000
ปรึกษาเครื่องเสียง อจ. ไมตรี โทร 099-569-6459    
 
บอร์ดพูดคุย, ซื้อ-ขายเครื่องเสียง
>> audio-teams.com
>> noom-hifi.com
>> wijitboonchoo.com
>> hifi55.com  
>> sk-audiophile.com
>> htg2.net
นิตยสารเครื่องเสียง
>> what Hi-Fi? Thailand
>> The Wave
>> Audiophile-Videophile
>> gm2000.com
>> The Stereo
ร้านค้าเครื่องเสียง
>> Piyanas Electric
>> KS Sons Group
>> Conice (บ้านทวาทศิน)
>> อัศวโสภณ
>> munkonggadget.com
>> bkkaudio.com
 
ปรับขนาดตัวหนังสือ เช่น 15, 16, 18, 20, + + / ยกเลิกใส่ 0 :

หมวดหมู่ > บทความ > เครื่องเสียงบ้าน > อนาคตของเครื่องเสียงไฮเอนด์
วันที่ : 17/02/2016
10,516 views

อนาคตของเครื่องเสียงไฮเอนด์

โดย...อ. ไมตรี ทรัพย์เอนกสันติ

เครื่องเสียงไฮเอนด์คือเครื่องเสียงราคาแพงถึงโคตรแพง ตั้งแต่ชุดละ 500,000 บาทขึ้นไปถึงเป็นสิบๆล้านบาท จุดมุ่งหมายของการเล่นไฮเอนด์คือ ต้องการเสพอารมณ์เพลงที่สมจริงที่สุด ไม่ใช่เอาเสียงตูมตามเข้าว่าอย่างเดียว

สถานการณ์วงการของเครื่องเสียงไฮเอนด์

  1. หดตัวลงเรื่อยๆตามเศรษฐกิจส่วนใหญ่ของแต่ละประเทศ ( นอกจากจีน )
  2. สินค้าไฮเอนด์แพงขึ้นมาก บางชิ้นแพงอย่างไม่น่าเชื่อ แพงกว่ารถ แพงกว่าบ้าน กะว่าขายชิ้นเดียวอยู่ได้เป็นปีก็มี
  3. ขาใหญ่ ยี่ห้อดัง มีการเปลี่ยนมือเปลี่ยนเจ้าของหลายๆยี่ห้อบ้างก็ถุกซื้อทั้งกิจการ บ้างขายหุ้นออกจนเจ้าของผู้ก่อตั้งกลายเป็นเสียงข้างน้อย บ้างหันไปเพิ่มสินค้าในแวดวง (สาย ) ลดสเกลผลิตภัณฑ์ลง จากเดิมทำแต่ประเภทสุดยอดก็ลดมาทำระดับกลางสูงหรือกลาง บ้างมีการย้ายฐานผลิตไปจีน อินเดีย
  4. ยี่ห้อดังมากในอดีตเริ่มลดบทบาทลงมากขณะที่มียี่ห้อใหม่ๆแทรกเข้ามาเพิ่มมากขึ้น (มักเป็นบริษัทเล็กๆ )

พูดง่ายๆว่าเด็กรุ่นใหม่จะไม่รู้จักเครื่องเสียงไฮเอนด์ พวกเขาจะ

  • ต้องการปริมาณมากกว่าคุณภาพ
  • ความสะดวก
  • เบื่อง่าย คิดสั้นๆ
  • มีการโยกย้ายถิ่นที่อยู่ ที่ทำงานบ่อย จึงต้องการอะไรที่เล็ก กะทัดรัด เบาๆ

ต่อไปจะไล่แต่ละตัวผลิตว่า จะมีที่ไปอย่างไรในอนาคต

  1. แหล่งรายการ
    1.1) CD จะค่อยๆลดลง อัตราการลดลงจะสูงขึ้นๆเพราะควรหันไปเล่นข้อ 1.2
    1.2) แหล่งรายการจะเป็นการโอนถ่ายข้อมูลหรือ down load จากเว็บไซด์, จากระบบ P-TO-P ( person-to-person ) คือเป็นการแบ่งปันหรือแชร์เพลงกันเองในหมู่ผู้เล่นอินเตอร์เน็ตหรือจาก i-could (Serverกลาง/ส่วนตัว ) คือการดึงมาฟัง (ชั่วคราว ) แล้วคืนกลับไป
    1.3) มีการ load ลง Server มากขึ้นๆอันนำไปสู่การทำธุรกิจบริการขายเพลงลง HDD สำเร็จ (ละเมิดลิขสิทธิ์ )
    1.4) จานเสียงจะหดตัวลงแม้มีความพยายามสร้างกระแสรื้อฟื้นขึ้นมาแต่ยอดขายเทียบไม่ได้เลยกับข้อ 1.2 และ 1.3 อีกทั้งตัวแผ่นเองก็หายาก การเล่นก็วุ่นวาย แม้บางคนจะนิยมชมชอบในแง่ว่า มันเป็นศิลปะอย่างหนึ่งในการเล่น,จูน
    1.5) การฟังวิทยุจะไปเรื่อยๆ อาจลดลงเพราะข่าวสารถูกส่งตรงเข้ามือถือได้ฉับไวมากกว่า จนไม่จำเป็นต้องคอยฟังจากสถานีวิทยุ

    การรับวิทยุทางอินเตอร์เน็ตจะกลายเป็นของสามัญทั่วไป สถานีวิทยุจะไม่สามารถเล่นตัว โก่งราคาค่าเวลาได้อีกต่อไป การทำงานของภาครับวิทยุปกติจะทำงานบน DSP ซอฟแวร์
  2. ภาคขยายเสียง
    ภาคขยายระบบอนาล็อกจะหดตัวลง ขณะที่ภาคขยายดิจิตอลจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด ภาคขยายที่จะตีคู่กับดิจิตอลคือ อนาล็อกแบบ Class A + Class D จะมาแรง (โดยตัวกำหนดคุณภาพเสียงหรือตัวบงการคือ Class A ส่วนตัวขยายที่เป็นให้กำลังคือ Class D )

    กระแสแห่งการประหยัดพลังงาน ที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆตามค่าไฟที่แพงขึ้นๆทำให้ดิจิตอลแอมป์และแอมป์ Class A + Class D ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงถึงกว่า 85 % จะมาแรง (Class A ได้สูงสุดแค่ 25 % Class AB ประมาณ 56-60 % )

    การที่ใช้ดิจิตอลแอมป์และอนาล็อก Class A + Class D ทำให้สามารถย่นย่อขนาดเครื่องลงมาได้ต่ำกว่า 50 % การแยกปรีและพาวเวอร์แอมป์คนละเครื่อง จึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นอีกต่อไปนั่นคือ ปรี,พาวเวอร์แอมป์แยกชิ้นจะลดลงทุกทีเป็นรวมชิ้นแทนเรียกอินทริเกรตแอมป์ นอกจากเป็นชุด MULTI CHENNEL AMP เช่นระบบลำโพง ACTIVEหรือชุดใหญ่ๆกำลังขับสูง
    อย่างไรก็ตาม สำหรับดิจิตอลแอมป์และอนาล็อก ( Class A + Class D )แล้ว มีความลับข้อหนึ่งคือ ถ้าหวังคุณภาพดีที่สุดแล้วแต่ละ CH ต้องแยกอิสระคนละเครื่องไปเลย

    ขณะเดียวกันวงจรแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอานะล็อก ( DAC )จะถูกใส่เข้ามากับแอมป์อานะล็อก (Class A+D)ขณะที่ดิจิตอลแอมป์จะไม่จำเป็นเพราะสามารถต่อสัญญาณดิจิตอลจากแหล่งรายการตรงเข้าสู่ภาคขยายดิจิตอลได้เลย

    แต่ถ้าป้อนด้วยสัญญาณอานะล็อก (จานเสียง,จูนเนอร์ ) จะมีวงจร ADC แปลงอนาล็อกเป็นดิจิตอลในตัว

3. การทำงานของภาคขยาย

???? เนื่องจากในเครื่องขยายอนาล็อก ( Class A+D) และดิจิตอลแอมป์ มักถูกควบคุมด้วยระบบดิจิตอล (DSP ) นั่นคือเปลี่ยนการใช้งานจากระบบวงจรและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์จริง ( HARD WARE ) ไปสู่การควบคุม,คัดเลือก,จัดสรร ด้วยคำสั่งคอมพิวเตอร์ หรือ โปรแกรม หรือ ซอฟแวร์ ( SOFT WARE ) เรียก SOFT WARE PLATFORM ทำให้มีข้อดีหลากหลายได้แก่

  1. สามารถรีดเค้นคุณภาพระบบออกมาได้ อย่างหยดสุดท้ายช่วยให้ได้ผลการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูงสุด (สเปคดีที่สุด,ปลอดภัยที่สุด,กินไฟต่ำที่สุด )
  2. ปรับเปลี่ยนการใช้งานของภาคขยายได้เช่น ซับแบบซิงเกิ้ลปกติ ( 2 CH,สเตอริโอ ) หรือสั่งให้เครื่องทำงานแบบไบแอมป์ (วงจรแบ่งความถี่เสียงในตัว Electronic Crossover ) ( เลือกตัวแปรได้หมด ) ขยายแบบบริดจ์ รวมทั้งINPUT เดียวเลือก 2 หน้าที่ได้ (รับแบบอนาล็อก,รับแบบดิจิตอล )
  3. ปรับปรุงคุณภาพและการใช้งานได้ในภายหลัง โดยปรับปรุงจากซอฟแวร์( FIRM WARE ของแอมป์) ทำให้ไม่ต้องขายทิ้งเพื่อเปลี่ยนรุ่นใหม่ที่ดีขึ้น
  4. เลือกสไตล์,บุคลิกเสียงได้จากโปรแกรมที่เขาให้มาเช่น
    - เสียงแบบเครื่องหลอด (อาจเลือกย่อยเสียงหลอดไตรโอดหรือเพนโทด )
    - เสียงแอมป์หลอดยี่ห้อ (...............)
    - เสียงแอมป์ทรานซิสเตอร์ยี่ห้อ (.........................)
    - ตกแต่งบุคลิกเสียงเอาเอง (ADVANCE )
    ?
  5. โปรแกรมตัวปรับแต่งความถี่เสียง ( EQ ),ตัวปรับ EQ แก้เบสบูม จากคลื่นค้าง (STANDING WAVE ),ตัวแก้เสียงก้องในห้อง (ROOM CORRECTION),ตัวหน่วงเสียง(สำหรับระบบ ACTIVE SPEAKER, ไบแอมป์,ไตรแอมป์)

    สังเกต ?ข้อ 4 นี้น่าคิดมากๆมีสิทธิ์ที่จะทำลายวงการไฮเอนด์ได้เลย ถ้าเสน่ห์ของไฮเอนด์คือ ความหลากหลายในบุคลิกเสียงคือการประคบประหงม การออกแบบ การประกอบ การคัดเลือกชิ้นส่วนอุปกรณ์ คือการปรับแต่งโน่นนี่

    ดิจิตอล จะนำมาซึ่งพลิกโฉมสิ่งเหล่านี้ทั้งหมดทุกอย่างถูกย้ายไปสู่การคัดเลือกบนเมนู บนจอ บนโปรแกรมเป็น ?สิ่งเหมือน? ( VIRTUAL)

4. ความเป็นกลาง คาดหวังได้เลยว่าดิจิตอลแอมป์,อนาล็อก (Class A+D) ในอนาคตที่กำลังมา โดยพื้นฐานถ้าทำมาอย่างเที่ยงตรงถูกต้อง มันจะให้เสียง,มิติที่เป็นกลาง,บริสุทธิ์อย่างสุดยอด ไร้จุดควิกส่วนตัว แต่งเติมสีสันใดๆมันจะฟ้องไม่ว่าอะไรที่มาต่อใช้กับมัน ไม่ว่าสายเสียง ( INTER CONNECT),สายลำโพง,สายไฟ,แหล่งรายการ} อะคูสติกห้อง,สุดท้าย?ลำโพง?

5. ระบบลำโพง ที่ไม่ดีจะหมดรูปไปเลย ( ทั้งทำมาไม่ดี,ทำผิดพลาดไม่ว่าในส่วนไหนในระบบลำโพง ) เนื่องจากแอมป์ดิจิตอลและแอมป์อนาล็อก ( Class A+D ) มีขนาดเล็กลง,ประสิทธิภาพสูงขึ้นมา อีกทั้งค่าความสามารถในการหยุดการ สั่นค้างของลำโพง หรือ เรียก DAMPING FECTOR (DF) มีค่าสูงมาก (หลายๆร้อยถึงเป็นพันๆ) รวมทั้งการตั้งโปรแกรม ให้ภาคขยายปรับตัวสำหรับลำโพงที่ใช้นั้นๆได้ด้วย (OPTIMUM) ทำให้

  1. ลำโพงเล็ก (ที่ดีพอ) จะได้รับความนิยม แม้จะกินวัตต์แต่กำลังขับเรามีเหลือเฟือ ดิจิตอลแอมป์,อนาล็อก ( Class A+D) จะเริ่มที่ไม่ต่ำกว่า 100W.RMS/ข้าง ที่ 8 โอห์ม ลำโพงเล็กความไวแค่ 85-86 dB SPL/w/m แอมป์ก็เอาอยู่
  2. ลำโพงใหญ่จะหดตัวลงเพราะไม่จำเป็นอีกต่อไป ประกอบกับพฤติกรรมการโยกย้ายถิ่นฐานที่อยู่ (ชั่วคราว ) ที่ทำงาน ( เปลี่ยนงานบ่อย ) ทำให้สะดวกกว่ามากถ้าเล่นลำโพงเล็ก (กับห้องเล็กๆในคอนโด,อพาร์ทเม้นต์ )
  3. ลำโพงระบบไร้วงจรแบบเสียง ( PASSIVE CROSSOVER NETWORK )จะหดตัวลง ลำโพงแบบแอมป์ขับ ตรง ( ACTIVE ) ( ใช้ Electronic Crossover Network ) จะบูมมากขึ้น ( MULTICHANNAL AMP ถูกลงมีวง จรแบบเสียงในตัว) ตลาดลำโพงประเภท DIY จะมาแรงมาก ตลาดลำโพงสำเร็จจะหดตัวลง
  4. ตลาดลำโพงไฮเอนด์จะเปลี่ยนเป็น ACTIVE โดยจะมี DRIVE PROGRAM (ไม่ว่าในรูปแผ่น CD-R THUMB หรือ DRIVE ) เอาไว้เสียบให้ DSP ของแอมป์ปรับตัวตามโปรแกรมการออกแบบและทำงานของลำโพงคู่นั้นๆ (อนาคตอาจให้ลูกค้าลงจากเว็บไซด์ของผู้ทำลำโพงนั้นๆเป็น VERSION URGRADE จะมีธุรกิจขายซอฟแวร์สำหรับลำโพงรุ่นนั้นๆโดยนักออกแบบอิสระ
  5. จากการที่ดิจิตอลแอมป์,อนาล็อกแอมป์ ( Class A+D ) ให้เสียงเป็นกลางอย่างยิ่ง นั่นคือมันจะ?ชี้ฟ้อง?อย่างสุดกำลังคุณสมบัติด้วยเสียงของห้องหรือสิ่งแวดล้อม ( ACOUSTIC ) จะมีผลที่ฟังออกได้ชัดอย่างเหลือเชื่อ ธุรกิจวัสดุจูน,ซับเสียงจะมาแรง
  6. สายสัญญาณเสียง ( INTERCONNECT CABLE ) จะแทบสูญพันธุ์ เพราะการเชื่อมต่อจะมีแต่สายดิจิตอลหรือระบบไร้สาย ( WIRELESS STREAMING ) ระดับ HD สายดิจิตอลเองมักมีผลน้อยกว่าสายอนาล็อกมาก แทบไม่จำเป็นต้องใช้ สายดิจิตอลประเภท EXOTIC แพงๆเอาแค่พื้นๆหลักพันบาทก็เหลือเฟือ สายลำโพงก็อาจมีอิทธิพลลดลงเนื่องจากค่า DF ที่สูงมากของแอมป์ดังกล่าว
  7. หูฟังได้ถูกพัฒนาดีขึ้นๆใน 2-3 ปีมานี้อย่างน่ากลัว ปัจจุบันหูฟังดีๆบางยี่ห้อราคาแค่พันกว่าบาทเสียงดีกว่าหูฟังราคาเกือบหมื่นบาทเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ( หมื่นบาทค่าเงินสมัยนั้น ! ) หูฟังแบบแยกรูหู (INEAR ) ไม่กี่พันบาทให้เสียงเทียบเคียงได้กับลำโพงเป็นแสนบาท หรือหูฟัง INEAR 10,000-20,000 บาทให้เสียงครบเท่ากับลำโพงระดับหลายๆแสนบาทหรือกว่าล้านบาท? พร้อมๆกับการแข่งขันตลาดโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเริ่มแข่งขันกันที่คุณภาพการฟังเพลง

    ทั้ง 2 กรณีนี้จะสอนให้เด็กรุ่นใหม่ ?หูสูง? พูดง่ายๆว่าเขามีโอกาสฟังเสียงที่ดีมาก ( กรณีเขาโหลดเพลงอย่างมีคุณภาพ ) ต่อไปถ้าชุดเครื่องเสียงไม่ดีจริง จะสอบไม่ผ่านหูพวกนี้ เครื่องเสียงไฮเอนด์จะปาดเหงื่อ
  8. อนาล็อกแอมป์จะถูกรบกวนจากคลื่นวิทยุสารพัดมากขึ้นๆอย่างหนักหน่วงจนเอาดีไม่ได้ ( ไม่ว่าคลื่นจากโทรศัพท์มือถือ,WIFI,IPAD,จอ LCD,จอ PLASMA,รีโมทแบบคลื่นวิทยุ,จาก PC/โน้ตบุ๊ก,สถานีวิทยุชุมชน /สถานีหลัก,สถานีทีวี,ฯลฯ

ขณะที่ดิจิตอลแอมป์ที่ออกแบบดีๆ ( ระดับไฮเอนด์ ) กลับจะทนทรหดกว่าคลื่น RF กวนเหล่านี้ แต่ต้อง ระวังคลื่นขยะที่มาทางสายไฟ AC ให้ดี ดังนั้นตัวคุมไฟ/กรองไฟ AC น่าจะมีบทบาทเด่นชัดขึ้น

?? สถานการณ์นับจากนี้จะเป็นอย่างไร

????????? เครื่องเสียงไฮเอนด์จะฉีกเป็น 3 ฝั่งอย่างเด่นชัดคือฝั่งอนาล็อก ฝั่งดิจิตอล ฝั่งลูกผสม

????????? ถ้าคุณเป็นนักเล่นเครื่องเสียงอยู่แล้ว และมีเครื่องเสียงอนาล็อกเก่าอยู่ รวมทั้งถ้าคุณทำธุรกิจค้าขายเครื่องเสียงเก่าอยู่ ควรปรับตัวอย่างไร ข้อแนะนำคือ

  1. หาโอกาสไปฟังเครื่องเสียงดิจิตอลหรืออนาล็อก/ดิจิตอลหรืออนาล็อก ( Class A+D ) ให้ได้ ให้มากเงื่อนไข มากสถานการณ์ที่สุด เพื่อจับประเด็นให้ได้ว่าเครื่องเสียงไฮเอนด์ยุคใหม่นี้น่ากลัวขนาดไหน ดีจริงหรือไม่ มีจุดอ่อน แก่อย่างไร
  2. ในช่วงแรกๆก่อนเข้าสู่ในช่วงยุคดิจิตอลไฮเอนด์ เชื่อได้เลยว่ามันจะถูกโจมตีอย่างหนักหน่วงจากหูอนาล็อก หรือผลิตเครื่องเสียงอานะล็อก ปัจจุบันที่ไม่สามารถก้าวข้ามไปสู่ยุคดิจิตอลได้ ดังที่กล่าวไว้แต่ต้นว่า เครื่องเสียงดิจิตอลไฮเอนด์มันให้เสียงเป็นกลางที่สุด ซึ่งจะอ่อนไหวต่อการติดตั้งที่มือไม่ถึงหรืออุปกรณ์ที่เล่นกับมันดีไม่พอ จึงเป็นจุดอ่อนที่จะถูกโจมตีได้อย่างไม่เลี้ยงกันเลย? ในแง่ของผู้บริโภคเองก็เถอะตั้งรับให้ดีก็แล้วกัน อย่าตกเป็นเหยื่อของฝ่ายไหน
  3. ท้ายสุดของสงครามอนาล็อกกับดิจิตอลคือ ถ้าเครื่องเสียงอนาล็อกนั้นๆไม่ดีจริงจะถูกดิจิตอลกวาดตกเวที ราคาจะดิ่งลง ขณะที่จะมีการสร้าง ( ปั่น ) กระแสว่า เสียงดีไฮเอนด์ต้องอนาล็อกเท่านั้น อย่างที่ปั่นกระแสจานเสียงกันอยู่
  4. เครื่องอนาล็อก (โดยเฉพาะไฮเอนด์ ) จะอิ่มตัวและมาถึงทางตัน เป็นเรื่องยุ่งยากอย่างที่สุดจะทำให้มันคงคุณภาพดีหรือดียิ่งขึ้น จะต้องจ่ายอีกมหาศาลเพื่อสิ่งที่ดีขึ้นอีกนิดเดียว ขณะที่เครื่องเสียงดิจิตอลมีแต่จะดีขึ้นๆ ( ตามราคาของประมวลผล CSP ที่ดีขึ้นๆแต่กลับถูกลงๆเพราะมีวงการหรือตลาด IT ช่วยเฉลี่ยต้นทุนการวิจัยและการผลิตต่อหน่วยให้ถูกลงมาก )

อย่างไรก็ตาม องค์ประกอบสำคัญสุดท้ายที่อาจพลิกโฉมเครื่องเสียงไฮเอนด์อีกครั้งอย่างปัจจุบันทันด่วนคือกระแสการล้มป่วยจากการถูกกระหน่ำด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูงซึ่งทำให้ผู้คนล้มป่วยเป็นลมชัก หายใจไม่ออก ซึ่งเริ่มมีเค้าลางของปัญหาในบางประเทศแล้ว ( แต่ที่การพยายามปิดข่าว และบิดเบือนข่าวจากนายทุน โทรศัพท์มือถือ และนายทุนเครือข่ายผู้ให้บริการ ลองเข้า Google แล้วค้นหาคำว่า ? cellphone dangerous ? แล้วจะสยอง )

ซึ่งถ้าเหตุการณ์นี้ลุกลาม คนที่จะเริ่มหันหนีและปฏิเสธอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ให้ความถี่สูงมาก ซึ่งแน่นอน ดิจิตอลออดิโอก็อยู่ในข่ายนี้ด้วยอย่างตรงเป้าเลย

ใครจะรู้ถึงตอนนั้นเครื่องเสียงอนาล็อกง่ายๆก็จะกลับมาและอาจต้องย้อนยุคเล่นกลับไปสู่ระบบกลไกไร้ไฟฟ้า อย่างจานเสียงไขลานแบบปากฮอร์นก็ได้ ! ????

www.maitreeav.com

www.maitreeav.com
สำนักงาน : 313/129 ซ. เคหะร่มเกล้า 64 แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
โทร. 081-5500269 , 099-569-6459