมันได้ชัดขึ้น แม้แต่เสียงกังวานยังฟังออกว่ามีทรวดทรง มีการกระเพื่อมพลิ้วระรอกพร้อมกับแต่ละเสียง แต่ละโน้ตแยกขาดจากกัน ไม่ดังเกยกันระหว่างหางเสียงโน้ตตัวแรกกับโน้ตตัวที่ติดตามมา ทำให้ช่องไฟระหว่างตัวโน๊ตเกลี้ยงสะอาดและสงัด (INTERSILENT) พร้อมกับเปิดเผยรายละเอียดของหัวโน้ตถัดมาได้กระจ่างชัดขึ้น (LEADING EDGE ของหัวโน้ตชัดขึ้น) หรือพูดว่ารายละเอียดเสียงที่สวิงทันทีทันใด…..ดีขึ้น ( TRANSIENT DETAIL ดีขึ้น) จะรู้สึกว่าเวทีเสียงเกลี้ยง,สะอาด ไร้ม่านหมอก โปร่งทะลุขึ้น (TRANSPARENCY ดีขึ้น), สงัดขึ้นอันทำให้  รายละเอียดหยุมหยิมที่ค่อยมากๆไม่ถูกกลบหาย ( LOW LEVEL DETAIL ดีขึ้น)

       พร้อมๆกันนั้นจะรู้สึกว่า ลำโพงล่องหนหายไป ไม่รู้สึกว่าเสียงวิ่งออกมาจากหน้าตู้ลำโพง แต่กลับไปปรากฏตรงนั้น ตรงนี้ ในเวทีเสียงตามที่ควรจะเป็นอย่างธรรมชาติ

       สุดท้ายคือ จะรู้สึกว่า มิติเสียงคมชัด,โฟกัสขึ้น ไม่เบลอ แถมเสียงกระเด็นหลุดมาได้อย่างฉับไว  ( DYNAMIC ดีขึ้น) ไม่รู้สึกอั้น,ตื้อ แม้แต่เสียงที่ค่อยๆก็ยังฟังออกว่ามีลำดับความดัง อ่อน แก่ แยกแยะได้ในเสียงค่อยๆนั้น ( DYNAMIC CONTRACT ดีขึ้นและ MICRO DYNAMIC ดีขึ้น)  เปิดดังหรือค่อยเสียงไม่ต่างกันมาก ไม่ใช่ยิ่งเร่งดังยิ่งมั่ว,สับสน

      ช่วงโหมดดนตรีหลายๆชิ้นพร้อมๆ กัน ก็ไม่มั่ว แต่จะยังคงแยกแยะได้ตลอด เมื่อ “ทุกอย่าง” มันกระจ่างชัดดีหมดทั้งสุ้มเสียง, มิติเสียง ก็จะพบว่าเหมือนกับ “ดังขึ้น” โดยไม่ต้องเร่งวอลลูมมากๆ ขณะเดียวกันจะรู้สึกว่า เสียงรบกวนภายนอกรอบๆตัวเรา มีอิทธิพลลดลงหรือรำคาญลดลง โดยไม่ต้องเร่งเสียงดังลั่น เพื่อเอาชนะเสียงรบกวนภายนอก ผลคือ ลดความเพี้ยนให้แก่ทั้งภาคขยายเสียงและลำโพง ทุกอย่างก็จะยิ่งกระจ่างชัด เกลี้ยงสะอาด สบายหูขึ้น เสียงก้องในห้องลดลง

       นอกจากนั้น จะให้จังหวะจะโคน( RHYTMIC) ดีขึ้น ฟังแล้วเกิดอารมณ์ร่วม, คล้อยตาม เคาะนิ้ว, เขย่าขา ปากอยากขยับตามเหมือนฟังการแสดงสด (LIVE) สนุก ตื่นเต้น ไม่ง่วง ไม่เบื่อ

       เปลี่ยนอัลบั้ม สไตล์เสียงก็เปลี่ยนตามไปตลอด ไม่อยู่ในกรอบของบุคลิกตายตัวอย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้ไม่เกิดความเบื่อ,เลี่ยน

       ถ้าตู้นิ่ง ช่วงเสียงทุ้มหนักๆ ก็จะไม่เขย่าดอกแหลม ถ้าถูกเขย่าเสียงโดยรวมจะเสียหมดเพราะดอกแหลมให้ หัวโน้ต (ทุกความถี่) มันปฏิสัมพันธ์กันไปมา

       นอกจากนั้น ถ้าตู้สั่น แผงวงจรแบ่งเสียงสั่น เสียงจะคลุมเครือขึ้น ทั้งการกระทำของกระแสที่ไหลในแผงวงจรเอง และจากคลื่นวิทยุภายนอก( RF) ที่กระทำต่อแผงวงจรซ้าย-ขวา จะไม่คล้องจองกัน (เช่นตู้ซ้ายเขย่ากว่าตู้ขวา)  รวมทั้ง ขั้วต่อรับสายลำโพงหลังตู้ก็ถูกเขย่าได้ ตู้ไม่นิ่ง ก็ส่งผลเช่นกัน(ถึง 30 %)

       เมื่อตู้ที่แกร่ง,มั่นคง,หนักมีข้อดีแทบทุกรูปแบบอย่างนี้ ทำไมไม่ค่อยทำกัน    ปัญหาคือ

  1. มันจะฟ้องคุณภาพของดอกลำโพงที่ใช้และวงจรแบ่งความถี่ที่ดีไม่พอ พูดง่ายๆว่า ออกแบบได้ยากขึ้นมาก (มั่วได้ลำบากขึ้น)
  2. ทุ้ม เก๊ๆที่ได้จากตู้สั่นช่วย จะหายไปเยอะ การจะออกแบบหรือเลือกดอกทุ้มมาชดเชยทำได้ยาก และต้องใช้ของดีมาก เพิ่มต้นทุนอีกเยอะ แถมลำโพงเหมือนกินวัตต์ขึ้นด้วย
  3. ตู้ที่หนักจะเพิ่มต้นทุนพุ่งขึ้นมหาศาล
  4. ตู้หนัก ขนส่ง,ย้าย ลำบาก เพิ่มค่าขนส่ง
  5. ตู้หนัก ค่าขนส่งเพิ่ม จะทำให้ต้องจ่ายค่าภาษีนำเข้า (IMPORT TAX ) ที่คิดเอาโดยค่าขนส่งมารวมด้วย ก็จะพุ่งขึ้นมาก ขายยาก(ของที่ทำในท้องถิ่นเช่นในบ้านเราจึงได้เปรียบข้อนี้อย่างมาก)
  6. ในการจัดสาธิต,ออกงาน,ขนย้าย,ซ่อมแซม ตู้ที่หนักเป็น 100 กก เป็นอะไรที่มหาโหดมากๆ ลองคิดว่าต้องยกของหนักเป็นร้อยกิโลกรัมขึ้นชั้น2 ชั้น3 มันสาหัส รำเค็ญ ขนาดไหน
  7. ความลงตัว พอเหมาะว่าควรหนักเท่าไรดีต้องบาลานท์ให้ดีระหว่างคุณภาพดอกลำโพง,วงจรแบ่งเสียง,น้ำหนักตู้กับการเข้ากันได้ดีของอัลบั้มเพลงที่เขาทำๆกัน(โดยจูนกับลำโพง MONITOR ปกติที่ไม่หนักบ้าเลือดขนาดนี้

       ถ้าต้องการให้ “ทุกอย่าง” ดีได้โดยตู้ลำโพงไม่ต้องหนักบ้าเลือดจะได้ไหม

       ตอบว่า ได้ โดยการทำระบบตรึงตู้ลำโพงคือทำตัวตู้ให้แกร่งที่สุดก่อน โดยอาจไม่จำเป็นต้องหนักมากๆ เพื่อเอาน้ำหนักมาถ่วงตู้ให้ “นิ่ง”  หากแต่ทำระบบอะไรก็ได้ที่จะมาค้ำ,หนีบอัด,บีบ,ยึด กำแพงห้อง,เพดานห้อง,พื้นห้อง กับตู้ลำโพง ให้นิ่งที่สุด(DEAD LOCK )เช่น เอาท่อเหล็กหนาเส้นผ่าศูนย์กลาง 4 – 5 นิ้วมาค้ำจากเพดานห้อง(เพดานปูน) ลงมาด้านบนตู้ลำโพง เพื่ออัด,ตรึงให้ตู้นิ่งที่สุด(ภายในท่อใส่ใยโปลีป้องกันเสียงก้องด้วย)  ถ้าเป็นลำโพงวางพื้นก็หาอีกท่อมาบีบอัดด้านล่างของตู้-กับพื้นห้อง

       ระบบตรึงนี้น่าคิด น่าทำขายได้อย่างดีด้วย เป็นตลาดที่น่าสนใจมาก  อีกระบบใช้ดอกลำโพงเบิ้ลเป็น 2 ดอก เช่นดอกทุ้มจาก 1 เป็น 2 ดอก ต่อเฟสเดียวกัน ดอกหน้าตู้ 1 ดอก,ดอกหลังตู้ 1 ดอก มีแท่งเหล็กเชื่อมตูดลำโพงถึงกัน ให้การสั่นของดอกทั้งสองหักล้างกันเอง ตู้ก็สั่นน้อยลง แต่วิธีนี้น่าจะได้ผลในช่วงความถี่ไม่กว้างมากและลงทุนสูงจึงไม่ค่อยมีใครใช้

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459