|
"ลำโพงไร้ตู้" โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ
ในอดึตเมื่อ 50 กว่าปีมาแล้ว ที่ดอกลำโพงยังใช้กรวยกระดาษเป็นพื้น ทำให้การเก็บตัวของกรวยไม่ดีเท่าที่ควร มีการสั่นค้างมาก ยิ่งภาคขยายเสียงแบบหลอด ที่ต้องมีหม้อแปลงคั่น ที่ขาออกก่อนต่อเข้าลำโพง การสั่นค้างยิ่งทวีคูณ เมื่อดอกลำโพงสั่นค้างเก่ง บวกกับหม้อแปลงคั่นดังกล่าว ยิ่งทำให้ตัวตู้มีการสั่นค้างได้ง่ายๆ จนเป็นที่มาของคำว่า " เสียงตู้" ( boxy) นอกเหนือไปจากการก้องอู้จากความเป็นกล่องของตัวตู้เอง ลำโพงรุ่นเก่า50 ปีที่แล้วจึงมักให้เสียงทุ้มที่ก้อง อู้ ทุ้มลึกไม่มี(ถูกกลบหมด) ลามไปทำให้เสียงกลางอู้ก้อง ไม่โปร่งชัด ไปกลบปลายแหลมให้ห้วนสั้น ลำโพงเก่าสมัย 50 ปีที่แล้วขึ้นไปไม่ว่าแพงแค่ไหน เสียง มิติ จึงมักสู้ลำโพงสมัยใหม่ดีๆ วางหิ้งแค่ 1.5-2 หมื่นบาทไม่ได้เลย มีความพยายามแก้ปัญหาเรื่อง เสียงตู้(สั่น/ก้อง) กันมาตลอดในประว้ติศาสตร์ของลำโพง เช่น ลำโพงระบบอีเลคโตรสแตติคส์ ไร้ตู้ แต่ก็ยุ่งยาก แพงจัด กินวัตต์ ขับยาก เปิดดังก็ไม่ได้ ไม่ค่อยทน ปัญหาเยอะจนปัจจุบันแทบสูญพันธุ์ไปแล้ว 1. เสียงจากหน้าดอกกับหลังดอก จะหักล้างกันเอง(นี่คือเหตุผลที่ต้องมีตู้) ทำให้กินวัตต์มโหฬาร ต้องใช้แอมป์เป็นร้อยๆวัตต์ขับจึงจะพอดัง โดยเฉพาะดอกกลาง ดอกทุ้ม ดอกซับ 2. จากข้อ 1. ทำให้สวิงเสียงไม่ขึ้น ไม่ว่าdynamic contrast หรือ dynamic range ฟังแล้ว ดังเสมอๆกันตลอดเวลา ปราศจากความเร้าใจ( ไร้ชีวิตชึวา) การสอดแทรกอารมณ์ ราบรื่นแต่จืดสนิท 3. ไม่ต้องถามหา ทรวดทรงของเสียง ( 3 D) ตัวนักร้อง ชิ้นดนตรี แบนสนิท เวทีเสียงเละเป็นโจ๊ก ไร้ความตื้นลึกโดยสิ้นเชิง มีแต่ฟุ้งๆจากการก้องที่ฝาหลังลำโพง น้ำเสียงโดยรวมผิดเพี้ยน วอกแวก ไปหมด สรุป ไร้สาระเหตุผลที่จะหาเล่นลำโพงระบบนี้โดยสิ้นเชิง มันผิดทั้งหลักฟิสิกส์ และสิ้นเปลือง( ค่าแอมป์วัตต์สูงแพงกว่าค่าลำโพง ) www.maitreeav.com |