000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > แก้อคูสติคห้อง.....แก้ที่นี่ก่อน
วันที่ : 23/01/2016
8,110 views

แก้อคูสติคห้อง.....แก้ที่นี่ก่อน

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

    คงปฏิเสธไม่ได้ว่า อคุสติคของห้องฟังเพลง มีผลอย่างมากต่อคุณภาพการฟังทั้งในแง่ของสุ้มเสียงและมิติเสียง บรรยากาศการฟัง ก็เหมือนกับ เอานักร้อง นักดนตรี ต่อให้เอาตัวเป็นๆเล่นดี ร้องดี มาร้องหรือเล่นในห้องที่ก้อง เสียงที่ได้ย่อมไม่น่าฟังอย่างยิ่ง แต่ถ้าเอานักร้อง นักดนตรีที่ร้องและเล่นไม่ได้เรื่องเอาเสียเลย แม้ห้องฟังจะอคูสติคที่ดี สุดท้ายเสียงก็ไม่มีวันน่าฟังอยู่ดี

       จึงเห็นได้ว่า มันต้องครบทั้ง 2 ฝั่งจึงจะได้เสียงที่สมบูรณ์ที่สุด ถูกต้องที่สุด นั่นคือ

       - ตัวกำเนิดเสียง ต้องดี ไม่ผิดเพี้ยน

       - ห้องฟังต้องอคูสติคดีด้วย ไม่สร้างปัญหาแถมเข้าไป

    เป็นที่น่ายินดีที่ปัจจุบัน เจ้าของชุดเครื่องเสียง เริ่มหันมาให้ความสำคัญของห้องฟังมากขึ้นๆ จนบางคนยอมลงทุนปรับสภาพอคูสติคของห้องฟังเป็นเงินนับแสนๆบาท ไม่นับค่าตัวห้องเอง

       แต่ที่สร้างความฉงนให้แก่นักมัณฑนากรตกแต่ง ผู้ติดตั้งระบบอคาติค และเจ้าของชุดเองก็คือ ทำไมบางชุด ปรับแก้ด้านอคูสติกได้ง่ายมาก แต่เงื่อนไขห้องแทบจะเหมือนกันเป๊ะกับบางชุด แก้ด้านอคูสติคเท่าไรก็ไม่หาย แก้ไปแก้มายิ่งสับสน เหมือนจับปูใส่กระด้ง คุ้มดีคุ้มร้าย ผลที่ได้ไม่เสถียร แกว่งตลอดเวลา

       จริงๆแล้ว ปัญหาอยู่ที่ไหน?

    ก่อนอื่น นักเล่นเครื่องเสียงระดับเทพ ที่มีประสบการณ์ขั้นสูงอย่างตกผลึก ต่างยอมรับเป็นเสียงเดียวกันว่า การติดตั้งมีผลต่อเสียงที่ได้อย่างยิ่งยวด ชุดเดียวกัน ห้องเดียวกัน ฝีมือติดตั้งคนละชั้น ผลที่ได้อาจแตกต่างกันได้อย่างสิ้นเชิง! เรียกว่า หนังคนละม้วน กระดูกคนละเบอร์

       ความจริงข้อนี้ทำให้เราพอสรุปได้ว่า การติดตั้งต้องดีและถูกต้องที่สุด อย่างไร้ปัญหาเสียก่อน จึงจะเอามาเอาใจใส่กับอคูสติคของห้องเป็นลำดับสอง กฎข้อนี้ต้องรักษาให้ได้ มิเช่นนั้น การจัดการทางอคูสติกอย่างเดียว จะไม่มีวันประสบผลสำเร็จได้เลยอย่างเด็ดขาด

       ความผิดพลาดในการติดตั้งชุดเครื่องเสียงในแง่มุมใดบ้าง ที่ทำให้ช่างอคูสติคหลงประเด็น ไปนั่งแก้ปัญหาด้านอคูสติคอย่างไม่รู้จบ

1.    ไม่เช็คขั้วเฟสไฟ AC คือปลั๊กไฟ AC ของทุกๆเครื่อง เราต้องลองสลับขาเสียบ (LINE, NEUTRAL) ว่าเสียบอย่างไหนให้มิติโฟกัส มีทรวดทรง 3 มิติดีที่สุด ถ้าเสียบผิด จะเหมือนเสียงฟุ้งก้อง เวทีเสียงด้านหนึ่งชัดกว่า เป็นตัวตนกว่าอีกด้าน มันจะหลอกหูเหมือนเสียงก้องด้านอคูสติค

2.    สายลำโพง, สายสัญญานเสียงด้านหนึ่งเสียบหัวท้ายสายถูกต้อง เช่นสายซ้าย (เช่นต้องอ่านที่ยี่ห้อสายจากเครื่องเล่น CD ไปปรีแอมป์) แต่สายขวาเสียบหัวท้ายย้อนขบวน อ่านยี่ห้อสายจากปรีไป CD จะพบว่าด้านซ้าย (L) เสียงชัด มีตัวตนเป็นชิ้นเป็นอันกว่า หลุดลอยออกมามากกว่า ส่วนด้านขวา เสียงแกว่งวอกแวก ฟุ้งแบน สับสน เหมือนมีการก้องด้านขวา (R) ทั้งสายเสียง และสายลำโพง ถ้า 2 ด้าน  เสียหัว-ท้ายต่างกัน ก็จะเกิดอาการเดียวกัน ลองคิดดูว่า ถ้าสายสัญญาณเสียง L ถูก L ชัดเป็นตัวตน แต่ สายลำโพง R ถูก ชัดเป็นตัวตน ผสม 2 กรณีมันจะเละ ผีเข้าผีออกขนาดไหน ฟังเหมือนนฟุ้งก้อง สลับ ซ้าย-ขวา เหมือนมีปัญหาด้านอคูสติคเลย (ถ้าเป็นสายบาลานท์ หัวท้ายสลับไม่ได้ ก็อาจต้องตัดสายทำหัวใหม่)

3.    เส้นฟิวส์ของเครื่อง ต้องสลับขาให้ถูกต้อง (ฟังเอา) มิเช่นนั้นเสียงเบลอทั้งซ้าย, ขวา หรือเบลออยู่ด้านหนึ่ง ไม่โฟกัส หลุดลอยออกมา    

4.    อุปกรณ์ชิ้นส่วนบนแผงวงจรแบ่งความถี่เสียงของระบบลำโพง รวมทั้งสายลำโพงภายในตู้ ของตู้ซ้ายกับตู้ขวา ทิศทางขาอุปกรณ์ต่างกัน ทิศทางสายต่างกัน ก็จะให้ผลเสียงซ้าย, ขวาต่างกัน ด้านหนึ่งเป็นตัวตนชัด (ถูกต้อง) อีกด้านถอย จม แบน ฟุ้ง อาการหลอกกันนี้จะคล้ายกับปัญหาด้านอคูสติคซ้าย, ขวาต่างกันมาก

5.    รูรับสัญญาณ (IN PUT), รูปล่อยสัญญาณ (OUT PUT) มีโอกาสที่อุปกรณ์ชิ้นส่วน (R,L) ของช่องซ้ายกับขวา ถูกทิศผิดทิศต่างกัน ก็จะมีอาการแบบข้อ 4

6.    กรณีมีการใช้สายภาพ, สายดิจิตอล การสลับหัว/ท้ายสาย (หัว/ท้ายขบวน) ก็มีผลต่อเสียงฟุ้ง เบลอ หรือโฟกัสคมชัดด้วย คล้ายการก้อองทั้งซ้าย, ขวา

7.    กรณีเล่นลำโพงที่เขาทำมาแบบไบ-ไวร์ แต่เราเล่นซิงเกิ้ลไวร์ ให้ระวังสายเชื่อม จากขั้วบวกชุด HF ไป บวก LF หรือลบ HF ไปลบ LF ด้านหลังตู้ลำโพง ถ้าสายเชื่อมนั้นผิดทิศ ก็จะเหมือนอาการข้อ 2

8.    กรณีที่แอมป์มีขั้วต่อออกลำโพงมา 2 ชุด เช่นชุด A, ชุด B ต้องฟังดูว่า ชุด A หรือชุด B ที่ให้เสียงโฟกัส ชัดเจน คมชัดกว่า ก็เลือกชุดนั้น (กรณีเล่นไบ-ไวร์ ก็ต้องใช้ชุดที่ชัดชุดเดียว ต่อออกสายลำโพง 2 ชุด)

9.    อย่าให้สายต่างๆ แตะต้องกันเด็ดขาด แม้จะแตะกันนิดเดียวแค่ไหน เสียงจะแจ๋น จ้านที่ด้านนั้น คล้ายมี เสียงก้องแถวๆ กลางถึงกลางสูง ยิ่งช่วงเสียงสวิงแรงๆยิ่งออกอาการชัด จะเข้าใจผิดว่า เสียงก้องจากห้อง

10.  อย่าวางเครื่องทับซ้อนกัน จะทำให้เสียงถอยจม ไม่หลุดลอยออกมา ออกอั้น ตื้อ ไม่ก็จะหลง เร่งวอลลูมให้ดังขึ้น จะยิ่งกระตุ้นความก้องในห้อง      

11.  การไม่เอียงลำโพง TOE IN ให้เสียงวิ่งตั้งฉากจากหน้าลำโพงซ้าย, ขวา วิ่งมาตัดกันที่ด้านหน้าของเราห่างออกไปซัก 50 ซม. แต่กลับไปวางลำโพงหน้าตรง จะยิ่งกระตุ้นการก้องของห้องจากฝาซ้าย, ขวาจากฝาด้านหลังลำโพงกับด้านหลังเรา ลดความเป็นตัวตน ทรวดทรง โฟกัส ผลคือ เสียงฟุ้งมั่วเต็มห้องไปหมด ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน อาการเหมือนห้องก้องเลย

12.  สายไฟ AC ที่เข้าสู่ห้องเสียงเดินหัว-ท้ายผิดทิศ จะทำให้เสียงทั้งหมดแบน ติดจอ ไม่หลุดกระเด็นลอยออกมา อาการจะสาหัสน่าเกลียดมาก บางครั้งลอยออกมาแต่จะออกมาได้ในระยะหนึ่ง (ทั้งวง) ไม่ออกมาได้เลยกว่านั้น เสียงจะแบนติดจอที่เส้นปิดนั้น

13.  การสลับขั้วบวก, ลบ ของสายลำโพงผิด อันทำให้กรวยลำโพงขยับเข้าไปในตู้ลำโพง ทำให้เสียงถอย จมไม่กระเด็นหลุดลอยออกมา อาการน้องๆข้อ 12 ก็จะหลงเร่งวอลลูมเพื่อให้เสียงมาถึงหู หลุดออกมาก็จะยิ่งกระตุ้นการก้อง

14.  การที่อุปกรณ์ชิ้นส่วนอีเล็คโทรนิกส์ของภาคขยายซ้าย, ขวา แม้จะวางขาถูกต้องเหมือนกัน แต่ถ้าค่าอุปกรณ์มีความผิดพลาด ค่าต่างกันก็ทำให้เสียงจากซ้าย,ขวา ชัดเจนต่างกัน เรียกว่าค่าไม่ MATCHED  PAIR ทำให้หลอกหูเหมือนก้องได้ (จะชัดในกรณีแผงแบ่งเสียงของลำโพง)

15.  การจับสายต่างๆภายในตู้ลำโพงในเครื่องมัดรวมกัน จะทำให้เสียงถอยจม แบนติดจอ หรืออั้นตื้อ ขุ่นมัว หรือกว้างจัด แห้ง ไร้อารมณ์ ไม่คมชัด ไม่โฟกัส ต่อให้อคูสติคของห้องดีแค่ไหนก็ไร้ค่า

16.  ที่ปลายสายลำโพงภายในตู้ลำโพงมักใช้หัวเสียบรูปตัวยู (รวมทั้งปลายสายไฟที่หัวตัวเมียรับสายสายไฟ จากภายนอกของเครื่อง (ตัวเมีย IEC ด้านหลัง) ก็มักใช้สายมีหัวเสียบตัวยูยาว) หัวเสียบตัวยูเหล่านี้ เสียบหงายหรือเสียบคว่ำล้วนมีผลต่อความชัดและมิติเสียงทั้งสิ้น ทำให้หลงประเด็นนึกว่าเป็นเพราะห้องก้อง (ถ้าทำได้ ก็ตัดหัวเสียบตัวยูออก บัดกรีไปเลย)

17.  เครื่องเสียงที่ภายในมีการใช้ดวงไฟ LED (สีแดง) ติดสว่างบนแผงวงจร ไฟ LED พวกนี้ทำให้เสียงอั้น หรือขาด DYNAMIC จืดชืด ทำให้ต้องเร่งวอลลูมมาก ยิ่งกระตุ้นการก้องของห้อง

18.  ตัวคุมไฟที่ไม่ดี หรือดีไม่พอ ไม่ใช้ดีกว่าใช้ ทำให้เสียงแบน, ฟุ้ง, สับสนไปหมด เหมือนห้องก้อง ขนาดว่า เสียบสายไฟของตัวกรองเอาไว้แม้ไม่กดสวิชส์เปิด (คือ ไม่ได้ต่อไฟผ่านตัวกรอง/ตัวคุม) ก็ยังมีผลต่อชุดเครื่องเสียง ต้องถอดสายไฟออก และยกออกไปจากห้องเลย (อยู่ในห้องก็ยังมีผล!)

19.  สายต่างๆที่ไม่ดีก็อั้นเสียง กดการสวิงเสียง เพื่อหลอกหูว่า เสียงอิ่ม ทุ้มเยอะ เบลอเสียง ทำให้เหมือนเสียงก้องได้ ฉะนั้น ถ้าคิดจะเปลี่ยนสาย ต้องขอเอามาลองก่อน ถ้าเขาไม่ให้เอาไปลอง (ไม่ดีคืนเงิน) ก็อย่าซื้อ แม้แต่หางปลาของสายลำโพง หัวแจ๊คต่างๆก็มีผลเช่นกัน อย่ามองข้าม

20.  อย่าวางเครื่องขยายไม่ว่าอนาลอกหรือดิจิตอล ใกล้ชิดติดกับเครื่องเล่นดิจิตอลที่มีการ up sampling สูงๆ(กว่า 10 เท่า) ความถี่ว่ากันเป็น MHZ เป็น GHZ เสียงจะถอย, จม แบน หลังจากเล่นไป 10 วินาที ทำให้  ต้องเร่งดัง กระตุ้นการก้องของห้อง

    สรุป จะเห็นว่า มีองค์ประกอบเยอะมาก ในการติดตั้งชุดเครื่องเสียงที่ทำให้เกิดอาการคล้ายเสียงก้อง คล้ายเป็นปัญหาของห้อง (อคูสติค) รวมทั้งทำให้ต้องเร่งดังๆ อันยิ่งกระตุ้นปัญหาของห้องฟังมากขึ้นไปอีก

       ในทางกลับกัน ถ้าได้แก้และป้องกันปัญหาเหล่านี้ไว้ก่อนให้มากที่สุด ถูกต้องที่สุด เราจะพบว่า ปัญหาของห้องได้ลดลงมาก แม้จะยังพอมีอยู่ แต่กลับ “รับได้” ไม่เลวร้ายจนน่าเกลียด

       ดังนั้น ก่อนที่จะเสียค่าโง่แพงๆ ในการแก้ปัญหาอคูสติคของห้อง จนแก้ปัญหาทั้ง 17 ข้อให้ได้ก่อน บางทีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒด้านเครื่องเสียง, ด้านการฟังที่รู้จริง (ไม่ใช่ราคาคุย หรือมาเพื่อยุให้เปลี่ยนโน่นนี่ ทั้งๆที่ยังไม่ได้แก้ไข หรือลองให้ดูให้เห็นปัญหา) มาช่วยปรับจูนแก้ไข น่าจะประหยัดกว่า การกระโจนเข้าสู่ปัญหาด้านอคูสติคทันที

    สุดท้าย ขอเตือนว่า ไม่ว่าจะมีใครเสนอขาย “อุปกรณ์” ล้างมลภาวะเป็นพิษทางเสียงในห้องฟัง อะไรมานำเสนอ อย่าได้ผลีผลามซื้อ เพราะพวกนี้ราคาแพงเว่อร์มาก เผลอๆข้างในไม่มีอะไรเลย อย่าถูกหลอกซ้ำซ้อน ตราบใดที่ยังเข้าไม่ถึงการแก้ไขปัญหาทั้ง 17 ข้อข้างต้น การปฏิบัติแก้ไขอะไรก็แค่การกลบเกลื่อนปัญหา ไล่ปัญหาจากที่หนึ่งไปอีกที่ ดุจการตลาด ขยะไปซุกไว้ใต้พรมเท่านั้น ไม่มีทางแก้ไขอะไรได้จริง (สุดท้ายแก้ด้วยอคูสติค จะดีกว่าเครื่องพวกนี้)

       พระพุทธองค์ท่านก็สอนแล้วว่า เหตุเกิดที่ใด ต้องแก้ที่เหตุก่อน ผลก็จะดีเอง

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459