000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > ปกิณกะ > ทำไมแผ่นหนัง BLURAY ไม่ดีอย่างที่คุย
วันที่ : 12/02/2016
14,704 views

ทำไมแผ่นหนังBLURAYไม่ดีอย่างที่คุย

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

อย่าคิดว่าเป็นแผ่นหนัง Bluray แล้วภาพต้องดี เสียงต้องแจ๋ว ความจริงมิใช่เช่นนั้นเลย ความเป็นแผ่น Bluray มิได้เป็นหลักประกันใดทั้งสิ้นว่า ภาพและเสียงต้องดีเลิศ หรือ ดีกว่าแผ่น DVD ปกติ ความจริงที่เจ็บปวดก็คือแผ่นหนัง Bluray 100 เรื่องที่ออกมา จะมีที่ภาพชัดจริงๆ เสียงดีจริงๆ ไม่เกิน 10 แผ่น (จริงๆน้อยกว่านั้น)

          เป็นเรื่องไร้สาระ โกหก ปัญญาอ่อนอย่างมากที่พ่อค้าแผ่น DVD ชอบพูดเชิญชวนให้ผู้บริโภคกระโดดมาเล่น Bluray ด้วยหวังจะขายเครื่อง Bluray ที่ตัวเองเอามาวางขายด้วย รวมทั้งจะขายแผ่น Bluray ต่อๆไปอีกกับหนังเก่าๆที่ออกมานานแล้ว โดยพ่อค้าอ้างว่า Bluray ให้ภาพชัดกว่า DVD ถึง 5 เท่า ทั้งๆที่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้นเลย อย่างเก่งภาพก็ดีกว่าสัก 20 – 30 %(นี่คือมากที่สุดกับแผ่น Bluray ที่ดีที่สุด)  90 % ของแผ่น Bluray แทบไม่ได้ชัดไปกว่าแผ่น DVD ที่บันทึกดีๆเลย ขณะที่แผ่น Bluray ราคา 1,299 – 1,499 บาท แผ่น DVD ลิขสิทธิ์ 99 – 399 บาท(โซน 3 ) แผ่น DVD ผีที่อ้างว่าก๊อบปี้จาก Bluray ราคา 120 บาท (90%ไม่ได้ก๊อบปี้จาก Bluray จริง)

          ทำไมแผ่น Bluray จึงให้ภาพไม่ดีอย่างที่คุย หรือเท่าที่ศักยภาพของตัวระบบ Bluray สามารถให้ได้

 มี 2 สิ่งที่เป็นตัวกำหนดคุณภาพของการบันทึกแผ่นภาพ Bluray

  1. สูตรที่ใช้ในการย่นย่อ บันทึก-เล่นกลับสัญญาณที่เรียกว่า CODEC ขณะที่แผ่น DVD จะใช้สูตรเดียวคือ MPEG 2 แต่กับแผ่น Bluray สูตรนี้จะไม่ให้เลือกหลากหลายตามใจชอบของเจ้าของหนัง ซึ่งแต่ละสูตรก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไป มี 3 สูตรที่ใช้กันมากที่สุดคือ MPEG 2, AVC/MPEG 4 และ VC-1 ใน 3 สูตรนี้ก็แตกต่างกันไปแต่ที่เห็นชัดที่สุดคือ ค่าความหนาแน่นของข้อมูล (bitrate)ที่ต่างกัน

     Bitrate DVD GB DVD Bluray

          แน่ละ แผ่น Bluray จุได้มากกว่าแผ่น DVD มากนักแต่การบันทึกก็ยังต้องคำนึงถึงบิทเรทอยู่ดี บิทเรทสูงสุดของ Bluray คือ 54.825 Mbps ซึ่งมหาศาล แต่เอาเข้าจริงๆในการใช้งานจริงจะใส่กันมาแค่ครึ่งเดียว เพราะถ้าใส่บิทเรทกันเต็มที่ จะบันทึกได้แค่ 1 ชั่วโมงต่อ 1 ผิวชั้นของแผ่น Bluray ซึ่งในการผลิตแผ่น Bluray ผิว 2 ชั้นจะแพง และยุ่งยากมากกว่า 1 ผิวชั้นมาก ผู้ทำแผ่นจึงพยายามเลี่ยง

อย่างไรก็ตาม มีอีกเหตุผลที่ผู้อำนวยการผลิต ลดค่าบิทเรทลง เนื่องจากสูตรการบันทึกแผ่นใหม่ๆ(CODEC ใหม่ๆ)อย่าง VC-1 หรือ AVC/MPEG-4 จะให้ภาพที่คมชัดได้โดยไม่จำเป็นต้องบันทึกกับบิทเรทสูงสุดขนาด 54 Mbps ว่าไปแล้ว ตอนแปลงจากฟิล์มมาเป็นดิจิตอล ทำได้เนี้ยบแค่ไหน จะมีผลมากกว่าการเลือกค่าบิทเรทเสียอีก อย่างไรก็ตามถ้าเราดูค่าบิทเรทจะพบว่าสูตร AVC จะใช้ความกว้างของช่วงความยาวคลื่น(bandwidth) กว่า VC-1 ถึง 30 % เพื่อได้ภาพที่คุณภาพพอๆกัน(แผ่น HD DVD จะใช้การเข้ารหัสแบบ VC-1 เนื่องจากกินเนื้อที่แผ่น น้อยกว่า จากการที่ใช้บิทเรทต่ำกว่า แต่ภาพจาก HD DVD ก็กลับให้ความสด,สว่าง,คมชัดดีกว่า Bluray ) อย่างหนังเรื่องเดียวกันคือ Rambo ถ้าเป็นแผ่น Bluray ขายในอเมริกาจะใช้บิทเรทเฉลี่ย 26.82 Mbps ขณะที่แผ่น Bluray ขายในเยอรมันใช้สูตร VC-1 จะวิ่งที่ค่าบิทเรทแถวๆ 17.97 Mbps จากรายงานทั้งคู่ก็ให้ภาพที่ดีเยี่ยม

สรุปก็คือ มีทางเลือกมากหลายว่าจะใช้สูตร(CODEC)อะไร ค่าบิทเรทเท่าไรซึ่งจะเข้ากันได้กับแผ่นนั้นๆ และผู้ทำแต่ละคนเชื่อว่าอย่างไหนจะให้ภาพดีกว่ากัน อันนี้จะต่างกันไป เชื่อไหมว่า การทุ่มเทบิทเรทสูงสุดที่ 54 Mbps ไว้ตลอดเวลาอาจไม่ทำให้ได้ภาพที่ดีที่สุด เนื่องจากการให้อุปกรณ์,เครื่องต้องทำงานที่เต็มขีดความสามารถสูงสุดขนาดนั้นนานๆกลับก่อให้เกิดปัญหา ซึ่งปัญหาเดียวกันนี้เคยเกิดมาแล้วกับเครื่องเล่น DVD ยุคแรกๆสุดที่เจอกับแผ่น DVD ที่บันทึกบิทเรทสูงสุดแช่ มาตลอดเวลา ผลคือภาพที่มีอะไรเคลื่อนไหวเร็วๆจะมีปัญหาทันที อาจถึงกับหยุดค้างได้

สำหรับผู้บริโภค ก่อนซื้อแผ่นจึงควรตรวจสอบให้แน่ใจและตกลงกับผู้ขายให้ดีว่าถ้าเอาแผ่นไปเล่นแล้วมีปัญหาจะจัดการกันอย่างไรเช่น แผ่นหนัง Bluray รุ่นแรกๆจะใช้ MPEG-2 CODEC แต่ตอนนี้ก็เริ่มยอมรับ กันแล้วว่าภาพสู้การใช้ AVC หรือ VC-1 CODEC ไม่ได้ แม้ว่าในขั้นตอนการแปลงจากฟิล์มมาเป็นดิจิตอลจะยังคงใช้ MPEG-2 อยู่ ในวงการทำแผ่นก็ยังคงมีการทดสอบทดลองกับบิทเรทว่าจะตั้งอย่างไรดีเพื่อให้ยังคงได้ความชัดระดับ 1080p โดยไม่ต้องใช้ 2 ชั้นผิวกับแผ่น Bluray โชคดีที่ไม่เหมือนกับแผ่น DVD ที่การลดบิทเรทแม้แต่น้อยก็ฟ้องแล้วว่าภาพแย่ลง แต่กับ Bluray จะไม่ชี้ฟ้องขนาดนั้น นอกจากว่าในฉากที่มีการเคลื่อนไหวเร็วๆของอะไรหลายๆอย่างในภาพจะดูออกว่าถ้าบิทเรทต่ำการเคลื่อนไหวจะกระตุก

  1. ขึ้นอยู่กับต้นฉบับที่นำมาแปลงลงเป็น Bluray  ถ้าเราย้อนกลับไปดูยุคแรกๆของการออกแผ่นหนัง DVD จะพบว่ามีหนังน้อยเรื่องที่จะเป็นจอกว้าง(widescreen หรือ ซีเนมาสโคป) เป็นแค่ 4 : 3 เล่นเอานักดูที่ใช้จอกว้างอยู่เซ็งไปเลย เหตุผลก็คือผู้อำนวยการผลิตบางคนเอาง่ายๆ ใช้ต้นฉบับจากแม่เทป VHS มักมีคุณภาพดีกว่าเทปหนัง VHS ทั่วไปอยู่แล้ว แต่คนส่วนใหญ่ก็ยังโวยวายว่าแผ่นหนัง DVD ที่ก๊อบปี้จากแม่เทป VHS ก็ยังคุณภาพไม่ถึงขั้น อยู่ดี แน่นอน เหตุการณ์ทำนองเดียวกันนี้ก็เกิดกับการใช้แม่เทป VHS ก๊อบปี้ลง Bluray เช่นกัน

ต้นฉบับ (มาสเตอร์ ) สำหรับการทำแผ่น DVD ส่วนใหญ่จะบันทึกกันที่ความละเอียดระดับ 2 พันเส้น(2K) ขณะที่ต้นฉบับขนาดนี้เกินพอสำหรับการทำแผ่น DVD แต่มันก็แค่สูสีกับความสามารถของแผ่น Bluray เท่านั้น คุณอาจไม่กังวลเมื่อทราบว่าตัวต้นฉบับมาสเตอร์เองก็มีความละเอียดมากกว่าตัวแผ่นที่รับการก๊อบปี่ถึง 6 เท่า เจ้าพวกริ้วรอยและฝุ่นบนฟิล์มต้นฉบับที่ไม่ค่อยสังเกตออกหรือน่ารำคาญเมื่อก๊อบปี้ลงแผ่น DVD โดยผ่านมาสเตอร์ระดับ 2K แต่จะเห็นชัดเจนน่าเซ็งบนแผ่น Bluray เช่นเดียวกันสีที่อาจดูเสมอเป็นพรืดจากโทนสี ที่แคบกว่าในกรณีก๊อบปี้ลง DVD อาจดูแล้วไม่น่าเกลียดอะไรแต่จะดูออกชัดกับการก๊อบปี้ลง Bluray (โทนสีที่แคบหรือทางเทคนิคเรียกว่า Deep Color แคบ จะทำให้ไล่ความอ่อนแก่ของสีเดียวกันได้ไม่ดี สีจะแบน จม ไม่มีมิติ วัตถุในภาพก็จะแบนไม่มีทรวดทรง ไม่ต้องสงสัยว่า แผ่นหนัง Bluray ที่เป็นหนังเก่าๆ ใช้ต้นฉบับ ง่ายๆจากแผ่น DVD มาสเตอร์ ซึ่งดูแล้วก็ไม่น่ามีปัญหาอะไร ถ้ามาสเตอร์ DVD ระดับ 2K นั้นสะอาดบริสุทธิ์ดีอยู่ (ปกติมันก็จะไม่เสื่อมไปตามระยะเวลา ขณะที่มาสเตอร์ที่เป็นแผ่นฟิล์มจะเสื่อมลงอย่างน่าตกใจ....ลองดูแผ่น DVD ที่ก๊อบปี้จากหนังไทยเก่าๆจะเข้าใจดี) แต่ถ้าแผ่นหนัง Bluray (เรียกสั้นๆว่า BD) ไม่ได้ทำจากมาสเตอร์ DVD ระดับ 2K ละก็ เป็นเรื่องน่าเศร้าแน่ถ้าเอามาก๊อบปี้ลง BD อย่างไรก็ตามอย่าพึ่งตีโพยตีพายว่า อย่างนี้แผ่น หนัง BD ก็แหกตาน่ะสิเพราะทำจากมาสเตอร์ระดับความละเอียดแค่ 2K เอง(แผ่น BD มันเก่งได้กว่านั้น) เราต้องไม่ลืมว่าโรงภาพยนตร์ที่คุยว่าฉายในระบบภาพดิจิตอล ที่เราดูแล้วก็คมชัดใช้ได้ แม้กับจอ 300 – 400 นิ้วนั้นจริงๆแล้วพวกนี้ก็ฉายจากแผ่น DVD ระดับความละเอียด 2K เท่านั้น(เครื่องฉายก็ระดับ 2K เช่นกัน) ดังนั้นเมื่อเอามาดูที่บ้าน ความละเอียดระดับ 2K ก็น่าจะเหลือเฟือ เช่นเดียวกันมันก็เป็นความจริงที่ไม่ใช่แผ่น ทุกแผ่นจะทำจากมาสเตอร์ระดับ 2K

  • HD)กำลังมาเคาะประตู ดังนั้น ส่วนใหญ่พวกที่เห็นการณ์ไกลเหล่านี้จึงตระเตรียมสำหรับยุค HD เลย ตัวอย่างเช่น ค่ายหนัง Warner นำมาสเตอร์หนังเรื่อง Singin’ In The Rain มาชำระชะล้างทำมาสเตอร์ใหม่ในระดับความละเอียด 4 พันกว่าเส้น(4K) ถือว่าเก็บข้อมูลเป็น 4 เท่าของมาสเตอร์ 2K ลงตัวกับมาตรฐานการฉายภาพ ดิจิตอล         ใหม่ เหตุที่พวกเขาเขยิบความละเอียดมากถึงขนาดนั้นก็เผื่อเหนียวในอนาคตของการดูในบ้าน และสมค่าแก่การลงทุนแก้ไขฟิล์มต้นฉบับทั้งที
  • BD ก็คือ หนังเรื่องนั้นๆถ่ายทำอย่างไรในเบื้องต้น ตัวอย่าง หนังรุ่นใหม่ๆมักถ่ายทำด้วยดิจิตอลมาสเตอร์ ที่ความละเอียดอย่างน้อยที่ 4K ไปพร้อมๆกับฟิล์ม แล้วนำมาสเตอร์ดิจิตอลนั้นมาปรับความคมชัด,แก้สีสัน และอื่นๆโดยไม่มีการไปแตะต้องมาสเตอร์ที่เป็นฟิล์มเลยจากนั้นเอามาสเตอร์ดิจิตอลที่แก้ไขแล้ว ย้อนไปก๊อบปี้ลงฟิล์มอีกทีแล้วส่งฟิล์มเหล่านี้ไปฉายตามโรงภาพยนตร์ วิธีนี้เป็นการเผื่อเหนียว และสามารถเก็บต้นฉบับไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบทั้งในรูปฟิล์มและมาสเตอร์ดิจิตอล 4K  ในอดีต  คนทำหนังจะถูกจำกัดด้วยคุณภาพของตัวเลนส์และฟิล์ม แต่กับระบบดิจิตอล มันข้ามข้อจำกัดเหล่านั้นไปได้หมด คุณจะปล่อยหนังจอกว้าง,จอแคบ อย่างไรก็ได้ อยากได้สีสันภาพอย่างไร ให้เหมาะกับชนิดของหนังก็ได้

ถึงจุดนี้เราคงเข้าใจแล้วว่า มันไม่ใช่เรื่องของข้อจำกัดทางเทคนิคไม่ว่าในส่วนของตัวฟิล์ม,แม่เทป,ตัวมาสเตอร์,การแปลงจากฟิล์มเป็นดิจิตอล การชุบชีวิตด้วยระบบดิจิตอลหรือการก๊อบปี้ระบบแผ่นอะไร(DVD หรือ BD ) ในกรณีของการดูในบ้าน หากแต่เป็นเรื่องของ “ความตั้งใจจริง”และ “เงินในกระเป๋า”ของผู้ผลิตมากกว่าถ้าต้องพิถีพิถันทำให้เนี้ยบกับหนังทุกๆเรื่องล่ะก็พูดได้คำเดียวว่าผู้ผลิตเจ๊งกับเจ๊งอย่างเดียว หนังบางเรื่องที่เราดูจากแผ่น DVD หรือแม้แต่ BD แล้วคมชัดระดับยกนิ้วให้นั้นมันต้องทุ่มทุนมหาศาลทั้งเวลาเป็นปีต่อเรื่อง ใช้คอมพิว   เตอร์ระดับน้องๆซุปเปอร์คอมพ์หลายร้อยตัว (ร่วมพันตัว) อย่างภาพยนตร์อมตะ 40 ปี เรื่อง Gone With The Wind ที่มาสเตอร์ทำมาแบบรู้งานจริงๆ โดยถ่ายทำลงฟิล์มขาวดำไว้ 3 ชุด ต่างกันไปพร้อมๆกัน แต่ละชุดเพื่อผ่าน การกรองแสงสี แม่สี 1 สี (คล้ายๆกับระบบสร้างภาพสีของเครื่องรับทีวีสีจอแก้ว CRT) การเก็บเป็นฟิล์มขาวดำไว้ 3 ชุดเพื่อการกรอง 3 สี ฟิล์มขาวดำจะทนกว่าการเก็บเป็นฟิล์มสีธรรมชาติเอาไว้ เวลาจะทำมาสเตอร์ก็เพียงแต่  เอาฟิล์มขาวดำทั้ง 3 มาผ่านการกรองสีและผสมสี ก็จะได้ฟิล์มสีธรรมชาติที่ต้องการส่งไปฉายตามโรง  ในกรณีของ      Gone With The Wind เขาทำมาสเตอร์ใหม่ด้วยความละเอียดถึง 4K  เทคนิคการถ่ายทำภาพยนตร์เรื่องใหญ่ๆ ทุนสร้างสูงๆ สมัยปี 70 หรือ 80 หลายๆเรื่องก็ใช้วิธีนี้ ถ่ายที่ 3 ฟิล์ม ขาวดำ เวลาฉายกับโรงใหญ่ๆก็ฉายพร้อมกัน 3 ฟิล์ม (3สี ) ไปรวมเป็นสีธรรมชาติบนจอ ในยุค ค.ศ.1939 ของการฉายเรื่อง Gone With The Wind ก็ยังประสบกับปัญหาอย่างหนึ่งคือ ฉายๆไปฟิล์มขาวดำทั้ง 3 ยืดหดต่างกันทำให้เกิดการเหลื่อมของภาพสีทั้ง 3 ที่จะทับซ้อนกันให้ได้เป้ะพอดีผลคือ สีสันมีการผิดเพี้ยนบ้างและความคมชัดลดลง แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาในกรณีของการนำมาทำมาสเตอร์ 4K ดิจิตอล เพราะอาศัยระบบคอมพิวเตอร์ที่ว่ากันทีละกรอบภาพกันเลยทำให้แก้ปัญหาได้   ไม่ยาก ไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมหลายๆคนดูแผ่น DVD ของเรื่องนี้แล้ววิจารณ์ว่า ภาพดีกว่าสมัยเขาดูจากในโรง    ภาพยนตร์เมื่อปี 1939 เสียอีก ยิ่งกับแผ่น BD ยิ่งหายห่วง

การเก็บในรูปฟิล์มขาวดำดังกล่าวเป็นเหตุผลอีกข้อที่ทำไมหนังขาวดำ ยุค 40 คุณพ่อ คุณปู่ แม้ไม่มีการแก้มาสเตอร์(เอามาก๊อบปี้ลง DVD เลย)จึงให้ภาพดีกว่าหนังสีรุ่นต่อๆมายุค 1970  เสียอีก

อีกตัวอย่างที่บ่งบอกถึงความตั้งใจจริงที่จะเน้นคุณภาพของภาพคือ ภาพยนตร์เรื่อง 2001พิชิตจักวาลของKubrick ที่เมื่อลงแผ่น BD แล้วกินขาด ภาพที่ได้จากหนังที่สร้างใหม่ๆหลายๆเรื่องในปัจจุบัน( แม้พวกนี้จะถ่ายทำในระบบดิจิตอลก็ตาม) เมื่อวันที่ 10 เดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006 วงการดูหนังต้องตื่นตะลึงกับภาพจากแผ่น BD  ของภาพยนตร์เรื่อง Baraka ภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นสารคดีที่ตะเวนถ่ายทำทั่วโลก พูดถึงพฤติกรรมของมนุษย์โดยเฉพาะต่อความเชื่อต่างๆภาพยนตร์เรื่องนี้แม้จะมีอายุไม่มากนักประมาณแค่ 16 ปีแต่การทำมาสเตอร์ใหม่ดิจิตอลใช้ความละเอียดถึง 8K (ข้อมูล 4 เท่าของ 4K)แก้ภาพกันทีละกรอบภาพกันเลย (อย่าลืมดูเบื้องหลังการทำมาสเตอร์ที่มากับแผ่นด้วยน่าสนใจอย่างยิ่งการถ่ายทำแบบจอกว้างก็นำยุคก่อนมี 1 MAX เสียด้วยซ้ำ ผู้ถ่ายทำถึงขนาดต้องออกแบบกล้องถ่ายกันเอาเอง) แค่ก๊อบปี้จากฟิล์มมาสเตอร์ลงดิจิตอล(ยังไม่มีการแก้) ก็ใช้เวลาถึง 3 อาทิตย์ นี่เป็นภาพยนตร์เรื่องเดียวที่ดีที่สุดที่จะแสดงศักยภาพของแผ่น BD (ทั้งภาพและเสียงที่ดีขึ้นมาก)

ตัวอย่างแห่งความตั้งใจจริงที่จะนำเสนอภาพและเสียงที่ดีที่สุดบนแผ่น BD อีกเรื่องคือ Sleeping Beauty ของค่าย Disney ที่ทุ่มเทในการให้ได้ภาพที่ดีที่สุด เท่าที่เป็นไปได้กับต้นฉบับที่เป็นการ์ตูน ซึ่ง Disney ได้แสดงให้ดูว่าของเก่าเป็นอย่างไร ของใหม่ดีขึ้นขนาดไหน ก็นับว่าน่าตื่นใจไม่เบาทีเดียว นอกเหนือไปจากการเพิ่มลูกเล่นอื่นๆเช่นการเล่นเกมส์ต่างๆ

         สรุป จะเห็นว่ามีองค์ประกอบหลายอย่างที่เป็นตัวกำหนด บ่งบอก คุณภาพของภาพที่จะได้จากแผ่น BD มันอาจขึ้นอยู่กับการเลือกสูตรการย่นย่อสัญญาณ(CODEC) ซึ่งเราอาจดูได้หลังปกของกล่องใส่แผ่น ขึ้นอยู่กับการ

ลดต้นทุนของผู้ทำว่าเป็น 1 หน้า 1 ชั้นหรือ 1 หน้า 2 ชั้นผิว คุณภาพการรีมาสเตอร์ คุณภาพของต้นฉบับแรกสุดขณะถ่ายทำ และแน่นอน คุณภาพของการปั้มแผ่นด้วย พวกนี้จะเร่งปั้มแผ่น BD ออกมาขายโดยไม่สนใจแก้ไข มาสเตอร์ด้วยซ้ำ เหมือนรู้ว่าจะหลอกขายได้ไม่นาน น่าเศร้าที่ผู้ผลิตมักเลือกที่จะใส่ “ลูกเล่น” เชื่อมต่อกับเว็บไซด์ของผู้ผลิตผ่านเครื่องเล่น BD และ PC มากกว่าจะทุ่มทุนกับการแก้ไขมาสเตอร์ให้ดีที่สุด (ซึ่งเสียเวลาและแพงกว่า มาก)จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ทำไมแผ่นหนัง BD 100 เรื่องจะมีที่ภาพสวยสดคมชัดศักยภาพของระบบ BD แค่ไม่ถึง 10 เรื่อง เกือบทั้งหมดไม่ได้สวยสดคมชัดไปกว่าแผ่น DVD เรื่องเดียวกันสักเท่าไรเลย พูดง่ายๆว่า เอาเข้าจริงใน โลกแห่งความเป็นจริงแผเน DVD ที่บันทึกภาพมาเนี้ยบๆให้ภาพไม่แพ้แผ่น BD ทั่วไป หลายแผ่นภาพดีกว่าด้วยและกรุณาอย่ากล่าวอ้างเรื่องคุณภาพเสียงเพราะแผ่น DVD ที่บันทึกเสียงดีๆก็ดีเกินพอจนไม่จำเป็นต้องเป็น BD (ที่จะสร้างปัญหาการสวิงสัญญาณไม่ไหลของลำโพงและแอมป์ทั่วไป) พูดแบบไม่ต้องเกรงใจใครก็คือ การผลัก ดันแผ่น BD ก็ไม่เป็นอะไรอื่นนอกไปจากผู้ผลิตเครื่อง ผู้ผลิตแผ่นหาเรื่องขายของอีกรอบ ขายแผ่น(หนังเก่ากิน)อีกรอบ ทั้งๆที่ศักยภาพของแผ่น DVD เองแทบไม่มีใครสนใจที่จะเก็ลเกี่ยวมันให้เต็มที่ก่อนผลักดันรูปแบบแผ่น ใหม่ๆออกมา ถ้าคุณดูแค่จอ LCD,PLASMA แค่ไม่เกิน 55-60 นิ้วหรือโปรเจคเตอร์ไม่เกิน 70-80 นิ้ว(ทแยง) ทุ่มเทกับเครื่องฉายดีๆ จอดีๆ สวยดีๆคุ้มค่ากว่าที่จะแห่ตามกระแสกระโดดเข้าเล่นระบบ BD โดยที่คุณไม่จำเป็น ต้องปล่อยภาพ HD(720p,1080i,1080p)จากแผ่น DVD ธรรมดาออกไปด้วยซ้ำ(ไม่แนะนำ เพราะภาพมักจะนุ่มเกินไป ขาดความคมแบบมีมิติ,ภาพแบน,กระตุก,ไฮไลท์เสียค่าcontrast ratio ตก) ลองคิดดู ขณะที่แผ่น DVD ภาพยนตร์ราคา 99-399 บาท(ไม่พูดถึงแผ่นผี) แต่แผ่น BD ราคา 129-1500 บาท อย่าหลงได้ปลื้มกับเครื่องเล่น BD ระดับหมื่นกว่าบาท ลองฟังเสียงจาก CD (หรือแม้แต่กับ DVD,BD )ลองฟังแค่ 2 CH แล้วคุณจะอยากร้องไห้กับ เสียงที่แบนติดจอไม่มีทรวดทรงเป็นชิ้นเป็นอันอะไรเลย!

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459