|
หมวดหมู่ > ระบบเสียง PA > เครื่องเสียง PA >
เราต้องการบันทึกเพลงแบบเซอร์ราวด์จริงหรือ
วันที่ : 26/01/2016
เราต้องการบันทึกเพลงแบบเซอร์ราวด์จริงหรือ? โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ เทคโนโลยีการบันทึกเสียงในปัจจุบัน ทำให้เราสามารถบันทึกเสียง 2 แชนแนล (สเตอรีโอ) ให้ปรากฏดุจฟังจากระบบเสียงรอบทิศได้ เมื่อฟังจากระบบเสียงสเตอรีโอ 2 แชนแนลธรรมดาที่บ้าน (ไม่ว่าจะเป็นระบบ spatializer, SRS, Q-sound ฯลฯ) หรือการบันทึกเสียงรอบทิศเซอราวด์จริงๆ เป็น multi-channel เช่น ระบบ Dolby Surround, Dolby Digital, DTS Surround เหมือนเสียงรอบทิศของภาพยนตร์ ซึ่งฟังด้วยแผ่นอัลบั้มคอนเสิร์ตในรูปทั้ง DVD, Blu-ray (BD) หรือแผ่นเพลง SACD, DVD-Audio ??????????????? คำถามคือ เราต้องการฟังเพลงแบบเซอราวด์ หรือเสียงรอบทิศจริงหรือ ??????????????? เป็นเรื่องถกเถียงกันในวงการเพลง บางอัลบั้มทำออกมาเดิมๆ เป็น 2 แชนแนล ก็มีการนำมาสเตอร์เก่ามาใส่ร่องบันทึกใหม่เป็นเสียงรอบทิศ วางชิ้นดนตรีกระจายไปรอบๆ คนฟัง รวมทั้งนักร้องด้วย เพียงเพื่อ ?ขายความเป็นเสียงรอบทิศ? (แผ่น SACD) เล่นเอาเจ้าของผลงานเก่ามาฟังแล้วอยากร้องไห้ เพราะมันไม่เข้ากันกับอารมณ์และจินตนาการเดิมของเพลงนั้นๆ เลย (เช่น วง Rolling Stone) หรืออัลบั้มเพลงแจ๊สก็บันทึกใหม่วางชิ้นดนตรีแยกแตกกระจายรอบๆ คนฟัง แทนที่จะวางเป็นกลุ่มรูปวงเดียวกันอย่างปกติวิสัยแต่เดิม ฟังแล้วทะแม่งพิลึก ??????????????? กับเพลงคลาสสิกที่คุยว่าบันทึกรอบทิศ ก็ไม่เห็นมีอะไรพิสดาร ก็เหมือนฟัง 2 แชนแนลธรรมดา มีแต่เสียงคนนั่งดู เสียงปรบมือเวลาเพลงจะเริ่มหรือเพลงจบ ปรากฏอยู่ซ้าย, ขวา, หลัง ของคนฟังเท่านั้น ทั้งวงยังปรากฏอยู่ด้านหน้า ความกังวานก็ไม่ได้ดีขึ้น บรรยากาศไม่ดีขึ้น ??????????????? ตลาดการฟังเพลงทั้ง 2 แชนแนล (Surround) ก็ไม่ได้เป็นเรื่องฟุ่มเฟือย หรือไร้สาระ ตราบเท่าที่คนแต่งเพลง และผู้บันทึกจะได้จับเข่าคุยกัน เพื่อหาวิธีนำการบันทึกเสียงรอบทิศมาช่วยเพิ่มรสชาติ, คุณค่าของเพลงโดยไม่ขัดกับเป้าหมายหลักของอารมณ์และจินตนาการของเพลงนั้นๆ โดยต้อง ??????????????? 1. เลิกนิสัยการกระจายแหกวงไปวางตามมุมห้องอย่างไม่มีเหตุผล และไม่ได้ส่งเสริมเพื่อรสชาติของอารมณ์ดนตรีอะไรได้ ตรงข้ามกลับทำลายความเป็นหนึ่งเดียวของดนตรีองค์รวม ??????????????? 2. ใช้ความเป็นเสียงรอบทิศในการแผ่กระจายความกังวานของวงเท่านั้น เพื่อสร้าง ?บรรยากาศ? แห่งการห่อหุ้ม ดุจคนฟังไปนั่งฟังท่ามกลางบรรยากาศของจริง (คือเอารอบทิศมาสร้าง ambience เท่านั้น) แต่วงตัวเองยังคงเล่นอยู่ด้านหน้าปกติ บรรยากาศนี้ อาจรวมทั้งเสียงปรบมือของผู้ชมในห้องฟังเพลงด้วย ??????????????? 3. เพลงบางประเภท เช่น เพลงไลต์มิวสิก อาจใส่เสียงประกอบสร้างบรรยากาศของจริง (sound effect) เช่น เสียงคลื่นซัดสาดเข้าหาชายหาด เสียงฝนตกรอบๆ ตัวและจากเพดานห้อง อาจมีเสียงฟ้าร้องคำรามห่างไกลออกไปมาจากรอบๆ ตัว เสียงคนฟังในห้องแสดงร่วมปรบมือเข้ากับจังหวะเพลงปรากฏรอบๆ คนฟัง (เช่น เพลงราดิสกี มาร์ช ของโจฮัน สตราวด์ จูเนียร์) เสียงยิงปืนใหญ่, ตีระฆังไกลออกไป แต่เสียงระเบิดปรากฏรอบๆ ตัวเรา ในเพลงคลาสสิกบางเพลง การแพนเสียงไปรอบๆ ห้องอย่างเพลงเกี่ยวกับม้าหมุนในสวนสนุก หรือเสียง ?ป่า? ประกอบเพลง Jungle Drum (เคยฟังจากแผ่นจานเสียง LP เสียงรอบทิศระบบ CD-4 ของ JVC เยี่ยมมาก) ??????????????? 4. ระบบเซอราวด์จะเหมาะมากกับเพลงประเภท new age ชวนฝัน ซึ่งเน้นการสร้างจินตนาการ (imagination) เป็นหลัก เพลงประเภทนี้มักใช้เสียงดนตรีเป็นหลักใหญ่ เป็นสื่อบอกเรื่องราว การใส่เสียงประกอบ (sound effect) ต่างๆ จะช่วยให้จินตนาการนั้นๆ (ที่มักเป็น abstract) เด่นชัดขึ้น ยิ่งถ้า sound effect เป็นเซอราวด์ด้วยในบางเหตุการณ์ ยิ่งช่วยเร้าอารมณ์ขึ้นไปอีก บางครั้งอาจทำเอฟเฟกต์ให้เสียงระเบิดออกจากตำแหน่งคนฟัง หรือวิ่งมาหุบเข้าที่คนฟัง (collapse หรือ expand) อย่างเพลงคลาสสิกที่ใช้เครื่องสังเคราะห์คลื่น อัลบั้ม Picture at Exhibition ถ้าได้ effect เซอราวด์จะแจ๋วมาก (เสียงแมววิ่งไปรอบๆ ห้อง) หรือเพลงของวงเกรกอเรียนที่ออกสไตล์เหมือนสวดมนต์ (เช่น เพลง Brother in Arm ของวงเมตาริกา) ถ้าได้การเดินสวด (ร้อง) ไปรอบๆ ห้องละก็ ...ว๊าว...!!! เลย หรืออัลบั้ม The Wall เพลง A Brick on the Wall ของวง Pink Floyd ที่มีเสียงเฮลิคอปเตอร์บิน ถ้าบินฉวัดเฉวียนอยู่บนเพดานห้องได้ละก็ มันส์หยด ? สรุป ??????????????? จะเห็นว่า การบันทึกเพลงแบบเซอราวด์ ก็ไม่ได้เป็นเรื่องเลวร้าย หรือเพ้อเจ้อ ไร้สาระ หรือทำลายจุดมุ่งหมายของคนแต่งเพลงนั้นแต่อย่างใด ตราบเท่าที่ผู้บันทึกรู้ว่ากำลังทำอะไรอยู่ สำคัญที่สุดคือ ต้องทำความเข้าใจกับเจ้าของเพลงให้กระจ่างที่สุดก่อนว่าเขาต้องการถ่ายทอดอะไร แค่นี้ ผลงานนั้นก็สวยหรู น่าติดตาม และลึกซึ้งกว่าระบบเสียง 2 แชนแนลธรรมดาแล้ว ? www.maitreeav.com |